รำแพรวากาฬสินธุ์

รำแพรวากาฬสินธุ์ เป็นการรำเพื่อให้เห็นถึงความงดงามของผ้าไหมแพรวา ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ ท่ารำจะสื่อให้เห็นวิธีการทอผ้า ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการฟ้อนสาวไหมของทางภาคเหนือซึ่งแสดงให้เห็นถึงกิริยาการทอผ้าไหมเช่นกัน และท่ารำนี้ยังสื่อให้เห็นความสวยงามของผ้าไหมแพรวา โดยการแต่งกายผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆ พันอก

รำแพรวากาฬสินธุ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา

การแต่งกาย แก้

พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสายพาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ หรือบางทีอาจเกล้าผมและใช้อุบะห้อยผม แบบปอฝ้ายสีขาวห้อยลงมาแทนดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

เครื่องดนตรี แก้

  1. พิณ
  2. โปงลาง
  3. แคน
  4. โหวด
  5. ฉาบ
  6. กลองยาว
  7. ปี่ภูไท