รถไฟชานเมืองเดลี

รถไฟชานเมืองเดลี เป็นระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถไฟชานเมือง ให้บริการในเขตนครหลวงแห่งชาติ ประเทศอินเดีย โดยมีการรถไฟเหนือ เป็นผู้ดำเนินการ โดยรถไฟชานเมืองนี้ให้บริการครอบคลุมกรุงนิวเดลี เขตฟาริดาบาด เขตคาเซียบาด จนไปถึงชายแดนรัฐหรยาณา และรัฐอุตตรประเทศ รถไฟส่วนใหญ่ใช้กระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และใช้ดีเซลรางเป็นส่วนน้อย

รถไฟชานเมืองเดลี
दिल्ली उपनगरीय रेल्वे
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งอินเดีย เขตนครหลวงแห่งชาติ, อินเดีย
ประเภทรถไฟชานเมือง
การให้บริการ
ผู้ดำเนินงานการรถไฟเหนือ
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,676 mm (5 ft 6 in) รางอินเดีย

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

รถไฟชานเมืองเดลี เดินรถร่วมกับรถไฟระหว่างเมือง ในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการเปิดใช้งานรถไฟสุภาพสตรีระหว่างเดลีกับปัลวาล และจะเปิดให้บริการเพิ่มเติมในสายเดลี - คาเซียบาด และสายเดลี - ปานิปาต[1]

รถไฟวงแหวนเดลี แก้

รถไฟวงแหวนเดลี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเดลี ประเทศอินเดีย
ปลายทาง
  • สถานีนิซามุดดิน
  • สถานีนิซามุดดิน
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง
ระบบรถไฟชานเมืองเดลี
ผู้ดำเนินงานการรถไฟเหนือ
ผู้โดยสารต่อวัน5,000 คน
ประวัติ
เปิดเมื่อค.ศ. 1975
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง35 กิโลเมตร (22 ไมล์)
ลักษณะทางวิ่งระดับดิน
รางกว้าง1,676 mm (5 ft 6 in) รางอินเดีย

รถไฟวงแหวนเดลี เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟชานเมืองเดลี มีลักษณะเป็นวงกลม และขนานไปกับถนนวงแหวน โดยรถไฟวงแหวน มีการวางแผนเพื่อรับรองการใช้งานในเอเชียนเกมส์ 1982 เริ่มเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1975 และได้พัฒนาขึ้นระหว่างช่วงเอเชียนเกมส์ สายนี้มีระยะทางยาว 35 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินตลอดสาย 1 ชั่วโมง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง โดยยึด สถานีนิซามุดดิน เป็นสถานีต้นทางและปลายทาง รถไฟเปิดเวลา 8 นาฬิกา และปิดเวลา 19 นาฬิกา เนื่องจากราคาตั๋วไป-กลับของสาย มีราคา 12 รูปีอินเดีย ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับของรถไฟใต้ดิน ซึ่งมีราคา 60 รูปีอินเดีย ดังนั้น รถไฟวงแหวนจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนระดับกลางและระดับยากจน[2] รถไฟแต่ละขบวนวิ่งห่างกัน 1 นาที ถึง 1 นาที 30 นาที ในภายหลังจากที่โครงข่ายรถไฟเดลีขยายไปไกลกว่าถนนวงแหวน ทำให้รถไฟวงแหวนเป็นระบบรถไฟที่มากเกินจำเป็น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่กีฬาจักรภพอังกฤษ 2011 จะเริ่มขึ้น ได้มีการเปิดใช้งานสถานีรถไฟ 7 สถานี ใกล้กับสนามกีฬา[3][4]

 
แผนที่รถไฟวงแหวนเดลี

อ้างอิง แก้

  1. "More Ladies Special Train in NCR".
  2. "The road around progress". Mint (newspaper). Feb 17, 2012.
  3. "Changing Delhi map makes Ring Railway redundant". Indian Express. Feb 22, 2011.
  4. "Ring Rail service chugs into oblivion". Deccan Herald. Feb 4, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้