รัฐสภานิวซีแลนด์

รัฐสภานิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand Parliament, มาวรี: Pāremata Aotearoa) เป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวของประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วยสมเด็จพระราชินีนาถแห่งนิวซีแลนด์ (รัฐสภากษัตริย์) และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้สำเร็จราชการ (governor-general) สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์[2] ก่อนปีค.ศ. 1951 เคยมีสภาสูง คือ คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อังกฤษ: Legistrative Council) รัฐสภานิวซีแลนด์ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1854 และเป็นหนึ่งในสภานิติบัญญัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน[3] ที่ทำการรัฐสภาตั้งอยู่นครเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ค.ศ. 1865

รัฐสภานิวซีแลนด์

New Zealand Parliament  (อังกฤษ)
Pāremata Aotearoa  (มาวรี)
สมัยที่ 53
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบสภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหาร
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952
เดม แพทริเซีย ลี เรดดี
ตั้งแต่ 28 กันยายน ค.ศ. 2016
ประธานรัฐสภา
เทรเวอร์ มัลลาร์ด, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์
ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
คริส ฮิปกินส์, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์
ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017
โครงสร้าง
สมาชิก120 ที่นั่ง
NZ_House_of_Representatives_November_2020_Map.png
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (65)
  •   พรรคแรงงาน (65)

ฝ่ายพรรคร่วม (10)

  •   พรรคกรีน (10)[note 1]

ฝ่ายค้าน (33)

  •   พรรคชาตินิวซีแลนด์ (33)

ฝ่ายอิสระ (12)

  •   พรรค ACT (10)
  •   พรรคเมารี (2)
การเลือกตั้ง
แบบสัดส่วนผสมบัญชีปิด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
17 ตุลาคม 2020
ที่ประชุม
Parliament House, Wellington, New Zealand (79).JPG
อาคารรัฐสภา (Parliament House)
นิวซีแลนด์ เวลลิงตัน
เว็บไซต์
www.parliament.govt.nz

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 120 คน โดยจำนวนอาจมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีมีที่นั่งส่วนขยาย (overhang seats) โดยมีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 72 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเขตละหนึ่งคน และที่เหลือเป็นสมาชิกแบบบัญชีรายชื่อซึ่งจัดสรรปันส่วนจากคะแนนเสียงของพรรคต่อคะแนนรวมทั้งหมด ชาวมาวรีเริ่มมีผู้แทนในรัฐสภาตั้งแต่ปีค.ศ. 1867 และในปีค.ศ. 1893 สตรีได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง รัฐสภามีวาระครั้งละสามปี โดยสามารถเลือกตั้งได้ล่วงหน้าในกรณีมีการยุบสภา

รัฐสภานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) และรัฐมนตรีต่างๆ โดยตามหลักการของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ รัฐมนตรีนั้นจะต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา และจะต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา

ทั้งพระมหากษัตริย์ (พระองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3) และผู้สำเร็จราชการ จะไม่มีส่วนร่วมในขั้นตอนนิติบัญญัติ ยกเว้นแต่การลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้ร่างกฎหมายที่ผ่านการรับรองโดยรัฐสภาตราเป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ผู้สำเร็จราชการมีบทบาทและอำนาจตรงในการเรียกประชุมรัฐสภา และยุบสภา โดยในกรณีนี้จะมีอำนาจให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ได้

หมายเหตุ แก้

  1. พรรคกรีนนั้นร่วมมือกับพรรคแรงงาน "แต่ไม่อยู่ในระดับเดียวกับพรรคร่วมรัฐบาล หรือระดับข้อตกลงหนุนรัฐบาล"[1]

อ้างอิง แก้

  1. "Greens officially sign on to join Government with Labour". 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  2. McLean, Gavin (28 September 2016). "Governors and governors-general – Constitutional duties". Te Ara: The Encyclopedia of New Zealand. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  3. Martin, John E. (17 February 2015). "Parliament". Te Ara: The Encyclopedia of New Zealand. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.