ร็อคแมน (วิดีโอเกม)

ร็อคแมน (ญี่ปุ่น: ロックマン; อังกฤษ: Rockman) หรือ เมก้าแมน (อังกฤษ: Mega Man) เป็นภาคแรกของวิดีโอเกมของเกมชุดร็อคแมน เป็นวิดีโอเกม ที่ผลิตและวางจำหน่ายโดยแคปคอม ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530 และเป็นเกมแรกในซีรีส์ชุด ร็อคแมน มีจุดเด่นในด้านการเป็นเกมแอ๊คชั่นที่เล่นได้ทุกวัย และมีเอกลักษณ์ของเกมคือ ผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะสู้กับหัวหน้าตัวใดก่อน และเมื่อเอาชนะหัวหน้าของด่านนั้นๆ ได้แล้ว จะได้อาวุธของหัวหน้าตัวนั้นมา เพื่อใช้ปราบหัวหน้าด่านอื่นๆ ต่อไป

ร็อคแมน
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
ออกแบบโทคุโระ ฟุจิวะระ (เกม)
เคอิจิ อินาฟุเนะ (ตัวละคร)
มานามิ มัตสุมาเอะ และ โยชิฮิโร ซาคากุชิ (ดนตรี)
แต่งเพลง
  • Manami Matsumae Edit this on Wikidata
ชุดร็อคแมน
เครื่องเล่นแฟมิคอม, เพลย์สเตชัน, เวอร์ชวลคอนโซล
วางจำหน่ายแฟมิคอม
เวอร์ชวลคอนโซล
แนวเกมแอ็กชันผจญภัย/เกมแพลตฟอร์ม
รูปแบบเล่นคนเดียว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 แคปคอมได้สร้างร็อคแมนภาคแรกออกมาอีกครั้งบนเครื่องเพลย์สเตชันพอร์ทเทเบิล ในชื่อ ร็อคแมนร็อคแมน (ญี่ปุ่น: ロックマンロックマン) หรือ เมก้าแมน พาวเวิร์ดอัพ (อังกฤษ: Mega Man Powered Up) โดยเปลี่ยนกราฟิกใหม่เป็นสามมิติ แต่ระบบการเล่นยังคงเดิม และเพิ่มบอสใหม่สองตัว ไทม์แมนและออล์แมน

ทางผู้ผลิตได้ออกแบบร็อคแมนให้ตัวละครพิเศษกว่าเกมส์อื่นๆ ในยุคนั้นคือ ตัวละครสามารถกะพริบตาได้

ตัวละคร แก้

  • ร็อคแมน หุ่นยนต์ที่สร้างโดย ดร.ไลท์ เพื่อสู้กับ ดร.ไวลี่
  • ดร. ไวลี่ ผู้ร้ายในเกมซึ่งมีเป้าหมายที่จะครองโลก ซึ่งเป็นหัวหน้าตัวสุดท้ายในเกม
  • ดร.ไลท์ ผู้สร้างร็อคแมน
  • โรล (Roll) น้องสาวของร็อคแมน ไม่มีบทบาทในเกมนี้

ขื่อตัวละครในเกมนี้ถูกตั้งให้เป็นแนวดนตรี เช่น ร็อคแอนด์โรล (Rock and Roll) และ บลูส์ (Blues) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในภาคภาษาอังกฤษได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวคิดนี้

วิธีการเล่น แก้

ไฟล์:NES Mega Man.png
ภาพหน้าจอร็อคแมน ในด่าน คัทแมน

เมื่อเริ่มเกมร็อคแมน จะพบด่านให้เลือก 6 ด่าน แต่ละด่านจะมีหัวหน้า (Robot Master) ที่แตกต่างกัน หัวหน้าแต่ละตัวก็จะมีอาวุธพิเศษที่แตกต่างกันออกไป ผู้เล่นจะเลือกเล่นด่านใดก่อนก็ได้ เมื่อเอาชนะด่านทั้งหกได้แล้ว ด่านที่เจ็ดจะปรากฏขึ้นตรงกลาง แทนที่คำว่า "Stage Select, Press Start" ด่านนี้เป็นด่านสุดท้ายซึ่งประกอบด้วยด่านย่อยๆ ติดต่อกัน 4 ด่าน ถึงแม้ว่าบางด่านจะสั้นกว่าปกติ แต่หัวหน้าของแต่ละด่านก็ยากกว่าปกติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ในด่านย่อยสุดท้าย ผู้เล่นจะต้องสู้กับหัวหน้า 6 ตัวที่เคยสู้ไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่กำหนด ก่อนที่จะเข้าไปกำจัด ดร.ไวลี่ ซึ่งเป็นหัวหน้าสุดท้ายของเกม

ร็อคแมนเป็นเกมแพลตฟอร์ม นั่นคือ ในแต่ละด่าน ผู้เล่นจะต้องควบคุมร็อคแมนไปตามเส้นทาง ผ่านศัตรูและอุปสรรคในรูปแบบต่างๆ และเมื่อไปถึงห้องสุดท้าย ร็อคแมนจะต้องสู้กับหัวหน้าของด่านนั้น หากเอาชนะได้ ร็อคแมนจะได้อาวุธของหัวหน้าตัวนั้น และสามารถนำอาวุธดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดจนจบเกม

เมื่อเริ่มเกม ร็อคแมนจะมีอาวุธเพียงชนิดเดียวคือ ร็อคบัสเตอร์ (Rock Buster) ซึ่งสามารถยิงได้ไม่จำกัด แต่หากเคยเอาชนะหัวหน้าตัวใดไปแล้ว ก็สามารถนำอาวุธของหัวหน้าตัวนั้นมาใช้ได้ แต่อาวุธของหัวหน้าเหล่านี้จะมีจำนวนกระสุนจำกัด ซึ่งสามารถเติมกระสุนได้โดยเก็บไอเท็มอาวุธ อาวุธเหล่านี้อาจมีอยู่แล้วในด่าน หรืออาจได้จากการกำจัดศัตรู

ถึงแม้ว่าผู้เล่นจะสามารถเลือกเล่นด่านต่างๆ เรียงลำดับอย่างไรก็ได้ หัวหน้าตัวหนึ่งจะแพ้ทางกับอาวุธของหัวหน้าอีกตัวหนึ่ง เป็นทอดๆ ไป จึงทำให้ผู้เล่นนิยมเล่นเรียงตามลำดับหัวหน้าที่มีอาวุธข่มกัน ผู้เล่นจะต้องทดลองเองว่าหัวหน้าแต่ละตัวแพ้ทางกับอาวุธชนิดใด แต่หัวหน้าบางตัวก็สามารถใช้การสังเกตและการคาดเดาได้ เช่น ไฟร์แมน (ไฟ) แพ้อาวุธ ไอซ์ สแลชเชอร์ (น้ำแข็ง) นอกจากอาวุธที่ได้จากหัวหน้าทั้งหกแล้ว ยังมีอาวุธอีกอย่างหนึ่งคือ แม็กเน็ต บีม ที่ผู้เล่นจำเป็นจะต้องใช้ในด่านย่อยแรกของด่านสุดท้าย

อาวุธ แก้

ร็อคแมนมีความสามารถในการนำอาวุธของหัวหน้าที่ปราบไปแล้วมาใช้ได้ นอกจากอาวุธที่ได้จากหัวหน้าต่างๆ แล้ว ยังมีอาวุธเพิ่มเติมอีกดังนี้

  • Rock Buster (อักษรย่อ P) เป็นอาวุธที่ติดตัวมาตั้งแต่แรก ยิงได้ไม่จำกัด ลักษณะเป็นกระสุนปืนเม็ดเล็กๆ ยิงติดต่อกันได้ทีละ 3 นัด
  • Magnet Beam (อักษรย่อ M) เก็บได้ในด่านของ Elecman โดยใช้อาวุธ Super Arm ยกหินที่ขวางทางอยู่ออกไป เป็นการยิงพื้นวิเศษเพื่อเหยียบได้ชั่วขณะก่อนที่จะหายไป

ในเวอร์ชัน NES การใช้ "Pause Trick" (การกดปุ่ม Select ย้ำๆ) เป็นข้อผิดพลาดของเกมที่ทำให้อาวุธต่างๆ (ยกเว้น Super Arm ของ Guts Man) ออกฤทธิ์ซ้ำๆ ทำให้สามารถจัดการกับหัวหน้าหลายตัวได้ง่ายขึ้น

ด่านและหัวหน้า แก้

ด่านแรก
รหัส หัวหน้า อาวุธ อาวุธที่เป็นจุดอ่อน
DRN-003 Cut Man (คัทแมน) Rolling Cutter (C) เป็นการยิงใบมีดออกไปเป็นแนวโค้ง แล้วย้อนกลับมาที่เดิม Super Arm
DRN-004 Guts Man (กัทส์แมน) Super Arm (G) ทำให้สามารถยกก้อนหินที่วางอยู่ตามที่ต่างๆ ขว้างออกไปเป็นอาวุธได้ Hyper Bomb
DRN-005 Ice Man (ไอซ์แมน) Ice Slasher (I) ลักษณะเป็นลูกศรน้ำแข็ง สามารถแช่แข็งเป้าหมายได้ชั่วขณะ และแช่เสาเพลิงเป็นแท่นเหยียบได้ Thunder Beam
DRN-006 Bomb Man (บอมบ์แมน) Hyper Bomb (B) เป็นการขว้างลูกระเบิดออกไป เมื่อรอสักพักก็จะระเบิดออก Fire Storm
DRN-007 Fire Man (ไฟร์แมน) Fire Storm (F) เป็นการยิงลูกไฟออกไปด้านหน้า และจะมีไฟมาวิ่งล้อมรอบตัวอยู่ชั่วขณะ Ice Slasher
DRN-008 Elec Man (อิเล็กแมน) Thunder Beam (E) เป็นการยิงไฟฟ้าออกไปสามทิศทาง Rolling Cutter
ด่านสุดท้าย (Fortress)
ด่านที่ หัวหน้า อาวุธที่เป็นจุดอ่อน
1 Yellow Devil Thunber Beam
2 Copy Robot (หุ่นเหมือนร็อคแมน) Fire Storm, Thunder Beam, Hyper Bomb
3 CWU-01P Super Arm
4 Wily Machine Number 1 (I) Fire Storm
Wily Machine Number 1 (II) Rolling Cutter

ข้อเปรียบเทียบกับเกมอื่นในชุด แก้

เกมแรกในชุด ร็อคแมน มีข้อแตกต่างจากเกมอื่นในชุดหลายประการ เกมนี้เป็นเกมเดียวที่มีด่านเริ่มต้นเพียง 6 ด่าน ในขณะที่เกมอื่นๆ ในชุดมี 8 ด่าน และร็อคแมนยังไม่มีความสามารถบางอย่างที่จะเพิ่มขึ้นมาในเกมหลังๆ เช่น สไลด์ (เริ่มมีใน ร็อคแมน 3) และชาร์จ Rock Buster (เริ่มมีในร็อคแมน 4) นอกจากนี้แล้ว ตัวเพิ่มพลังยังมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป

คะแนน แก้

ร็อคแมน เป็นเพียงเกมเดียวในชุดที่มีตัวนับคะแนน เพราะในสมัยนั้น นิยมการเล่นเกมแข่งกันให้ได้คะแนนสูงๆ (ช่วงปี ค.ศ. 1980) อย่างไรก็ตาม การได้คะแนนไม่มีผลใดๆ ในเกมเลย ผู้เล่นจะไม่ได้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้ชีวิตเพิ่ม นอกจากนี้แล้วยังไม่มีตารางคะแนนสูงสุด (High Score) ด้วย ดังนั้นในเกมถัดๆ มา จึงไม่มีตัวนับคะแนนอีก

หากผู้เล่นชีวิตหมดและเกมจบ คะแนนก็จะถูกลดเหลือศูนย์ นอกจากนี้ เกมนี้ยังเป็นเกมที่เล่นยาก เป็นไปได้น้อยที่จะเล่นจากต้นจนจบได้โดยไม่มี game over แม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ผู้เล่นที่อยากได้คะแนนสูงต้องเริ่มตั้งแต่ต้นใหม่บ่อยครั้ง

หนาม แก้

ตั้งแต่ ร็อคแมน 2 เป็นต้นมา ถ้าร็อคแมนถูกโจมตีโดยศัตรู เขาจะกะพริบ และจะไม่เป็นอันตรายไปช่วงระยะหนึ่ง ผู้เล่นสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการโดนหนามโดยไม่เป็นอันตราย (โดยปกติถ้าโดนหนามจะตายทันที) แต่ทว่าใน ร็อคแมน ภาคนี้ ผู้เล่นจะตาย ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงกะพริบหรือไม่ก็ตาม ทำให้เกมยากมากยิ่งขึ้น

ร็อคแมนคอมพลีทเวิร์ค แก้

 
ภาพปกเกมร็อคแมนในเวอร์ชันของคอมซึ่งมีบอสทั้งหกในแคปซูลที่ฉากหลัง

อ้างอิง แก้

  • นิตยสารเกมแม็คออนไลน์ (สนพ.อนิเมทกรุ๊ป)
  • นิตยสารเมก้า (สนพ.วิบูลกิจ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้