ตรังกานู[5] หรือ เตอเริงกานู[5] (มลายู: Terengganu, ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา")

รัฐตรังกานู

Negeri Terengganu
เนอเกอรีเตอเริงกานูดารุลอีมัน
Negeri Terengganu Darul Iman
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูTerengganu (รูมี)
ترڠڬانو(ยาวี)
ธงของรัฐตรังกานู
ธง
ตราราชการของรัฐตรังกานู
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
มาจู เบอร์กัตดันเซอจะฮ์เตอรา
เพลง: เซอลามัตซุลตัน
   รัฐตรังกานู ใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐตรังกานู ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 4°45′N 103°0′E / 4.750°N 103.000°E / 4.750; 103.000
เมืองหลวงกัวลาเตอเริงกานู
เมืองเจ้าผู้ครองกัวลาเตอเริงกานู
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • สุลต่านสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดิน
 • มุขมนตรีอะฮ์มัด ซัมซูรี มคตาร์ (พรรคอิสลามมาเลเซีย)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด13,035 ตร.กม. (5,033 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)[3]
 • ทั้งหมด1,210,500[1] (ที่ 10) คน
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017)0.807 (สูงมาก) (อันดับที่ 3)[4]
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์20xxx ถึง 24xxx
รหัสโทรศัพท์09
ทะเบียนพาหนะT
สหราชอาณาจักรปกครองค.ศ. 1909
ญี่ปุ่นยึดครองค.ศ. 1942
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายาค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
เว็บไซต์www.terengganu.gov.my

รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร

องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน)

เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานูตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานู เป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ

ศาสนา แก้

สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐตรังกานูใน ค.ศ. 2010[6]
ศาสนา อัตราส่วน
อิสลาม
  
96.9%
พุทธ
  
2.5%
ฮินดู
  
0.2%
คริสต์
  
0.2%
ไม่มีศาสนาและอื่น ๆ
  
0.2%

รายนามเจ้าเมืองตรังกานู แก้

พระนาม พระนามตามเอกสารฝ่ายไทย ปีที่ดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.)
Zainal Abidin I สุลต่านมะหมัด 1725–1733
Mansur Shah I พระยาตรังกานู (ตุวันมาโซ) 1733–1793
Zainal Abidin II พระยาตรังกานู (ตนกูแยนา) 1793–1808
Ahmad Shah I พระยาตรังกานู (ตนกูอามัด) 1808–1830
Abdul Rahman พระยาตรังกานู (ตนกูอับดุลมาน) 1830–1831
Omar Riayat Shah
Mansur Shah II
ตนกูอุมา
ตนกูมังโซ[7]
1831 (ครองตำแหน่งร่วมกัน)
Mansur Shah II พระยาตรังกานู (ตนกูมังโซ) 1831–1837
Muhammad Shah I พระยาตรังกานู (ตนกูมะหมัด) 1837–1839
Omar Riayat Shah พระยาตรังกานู (ตนกูอุมา) 1839–1876
Mahmud Mustafa Shah พระยาตรังกานู (ตนกูปะสา) 1876-1877
Ahmad Muadzam Shah II 1876–1881
Zainal Abidin III
สุลต่านไซนัล อาบิดีนที่ 3
พระยาพิไชยภูเบนทร์ พระยาตรังกานู
(ตวนกูไชนาลรบีดิน)
1881–1918 (อังกฤษปกครอง 1909)
Muhammad Shah II
สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์ที่ 2
1918–1920
Sulaiman Badrul Alam Shah
สุลต่านสุไลมาน บาดรุล อลัม ชาห์
1920–1942
Ali Shah
สุลต่านอาลี ชาห์
1942–1945
Ismail Nasiruddin Shah
สุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดีน ชาห์
1945–1979
Mahmud al-Muktafi Billah Shah
สุลต่านมะห์มุด อัล-มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์
1979–1998
Mizan Zainal Abidin
สุลต่านมีซาน ไซนัล อาบีดิน
1998–ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cone&menu_id=QVNTL3R3cTdLTEg4dENzT3lCdTVBQT09
  2. "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  3. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  4. http://hdr.undp.org/en/countries/profiles/MYS
  5. 5.0 5.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  6. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13
  7. พงศาวดารตรังกานูฉบับศาลาลูกขุนบันทึกไว้ว่า ตนกูเดาโหดรักษาราชการแทน ได้ 1 เดือนก็ถึงแก่กรรม ตนกูอุมากับตนกูมังโซจึงก่อสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งยิงราชบัลลังก์