ระพี สาคริก

นักพฤกษศาสตร์ไทย

ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก "บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย"[1] (4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) ราษฎรอาวุโส[2] นักวิจัย นักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอดีตนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์

ระพี สาคริก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าพลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร
ถัดไปดร.ปรีดา กรรณสูต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 – 16 กันยายน พ.ศ. 2522
ก่อนหน้าหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ธันวาคม พ.ศ. 2465
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (95 ปี)
คู่สมรสกัลยา มนตริวัต

ช่วงต้นของชีวิตขณะเยาว์วัย แก้

ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ในย่านวรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตริยสมุห (เนื่อง สาคริก) และคุณแม่สนิท ภมรสูตร มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 6 คน ดังนี้

ประวัติการศึกษา แก้

ในปี พ.ศ. 2468–2469 เริ่มต้นการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนสามเสนวิทยาคาร และจากนั้นในปี พ.ศ. 2469 ได้ย้ายโรงเรียนไปยังโรงเรียนสตรีจุลนาค จนถึงปี พ.ศ. 2471 อีกหลายแห่ง ในปี พ.ศ. 2471–2473 ศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และศึกษาต่อในปี พ.ศ. 2474–2475 ที่โรงเรียนเยาวกุมารในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2475–2477 ศึกษาต่อที่โรงเรียนเนติศึกษา และในปี พ.ศ. 2477–2479 ที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ และในปี พ.ศ. 2480–2481 โรงเรียนรพีพัฒน์วิทยา (ชื่อเดิม โรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย) โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรหรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2481–2483 โรงเรียนนันทศึกษา จนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ และได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการถึง 2 ใบจากนั้น ในปี พ.ศ. 2483–2485 จึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ จ.เชียงใหม่(ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2486) ซึ่งเปิดสอนระดับเตรียมมหาวิทยาลัยที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (แม่โจ้รุ่น 7) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490 จบการศึกษาในสาขาปฐพีวิทยา ในคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 2) ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้เลือกศึกษาด้านกสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต สาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร ระดับปริญญาตรีและได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อ พ.ศ. 2490 นอกจากนี้ศาสตราจารย์ระพี ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานวัตกรรมเกษตรจาก มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[3]

การทำงาน แก้

ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้รับการทาบทามจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่กรุงเทพฯ ให้เข้าเป็นอาจารย์ประจำ แต่เนื่องจากความชอบทำงานค้นคว้าภาคสนามจึงเลือกไปทำงานที่สถานีทดลองกสิกรรมที่แม่โจ้ในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยพันธุ์ข้าว พันธุ์ผักและยาสูบ ในขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาค้นคว้าด้าน "กล้วยไม้" ไปด้วยด้วยทุนส่วนตัว ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกิจวัตรในชีวิตของท่านทีได้อุทิศให้กับงานค้นคว้าวิจัยด้านกล้วยไม้ตลอดมาจนได้รับการยอมรับจากวงการกล้วยไม้ของโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดผู้หนึ่ง เมื่อทำงานวิจัยได้ 2 ปี จึงกลับเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานการค้นคว้าและส่งเสริมกล้วยไม้ทั้งในด้านการปรับปรุงพันุธุ์ ขยายพันธุ์ตลอดจนด้านธุรกิจการส่งออก ทำให้กล้วยไม้ไทยกลายเป็นสินค้าส่งออกด้านเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ด้วยเหตูนี้ ศาสตราจารย์ระพี สาคริกจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2511)[4] นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2513) อีกด้วย

ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[5] รวมทั้งตำแหน่งอื่น ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย แม้จะเกษียณอายุราชการนานแล้วก็ตาม ศาสตราจารย์ระพี สาคริกก็ยังได้รับความเคารพยกย่องเป็นปูชนียบุคคล โดยเฉพาะในวงการศึกษาและวงการกล้วยไม้ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย

ในปี พ.ศ. 2549 ศาสตราจารย์ระพี ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรับเป็นที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[6]

ชีวิตครอบครัว แก้

ศาสตราจารย์ระพี สาคริกสมรสกับคุณกัลยา มนตริวัตร (บุตรีขุนพิชัยมนตรี หัวหน้าเสรีไทยสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 3 คน ได้แก่ นาย ระวิพันธุ์ สาคริก นาย พีระพงศ์ สาคริก อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย นาย วงษ์ระวี สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท พีพี พาราวูด จำกัด[7] หญิง 1 คน ได้แก่ นางสาว มาลีกันยา สาคริก

เมื่อ พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้ลาออกจากตำแหน่งประจำต่าง ๆ ที่ท่านดำรงทั้งภาคราชการ กึ่งราชการและภาคเอกชน เพื่อหันมาใช้ชีวิตที่สงบและเรียบง่าย เหลือเพียงการเป็นที่ปรึกษาให้วิทยาทานด้วยการบรรยาย สัมมนา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทและเยาวชนที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม

สุขภาพ แก้

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางศาลมีคำสั่งให้ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เป็นคนไร้ความสามารถ ให้อยู่ในความอนุบาลของนางมาลีกันยา สาคริก ผู้ร้อง ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ 712/2560 คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ 996/2560 โดยระบุว่ายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ศาสตราจารย์ระพีเป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ มาลีกันยา สาคริก บุตรสาวของศาสตราจารย์ระพี เนื่องจากป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคพาร์กินสัน มีอาการสมองเสื่อม และโรคถุงลมเรื้อรัง ไม่สามารถทำงานและช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลา ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 โดยประกาศในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 [8][9]

ศาสตราจารย์ระพีถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 จากภาวะเลือดเป็นพิษเหตุติดเชื้อ สิริรวมอายุ 95 ปี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

บรรณานุกรม แก้

  • หนังสืออนุสรณ์ในงานพระทานเพลิงศพศาสตราจารย์ระพี สาคริก "กล้วยไม้ผู้มอบความรักแก่เพื่อนมนุษย์" | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 35.

อ้างอิง แก้

  1. "ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก | ผลงาน หนังสือ บทความ กล้วยไม้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-05.
  2. อาลัยราษฎรอาวุโส 'ต่อตระกูล' เปิดภาพ 'ด.ช.ระพี สาคลิก' เมื่อปี 2473
  3. "ม.รังสิต มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 บุคคลสำคัญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕, ตอน ๙๑ ง, ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑, หน้า ๒๙๙๖
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  6. เปิดตัว “พันธมิตรกู้ชาติ” สานภารกิจขับไล่ “แม้ว”[ลิงก์เสีย]
  7. สภาอุตฯ โชว์ "3ธุรกิจ"ดาวเด่นCobra - BLCP - PAPAWOOD[ลิงก์เสีย]
  8. ศาลมีคำสั่ง “ศ.ระพี สาคริก” เป็นคนไร้ความสามารถ เหตุป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, มติชน, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้ นายระพี สาคริก (เลขบัตรประจำตัวประชาชน ๓-๑๐๐๕-๐๐๒๒๙-๔๕-๑) เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของ นางมาลีกันยา สาคริก ผู้ร้อง, เล่ม ๑๑๔, ตอน ๘๐ ง, ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐, หน้า ๑๑๖
  10. บิดากล้วยไม้ ศ.ระพี สาคริก โลหิตติดเชื้อ เสียชีวิตสงบ! (คลิป), ไทยรัฐออนไลน์, 17 กุมภาพันธ์ 2561
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๙๑ ง หน้า ๒๙๙๖, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๒๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  • ประภาภัทร นิยม หอมทวนลม -The Language Of Orchids, A Treasure of Wisdom & Inspiration. กรุงเทพฯ: ลิปส์ พับบลิชชิง, 2549.
  • ระพี สาคริก 80 ปี ศาสตราจารย์ระพี สาคริก, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะเกษตร, 2545.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้