แลนโซเมโดส์

(เปลี่ยนทางจาก ลองโซเมดูส)

แลนโซเมโดส์ (อังกฤษ: L'Anse aux Meadows, ออกเสียง: /ˌlænsoʊˈmɛdoʊz/[1] เพี้ยนมาจาก ฝรั่งเศส: L'Anse-aux-Méduses แปลว่า "หุบผาแมงกะพรุน") เป็นแหล่งโบราณคดีที่ปลายสุดด้านทิศเหนือของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ในรัฐนิวฟันด์แลนด์และลาบราดอร์ ประเทศแคนาดา ค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1960 เป็นหมู่บ้านของชาวนอร์สที่เป็นที่รู้จักเพียงแห่งเดียวในอเมริกาเหนือนอกจากที่กรีนแลนด์ ถือว่าเป็นตัวอย่างของการติดต่อข้ามมหาสมุทรก่อนสมัยโคลัมบัสที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างของเพียงแห่งเดียว และมีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับอาณานิคม Vindland ที่ก่อตั้งโดยเลฟ เอริกสันเมื่อประมาณ ค.ศ. 1003 หรืออาจเกี่ยวข้องกับการสำรวจทวีปอเมริกาของชาวนอร์สด้วย

แหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติ
แลนโซเมโดส์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แลนโซเมโดส์
พิกัด51°35′42.96″N 55°31′52.40″W / 51.5952667°N 55.5312222°W / 51.5952667; -55.5312222
ประเทศ แคนาดา
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(vi)
อ้างอิง4
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1978 (คณะกรรมการสมัยที่ 2)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
แลนโซเมโดส์
แลนโซเมโดส์ตั้งอยู่ในเกาะนิวฟันด์แลนด์
แลนโซเมโดส์
ตำแหน่งของแลนโซเมโดส์ในนิวฟันด์แลนด์
พิกัด: 51°35′42.96″N 55°31′52.4″W / 51.5952667°N 55.531222°W / 51.5952667; -55.531222

การค้นพบและความสำคัญ แก้

เมื่อ ค.ศ. 1960 Helge Ingstad นักสำรวจชาวนอร์เวย์ และ Anne Stine Ingstad ภรรยา ได้ค้นพบซากของหมู่บ้านชาวนอร์สที่นี่

แลนโซเมโดส์เป็นแหล่งโบราณคดีของนอร์สที่เป็นที่รู้จักเพียงแหล่งเดียวในอเมริกาเหนือนอกเหนือจากที่กรีนแลนด์ และแสดงให้เห็นการสำรวจและตั้งถิ่นฐานโดยชาวยุโรปที่ไกลที่สุดในโลกใหม่ก่อนการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เกือบ 500 ปี เมื่อ ค.ศ. 1978 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีนี้ให้เป็นแหล่งมรดกโลก

การตั้งถิ่นฐาน แก้

การขุดสำรวจทางโบราณคดีมีขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยคณะนานาชาติที่นำโดย Anne Stine Ingstad และต่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของ Parks Canada เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 หลังจากการขุดสำรวจในแต่ละระยะ สถานที่จะถูกกลบฝังอีกครั้งเพื่อปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Merriam-Webster's Geographical Dictionary. Third Edition, p. 630.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้