ลตา มังเคศกร

(เปลี่ยนทางจาก ลดา มังเคศกร)

ลตา มังเคศกร (มราฐี: लता मंगेशकर, [ləˈtaː məŋˈɡeːʃkər] ( ฟังเสียง); ชื่อเกิด เหมา มังเคศกร; 28 กันยายน ค.ศ. 1929 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022)[8] เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอินเดีย เธอได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในอินเดีย[9][10] เธอมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมดนตรีอินเดียเป็นเวลาแปดทศวรรษ ซึ่งทำให้เธอได้รับฉายาต่าง ๆ เช่น "ราชินีแห่งเสียงเพลง", "ไนติงเกลแห่งอินเดีย" และ "เสียงแห่งสหัสวรรษ"[11]

ลตา มังเคศกร
มังเคศกรใน ค.ศ. 2013
เกิดเหมา มังเคศกร
28 กันยายน ค.ศ. 1929(1929-09-28)
อินดอร์ รัฐอินดอร์ หน่วยงานกลางอินเดีย บริติชราช
(ปัจจุบันคือรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022(2022-02-06) (92 ปี)
มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นราชินีแห่งเสียงเพลง
ไนติงเกลแห่งอินเดีย
เสียงแห่งสหัสวรรษ
อาชีพ
  • นักร้อง Playback
  • นักแต่งเพลง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1942–2022
บุพการี
ญาติตระกูล Mangeshkar-Hardikar-Abhisheki
รางวัล
เกียรติยศ
สมาชิกรัฐสภา ราชยสภา
เขตเลือกตั้งเข้าชิง (Arts)
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ลายมือชื่อ

ลตาบันทึกเสียงเพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 36 ภาษา และภาษาต่างชาติบางภาษา ส่วนใหญ่บันทึกในภาษามราฐี ฮินดี และเบงกอล[11] ส่วนภาษาต่างชาติ ได้แก่อังกฤษ รัสเซีย ดัตช์ เนปาล และสวาฮีลี[12] เธอได้รับรางวัลและเครื่องอิสริยาภรณ์หลายตำแหน่ง โดยใน ค.ศ 1989 รัฐบาลอินเดียได้ให้รางวัล Dadasaheb Phalke Award แก่เธอ[13] จากนั้นใน ค.ศ. 2001 เธอได้รับรางวัลภารตรัตนะ รางวัลพลเมืองชั้นสูงสุดของอินเดีย โดยเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกที่ได้รับคือ M. S. Subbulakshmi)[14] ทางฝรั่งเศสได้ให้เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นเจ้าพนักงานแก่เธอใน ค.ศ. 2007[15]

เธอได้รับรางวัล National Film Awards 3 รางวัล, Bengal Film Journalists' Association Awards 15 รางวัล, Filmfare Best Female Playback Award 4 รางวัล, Filmfare Special Award 2 รางวัล, Filmfare Lifetime Achievement Award และอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1974 เธอเป็นหนึ่งในนักร้อง playback ชาวอินเดียคนแรกที่แสดงในรอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ในลอนดอน สหราชอาณาจักร เพลงบันทึกสุดท้ายของเธอคือ "Saugandh Mujhe Is Mitti ki" ที่เผยแพร่ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่ออุทิศแด่กองทัพบกและชาติอินเดีย[16]

ณ จุดหนึ่ง ทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้เธอเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987[17]

อาชีพนอกจากการร้องเพลง แก้

นักแต่งเพลง แก้

ลตา มังเคศกรแต่งเพลงครั้งแรกใน ค.ศ. 1955 ให้กับภาพยนตร์ภาษามราฐี Ram Ram Pavhane จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เธอได้แต่งเพลงในภาพยนตร์ภาษามราฐีหลายเรื่องภายใต้นามแฝง Anand Ghan[18][19][20]

  • 1950 – Ram Ram Pavhana
  • 1963 – Maratha Tituka Melvava
  • 1963 – Mohityanchi Manjula
  • 1965 – Sadhi Manase
  • 1969 – Tambadi Mati

เธอได้รับรางวัลผู้กำกับเพลงดีเด่นในภาพยนตร์ Sadhi Manase จากรัฐบาลรัฐมหาราษฏระ ส่วนเพลง "Airanichya Deva Tula" จากภาพยนตร์เดียวกันก็ได้รับรางวัลเพลงดีเด่น[21]

ผู้ผลิต แก้

ลตา มังเคศกรผลิตภาพยนตร์สี่เรื่อง:[22]


ป่วยและเสียชีวิต แก้

ณ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2022 มังเคศกรมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก พร้อมกับอาการไม่รุนแรง และถูกส่งตัวไปรักษาในโรงพลาบาลบรีช แคนดีที่มุมไบ เธอยังคงอยู่ในห้องแผนกผู้ป่วยหนัก พร้อมกับสัญญาณที่ "ดีขึ้นเล็กน้อย" จากนั้นในวันที่ 28 มกราคม คุณหมอถอดเครื่องช่วยหายใจ หลังสุขภาพของเธอ "ดีขึ้นเล็กน้อย"[23] อย่างไรก็ตาม เธอกลับต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอีกครั้งในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ หลังสุขภาพเธอแย่ลง และอยู่ภายใต้ "การบำบัดเชิงรุก"[24]

 
พิธีศพของมังเคศกรใน ค.ศ. 2022

มังเคศกรเสียชีวิตจากกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2022 ด้วยอายุ 92 ปี เธอได้รับการรักษาจากโรคปอดอักเสบกับโควิด-19 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน[25][26]

 
นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที พบปะกับ Asha Bhosle หลังเดินทางไปเยี่ยมศพลตา มังเคศกรที่มุมไบ

รัฐบาลอินเดียประกาศไว้อาลัยเป็นเวลาสองวัน และลงธงชาติครึ่งเสาในวันที่ 6 ถึง 7 กุมภาพันธ์ทั่วประเทศ[27] จากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 Usha ผู้เป็นน้องสาว กับ Adinath Mangeshkar ผู้เป็นหลานชาย แช่อัฐิของมังเคศกรในแม่น้ำโคทาวรีที่ Ramkund นาศิก[28]

ข้อโต้แย้ง แก้

ใน ค.ศ. 1974 บันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้ลตา มังเคศกรเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยระบุว่า เธอรายงานว่าบันทึก "เพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงมากกว่า 25,000 เพลงในภาษาอินเดีย 20 ภาษา" ในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974 Mohammad Rafi โต้แย้งสถิติของเธอ โดยอ้างว่าเขาร้องเพลงประมาณ 28,000 เพลง[29][30] หลังการเสียชีวิตของ Rafi บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1984 ระบุชื่อเธอว่า "บันทึกเสียงมากที่สุด" แต่ก็ระบุข้ออ้างของ Rafi ด้วย บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับภายหลังระบุว่าเธอร้องเพลงไม่น้อยกว่า 30,000 เพลงในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987[31]

บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1991 ยกเลิกหมวดนี้โดยไม่อธิบายสาเหตุ ในขณะที่ข้อมูลบางส่วนยังคงอ้างว่าเธอบันทึกเพลงพันกว่าเพลง โดยมีการประมาณการจำนวนเพลงสูงถึง 50,000 เพลง[32][33] อย่างไรก็ตาม แม้แต่ข้ออ้าง 25,000 เพลง (ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974) ของกินเนสส์ ก็มีคนอื่นบางส่วนพิพาทและอ้างว่าจำนวนเพลงที่เธอร้องในภาพยนตร์ภาษาฮินดีจนถึง ค.ศ. 1991 มีเพียง 5,025 เพลง[34][35][36][37] มังเคศกรกล่าวว่าเธอไม่ได้บันทึกจำนวนเพลงที่เธอร้องบันทึกไว้ และเธอไม่รู้ว่าทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์เอาข้อมูลมาจากไหน[38] ใน ค.ศ. 2011 ทางกินเนสส์ได้ฟื้นฟูหมวดนี้ โดยให้เครดิต Asha Bhosle น้องสาวของเธอ เป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ "ด้วยเพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงสูงถึง 11,000 เพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 20 ภาษาตั้งแต่ ค.ศ. 1947"[39] นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 สถิติปัจจุบันตกเป็นของ P. Susheela ด้วยบันทึกเพลงอย่างน้อย 17,695 เพลงใน 6 ภาษา ซึ่งไม่รวมบันทึกช่วงแรกที่สูญหาย[40][41]

อ้างอิง แก้

  1. "Playlist Ghazals – Lata Mangeshkar on Gaana.com". Gaana.com.
  2. "Lata releases first Sufi album, credits nephew" https://www.freepressjournal.in/amp/entertainment/lata-releases-first-sufi-album-credits-nephew
  3. "Playlist Bhakti By Lata Mangeshkar on Gaana.com". Gaana.com.
  4. "Playlist Bengali Folk Songs of Lata on Gaana.com". Gaana.com.
  5. "Lata Sings Gurbani Songs Download: Lata Sings Gurbani MP3 Punjabi Songs Online Free on Gaana.com" https://gaana.com/album/amp/lata-sings-gurbani.html เก็บถาวร 2022-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "Lata Mangeshkar: The nightingale's tryst with Rabindra Sangeet". The Statesman. 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
  7. "Perjalanan Karir Lata Mangeshkar Hingga Peremuannya Dengan Rhoma Irama". Sonora.id. 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
  8. Bhagat, Shalini Venugopal (2022-02-06). "Lata Mangeshkar, Bollywood's Most Beloved Voice, Dies at 92". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
  9. "Lata Mangeshkar". The Times of India. 10 December 2002. สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
  10. Yasmeen, Afshan (21 September 2004). "Music show to celebrate birthday of melody queen". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2004. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  11. 11.0 11.1 "Lata Mangeshkar: The Queen of Melody". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 14 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  12. "'Nightingale of India' Lata Mangeshkar has died" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  13. "Lata Mangeshkar Awards". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
  14. แม่แบบ:Usurped The Hindu
  15. "Happy Birthday Lata Mangeshkar: 5 Timeless Classics By the Singing Legend". News18. 28 September 2019.
  16. "Lata Mangeshkar sings poem Modi recited after Balakot airstrikes, PM says it's inspirational". India Today. 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
  17. "Lata Mangeshkar obituary". The Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 10 February 2022.
  18. "BFI, Lata Mangeshkar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2007.
  19. Harish Bhimani (1 January 1995). In Search of Lata Mangeshkar. Indus. p. 322. ISBN 978-81-7223-170-5.
  20. Raju Bharatan (1 January 1995). Lata Mangeshkar: A Biography. UBS Publishers' Distributors. p. 382. ISBN 978-81-7476-023-4.
  21. "Music director, Lata Mangeshkar". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 4 February 2017.
  22. Dawar, Ramesh (2006). Bollywood: Yesterday, Today, Tomorrow (ภาษาอังกฤษ). Star Publications. ISBN 978-1-905863-01-3.
  23. "Lata Mangeshkar is stable now, says Asha Bhosle". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
  24. "Lata Mangeshkar is undergoing aggressive therapy and tolerating procedures: Doctor Pratit Samdani". The Times of India.
  25. "Lata Mangeshkar: India singing legend dies at 92". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
  26. Banerjee, Shoumojit (6 February 2022). "'Nightingale' Lata Mangeshkar passes away at 92". The Hindu (ภาษาIndian English). Press Trust of India. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
  27. "Lata Mangeshkar's last rites at Mumbai's Shivaji Park with full state honours". Hindustan Times.
  28. "Legendary singer Lata Mangeshkar's ashes immersed in Nashik's Ramkund; family and fans gather at the site". Times Now News.
  29. Raju Bharatan (23 August 2006). "How fair were they to Mohammad Rafi?: Page 7". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2007.
  30. Raju Bharatan (23 August 2006). "How fair were they to Mohammed Rafi?: Page 6". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2007.
  31. Puri, Amit (24 February 2003). "Dedicated to Queen of Melody". The Tribune, Chandigarh. สืบค้นเมื่อ 18 August 2009.
  32. Chopra, Yash (28 September 2004). "The nightingale of India turns 75". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 August 2007.
  33. "Melody Queen Lata rings in 75th birthday quietly". The Tribune, Chandigarh. 29 September 2004. สืบค้นเมื่อ 13 August 2007.
  34. Nerurkar, Vishwas. Lata Mangeshkar Gandhar Swaryatra (1945–1989) (ภาษาฮินดี). Mumbai: Vasanti P. Nerukar.
  35. Broughton, Simon; Mark Ellingham; Richard Trillo (2000). World music: The Rough Guide. Rough Guides. p. 106. ISBN 978-1-85828-636-5.
  36. Richard Corliss (12 August 2003). "Bollywood: Frequently Questioned answers". Time.
  37. Neepa Majumdar (25 September 2009). Wanted cultured ladies only!: female stardom and cinema in India, 1930s–1950s. University of Illinois Press. pp. 232–. ISBN 978-0-252-07628-2. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
  38. Bhatt, Punita. "A controversy in the making". Filmfare magazine. 1–15 June 1987.
  39. Banerjee, Soumyadipta (22 October 2011). "It's a world record for Asha Bhosle". DNA India. สืบค้นเมื่อ 23 October 2011.
  40. "Most studio recordings – singles and albums combined" (ภาษาอังกฤษ). GuinnessWorldRecords.com. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
  41. "All Hits Playlist of 80's and 90's - Lata Mangeshkar hungama.com" (ภาษาอังกฤษ). Hungama Music. สืบค้นเมื่อ 27 July 2022.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bichu, Dr. Mandar (2011). Lata — Voice of the Golden Era. Popular Prakashan. ISBN 978-81-7991-625-4.
  • Bhimani, Harish (1995). In search of Lata Mangeshkar. Indus. ISBN 978-81-7223-170-5.
  • Bharatan, Raju (1995). Lata Mangeshkar: A Biography. UBS Publishers Distributors. ISBN 978-81-7476-023-4.
  • Kabir, Nasreen Munni (2009). Lata Mangeshkar: In Her Own Voice. Niyogi Books. ISBN 978-81-89738-41-9.
  • Lata, Mangeshkar (1995). Madhuvanti Sapre; Dinkar Gangal (บ.ก.). In search of Lata Mangeshkar (ภาษามราฐี). HarperCollins/Indus. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
  • Nerurkar, Vishwas. Lata Mangeshkar Gandhar Swaryatra (1945–1989) (ภาษาฮินดี). Mumbai: Vasanti P. Nerukar.
  • Bichhu, Mandar V. (1996). Gaaye Lata, Gaaye Lata (ภาษาฮินดี). Sharjah: Pallavi Prakashan. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
  • Verma, Sunanda (2018). Namaste, Lata Mangeshkar! Her voice touches at least a billion hearts. Singapore: The Indologist. ISBN 978-9814782111.
  • Bhawana Somaaya (2006). "Lata Mangeshkar". ใน Malvika Singh (บ.ก.). Freeing the Spirit: The Iconic Women of Modern India. New York. ISBN 978-0-14-310082-9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้