ริชาร์ด แฮริส (วิสัญญีแพทย์)

ริชาร์ด เจมส์ ดันบาร์ แฮริส (อังกฤษ: Richard James Dunbar Harris) เป็นวิสัญญีแพทย์ชาวออสเตรเลียและนักประดาน้ำในถ้ำที่มีบทบาทสำคัญใน ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง เขาและเครก ชาลเลนได้รับรางวัล Australian of the Year 2019 ร่วมกันอันเป็นผลมาจากการช่วยเหลือครั้งนั้น แฮร์ริสได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลียในปี 2024[1]

Dr

Richard Harris

Harris (right) with Craig Challen
เกิดRichard James Dunbar Harris
สัญชาติออสเตรเลีย
อาชีพวิสัญญีแพทย์
มีชื่อเสียงจากปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง
อาชีพการงานทางการแพทย์
เฉพาะทาง
รางวัล

อาชีพแพทย์ แก้

หลังจากเรียนจบที่ St Peter's College เมือง แอดิเลด แฮร์ริสสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาแพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์บัณฑิตที่ Flinders University ในปี ค.ศ. 1988 ต่อมาเขาสำเร็จการศึกษาด้านวิสัญญีแพทย์ในสหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์[2][3]

แฮร์ริสทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านแพทย์ทางอากาศและวิสัญญีแพทย์ให้กับ South Australian Ambulance Service เขาเคยทำงานในทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติในภูมิภาคแปซิฟิก และมีส่วนร่วมในภารกิจ Australian Aid ที่ วานูอาตู[2][3]

ในเดือนมกราคม 2024 มีการประกาศว่าแฮร์ริสจะเป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[4]

นักดำน้ำในถ้ำ แก้

แฮริสเป็นนักประดาน้ำในถ้ำที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ประสบการณ์การดำน้ำในถ้ำของแฮริสรวมถึงการนำทีมนักดำน้ำชาวออสเตรเลียในการดำน้ำบันทึกความลึก 192 และ 221 เมตร (210 และ 242 หลา) ในปี ค.ศ. 2011 และ ค.ศ. 2012 ขณะค้นหาแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำ Pearse ของนิวซีแลนด์ ภารกิจนี้ถูกถ่ายทำให้กับเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ในปี ค.ศ. 2011 แฮร์ริสได้รับการร้องขอจากตำรวจเซาท์ออสเตรเลียให้เข้าร่วมในการกู้ร่างเพื่อนสนิทของเขา Agnes Milowka ซึ่งเสียชีวิตขณะสำรวจถ้ำใกล้ แทนทานูลา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[5][6]

ในปี ค.ศ. 2009 แฮร์ริสได้รับรางวัล "ความสำเร็จดีเด่น" ในการประชุมวิชาการเพื่อเป็นการแสดงถึงความทุ่มเทของเขาในการสำรวจการดำน้ำในถ้ำ และในปี ค.ศ. 2017 เขาได้รับรางวัลเช่นกัน[7][8]

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง แก้

ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2018 แฮร์ริสกำลังจะออกเดินทางในช่วงวันหยุดเพื่อไปดำน้ำในถ้ำที่ Nullarbor Plain เมื่อเขาและคู่หูนักดำน้ำ เครก ชาลเลน ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลไทยตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษ พวกเขาจึงยกเลิกแผนการดำน้ำในวันหยุดและเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อพยายามช่วยเหลือเด็กไทยสิบสองคนและโค้ชทีมฟุตบอลของพวกเขาที่ ถูกขังอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน[3][9]

ความพยายามของแฮร์ริสตลอดการกู้ภัยได้รับการอธิบายว่าเป็นสิ่งจำเป็น เขาทำการประเมินทางการแพทย์กับเด็กชายทั้งหมดที่ติดอยู่ในถ้ำและมันเป็นคำแนะนำของเขาว่าเจ้าหน้าที่ควรเริ่มต้นการช่วยชีวิตเด็กที่แข็งแกร่งที่สุดก่อนตามด้วยเด็กที่อ่อนแอที่สุด ระหว่างการช่วยเหลือแฮร์ริสได้ให้ยากล่อมประสาทกับเด็กชายเพื่อทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ตื่นตระหนกในระหว่างการช่วยเหลือ แฮริสและชาลเลนเป็นสมาชิก 2 คนสุดท้ายของทีมกู้ภัยที่ออกจากถ้ำหลังจากการช่วยเหลือ[2]

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 แฮริส พร้อมด้วย ชาลเลน ได้รับรางวัล Star of Courage และ Medal of Order of Australia จาก ผู้สำเร็จราชการออสเตรเลีย[10] เมื่อวันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ แก่ แฮริส และ ชาลเลน[11]

ในวันชาติออสเตรเลียปี ค.ศ. 2019 แฮร์ริสได้รับการประกาศให้เป็น ชาวออสเตรเลียแห่งปี 2019 ร่วมกับชาลเลน[12]

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 หมอแฮร์ริสและชาลเลนได้เผยแพร่หนังสือ Against All Odds[13] ที่เล่าถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กชายจากถ้ำหลวง ในหนังสือและในการสัมภาษณ์ทางวิทยุที่โปรโมตหนังสือ พวกเขาแก้ไขความไม่ถูกต้องบางประการในสื่อเกี่ยวกับการช่วยชีวิต เขากล่าวว่าเขาไม่ได้เลือกลำดับที่เด็กชายจะออกจากถ้ำ และเด็กชายตัดสินใจเองโดยพิจารณาจากระยะทางที่เด็กชายแต่ละคนอาศัยอยู่ห่างจากถ้ำ นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า เด็กชายทั้ง 12 คนหมดสติไปโดยสมบูรณ์ ขณะที่พวกเขาถูกพาตัวออกจากถ้ำที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่เขาฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นขาให้เด็กชายแต่ละคน ๆ ละ 2 เข็ม คือ คีตามีนเพื่อให้พวกเขาหลับ และ อะโตรไพน์ เพื่อระงับการผลิตน้ำลายเพื่อหยุดการสำลัก

รองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย แก้

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2024 แฮร์ริสได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[14] แฮร์ริสจะสาบานตนในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2024[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. https://www.abc.net.au/news/2024-01-25/richard-harris-appointed-sa-lieutenant-governor/103388262
  2. 2.0 2.1 2.2 Andrews, Megan (30 July 2018). "Exemplary alumnus wins bravery award – and SA Australian of the Year". Flinders University. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Cave rescue: The Australian diving doctor who stayed with the boys". BBC. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  4. https://www.abc.net.au/news/2024-01-25/richard-harris-appointed-sa-lieutenant-governor/103388262
  5. Graham, Ben; Brook, Benedict (11 July 2018). "Calls for Aussie cave diver to be given Australian of the Year award". news.com.au.
  6. "Tragedy behind Dr Richard Harris' Thai cave rescue credentials". The Sydney Morning Herald. 9 July 2018.
  7. "Richard Harris". OzTek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  8. "Dr Richard Harris SC OAM". Australian of the Year Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-11. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  9. Hancock, Sarah; Dayman, Isabel; Puddy, Rebecca (9 July 2018). "Thai cave rescue: Adelaide cave-diving doctor Richard Harris missed holiday to help operation". ABC News. Australia. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  10. "Australian honours, 24 July 2018" (PDF). Commonwealth of Australia Gazette. Governor-General of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
  11. "His Majesty honours 188 for role in cave rescue operation". The Nation. Thailand. 7 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  12. "Dr Richard Harris SC OAM and Dr Craig Challen SC OAM". Australian of the Year Awards. 25 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  13. Harris Challen (2019). Against All Odds. Penguin Books Australia. ISBN 9781760890957.
  14. https://www.abc.net.au/news/2024-01-25/richard-harris-appointed-sa-lieutenant-governor/103388262
  15. https://www.premier.sa.gov.au/media-releases/news-items/dr-richard-harris-appointed-lieutenant-governor