รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22

รางวัลวงการบันเทิงไทย

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2555 จัดโดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ โดยมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล ทั้งหมด 15 รางวัล[1] เมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และจัดพิธีประกาศผลรางวัล ในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร นับเป็นการกลับมาใช้สถานที่นี้ในการประกาศผลรางวัลภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปี หลังจากงานประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยถ่ายทอดสดในช่องทีวีดาวเทียมเอ็ม ชาแนล และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[2][3]

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22
โปสเตอร์รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22
วันที่1 มีนาคม 2556
สถานที่โรงละครแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
เหตุการณ์สำคัญ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมHome ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ได้รางวัลมากที่สุดเคาท์ดาวน์
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก (3)
เข้าชิงมากที่สุดIt Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก (8)

สำหรับคณะกรรมการตัดสิน ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมการตัดสินรางวัลครั้งนี้ทั้งสิ้นนำโดย ผศ.สุรพล ชลวิไล ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ, กฤษฎ์ บุณประพฤทธิ์ ประธานคณะกรรมการ

และกรรมการได้แก่ วิรัช อยู่ถาวร, นคร วีระประวัติ , นาท ภูวนัย, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, รศ.ดร.กฤษดา เกิดดี, รศ.ภาวดี สมภักดี, รศ.ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ, ประวิทย์ แต่งอักษร, โชคชัย ชยวัฑโฒ, นันทขว้าง สิรสุนทร, ผศ.ดร.ชุษณะ เตชคณา, สุภณวิชญ์ สมสมาน, เกษมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา, จิระชัย กุลละวณิชย์, ธันว์ บำรุงสุข และ ดร.ขนิษฐา จิตต์ประกอบ[4]

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้ชนะรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม
เดวิด อัศวนนท์ ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
อภิญญา สกุลเจริญสุข ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

รายชื่อบุคคลและภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล แก้

ผู้ที่ได้รับรางวัล จะเน้นด้วย "ตัวหนา"


หมายเหตุ: รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ไม่มีภาพยนตร์ผ่านการคัดเลือก

รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22 แก้

นอกจากการมอบราวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ยังมีการมอบรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22 ในงานด้วย โดยผู้ที่ได้รับรางวัลคือ "ปง อัศวินิกุล" ผู้บุกเบิกการบันทึกเสียงลงฟิล์มสำหรับภาพยนตร์ไทย และเป็นผู้ก่อตั้งห้องบันทึกเสียงรามอินทรา ซึ่งเป็นสถานที่บันทึกเสียงและผสมเสียงภาพยนตร์ในระบบดอลบี สเตอริโอเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ปง อัศวินิกุล มีผลงานบันทึกเสียงที่ให้ภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศเทศมาแล้วกว่า 1,000 เรื่อง และคว้ารางวัลมาแล้วกว่า 25 รางวัล และเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย จึงเป็นเหตุผลที่สมควรได้รับรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศในครั้งนี้[5]


สรุปผลรางวัล แก้

ภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าชิงรางวัล จำแนกตามสาขาทั้ง 23 เรื่อง มีดังนี้:

สาขารางวัลที่เข้ารอบชิง ภาพยนตร์ที่เข้ารอบ
8 It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก
7 Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
เคาท์ดาวน์
6 ยักษ์
5 Together วันที่รัก
9-9-81 บอกเล่า 9 ศพ
4 จันดารา ปฐมบท
3 I MISS U รักฉันอย่าคิดถึงฉัน
ชัมบาลา
ปาดังเบซาร์
ยอดมนุษย์เงินเดือน
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก
2 อันธพาล
The Melody รักทำนองนี้
1 รัก
เด็กสาว
ATM เออรัก เออเร่อ
รัก 7 ปี ดี 7 หน
Yes or No 2 รักไม่รักอย่ากั๊กเลย
คุณนายโฮ
ปัญญา เรณู 2
407 เที่ยวบินผี
ตีสาม 3D

รายชื่อภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัล

จำนวนรางวัลที่ได้รับ ภาพยนตร์ที่ชนะ
3 เคาท์ดาวน์
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก
2 Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ปาดังเบซาร์
It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก
1 407 เที่ยวบินผี
Together วันที่รัก

อ้างอิง แก้

  1. รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2555 จาก Deknang
  2. Super บันเทิง Online (1 มีนาคม พ.ศ. 2556). "ลุ้นรางวัล "สุพรรณหงส์" ค่ำนี้". สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. THEBESTFILM.net (12 มีนาคม พ.ศ. 2556). "22ND THAILAND NATIONAL FILM ASSOCIATION AWARD WINNERS – THE 2013 SUBHANAHONGSA AWARDS". สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ. "สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เปิดโผภาพยนตร์ 5 เรื่องสุดท้าย 16 ประเภทรางวัล เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ "สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22"" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ. "รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม แก้