รัมภา ภิรมย์ภักดี

รัมภา ภิรมย์ภักดี (ชื่อเล่น ตุ้ม) เป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ชาวไทย โดยเฉพาะละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ค่ายสามเศียร ภายใต้นามปากกา อาทิ "ภาวิต" และ "พิกุลแก้ว" รวมถึงมีผลงานเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงอย่าง ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. 2537), นางทาส (พ.ศ. 2551)

รัมภา ภิรมย์ภักดี
นามปากกาภาวิต, พิกุลแก้ว, สุวิชา
อาชีพนักเขียนบทละคร
สัญชาติไทย
ผลงานที่สำคัญบทโทรทัศน์ละครโทรทัศน์
ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. 2537), นางทาส (พ.ศ. 2551)

รัมภามีศักดิ์เป็นหลานของไพรัช สังวริบุตร จบการศึกษาจากแผนกวรรณคดีและภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วรับราชการครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ รัมภามีความเชี่ยวชาญด้านแต่งโคลงกลอน จึงได้ช่วยไพรัชแต่งโคลงกลอนเพื่อนำเสนอละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา[1] ก่อนจะเริ่มงานเขียนบทละครโทรทัศน์เมื่อ พ.ศ. 2528 ประจำบริษัทดีด้า เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องแรกคือ แม่ปูเปรี้ยว[2]

ก่อนจะขึ้นถึงจุดสูงสุดครั้งแรกในช่วงพุทธทศวรรษ 2540 เช่นดัดแปลงรามเกียรติ์มาเป็นละครพื้นบ้าน ใน เทพศิลป์ อินทรจักร (2542) การนำนิทานวัดเกาะผสมกับเทพปกรณัมกรีกเรื่อยไปถึงไซอิ๋วใน เทพสามฤดู (2546) รัมภาหายจากการเขียนบทละครโทรทัศน์ระยะหนึ่ง จนกลับมาเขียนบทละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ อีกครั้งใน สังข์ทอง (2561) ซึ่งออกอากาศเกิน 100 ตอน รวมถึง นางสิบสอง (2562)[3]

แนวทางการเขียนของรัมภายังได้นำแนวคิดเรื่องสิทธิสตรีเข้าไปในละคร เช่นเรื่องที่นางเอกต้องสู้คน อย่างเรื่อง นางพญาไพร เป็นนางเอกสู้คนไม่ยอมใครแม้แต่พระเอก ส่วนละครทั่วไปที่เขียนบทประพันธ์ ที่โด่งดังมากอย่าง ดาวพระศุกร์ ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ ดั่งดวงหฤทัย (2539)[4]

อ้างอิง แก้

  1. "การทำงานของผู้เขียนบทละครเรื่องนางทาส".
  2. "ชีวิต-แนวคิดการเขียนบทละครจักรๆ วงศ์ๆ ของ "รัมภา ภิรมย์ภักดี" ต้นตอวลี "แม่ไม่ปลื้ม"". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. "เบื้องหลังการเขียนบท "ละครจักรๆ วงศ์ๆ" ของ "รัมภา ภิรมย์ภักดี"". มติชนสุดสัปดาห์.
  4. "จากดาวพระศุกร์ถึงอีเย็น คุยกับ "รัมภา ภิรมย์ภักดี" คนเขียนบทละครโทรทัศน์". ศิลปวัฒนธรรม.