รูตันโวเยเจอร์ (อังกฤษ: Rutan Voyager หรือ Vogerger หรือ Model 76 Voyager) เป็นเครื่องบินลำแรกของโลกที่บินรอบโลกโดยไม่ได้ลงจอด และไม่ได้มีการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ มีนักบิน 2 คน คือ Dick Rutan และ Jeana Yeager (ผู้หญิง ที่ไม่ได้เป็นญาติกับชักเยเกอร์ ผู้ที่บินเร็วเหนือเสียงคนแรกของโลก) ขึ้นบินจากฐานทัพอากาศเอ็ดเวิดส์ (Edwards Air Force Base) โดยใช้ทางวิ่งยาว 15,000 ฟุต (4,600 ม.) ในทะเลทราย Mojave เมื่อวันที่ 14 ธค. 1986. ใช้เวลาบิน ทั้งหมด 9 วัน 3 นาที 44 วินาที มุ่งหน้าบินไปทางตะวันตกได้ระยะทาง 26,366 ไมล์ (42,432 กม. หรือ FAI accredited distance เท่ากับ 40,212 กม) ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 11,000ฟุต (3.4 กม). เป็นการทำลายสถิติของเครื่องบินแบบโบอิง B-52 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา


โวเยอเจอร์ขณะกลับจากเที่ยวบิน
โมเดล 76 โวเยเจอร์
บทบาท
สัญชาติ
บริษัทผู้ผลิต รูตันแอร์คราฟต์แฟกตอรี
การบินครั้งแรก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984
เริ่มใช้
สถานะ
ช่วงการผลิต
จำนวนที่ผลิต 1
พัฒนามาจาก
แบบอื่น

เครื่องบินออกบินเมื่อเวลา 8.01 น. ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากในปีกบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงมาก ทำให้ปลายปีกครูดไปกับพื้นทางวิ่ง จนทำให้ส่วนปลายปีกที่เรียกว่า winglet ทั้ง 2 ข้างหลุดออกไป และใช้ทางวิ่งถึง 14,200 ฟุต (2.7 ไมล์) (4.3 กม) จึงมีความเร็วพอที่จะยกตัวขึ้น ระหว่างบินนักบินทั้ง 2 ทำงานกันคนละ 3 ชม. ระหว่างการบินมีพายุไต้ฝุ่่น Marge และประเทศลิเบียปฏิเสธการบินเข้าน่านฟ้า ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงบินอ้อม และเมื่อเข้าไกล้แคลิฟอร์เนีย ที่จะร่อนลงจอด ปั๊มป์เชื้อเพลิง 1 ตัวหยุดทำงาน แต่อาศัยปั๊มป์จากอีกข้างหนึ่งมาช่วยได้ สุดท้าย เครื่องบินร่อนลงจอดอย่างปลอดภัย เมื่อ เวลา 8.06 น. ที่สนามบินแห่งเดิม ทำความเร็วเฉลี่ยได้ 116 ไมล์/ ชม. (187 กม / ชม.)

คุณสมบัติ แก้

ลำตัวเครื่องบิน ทำมาจาก fiberglass, carbon fiberและ Kevlar น้ำหนักเปล่าๆ หนัก 939ปอนด์ (426 กก) แต่ น้ำหนัก ก่อน ขึ้นบินรอบโลก คือ 9,694.5 ปอนด์ (4,397 กก).

ความยาว 29 ft 2 in (8.90 m)
ปีกกว้าง 110 ft 8 in (33.80 m)
สูง: 10 ft 3 in (3.10 m)
เครื่องยนต์ใบพัด ทางด้านหน้า คือ Teledyne Continental O-240 ระบายความร้อนด้วยอากาศ ให้กำลัง 130 แรงม้า (100 kW)
ทางด้านหลัง คือ Teledyne Continental IOL-200 ระบายความร้อนด้วยน้ำ ให้กำลัง 110 แรงม้า (81 kW)
ความเร็วสูงสุด 122 mph (196 km/h)
บินไกล24,986 ไมล์ (42,212 km)
บินทน 216 ชม.