รถแต่ง เป็นชื่อเรียกของรถยนต์ที่ได้รับการเปลี่ยน ดัดแปลง หรือปรับปรุงชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ รูปลักษณ์ภายนอก ภายใน ประสิทธิภาพ นอกเหนือจากมาตรฐานโรงงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน วัตถุประสงค์ และทุนทรัพย์ และในปัจจุบันมีโรงงานผู้ผลิตส่วนรถยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอยู่หลายยี่ห้อ หลายรายการ ทั้งของไทย ของนำเข้า และจากโรงงานผู้ผลิตรถยนต์เอง ผู้แต่งรถสามารถดัดแปลงตกแต่งได้หลายรูปแบบ อาจจะตกแต่งปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือดัดแปลงจนไม่เหลือเค้าเดิม ชิ้นส่วนที่นิยมแต่ง เปลี่ยน ดัดแปลง เช่น ล้อแม็กนีเซียม เครื่องยนต์ ตัวถัง อุปกรณ์ภายใน ภายนอก

ฮิโรฮะตะ เมอร์ค หนึ่งในรถแต่งสไตล์คลาสสิกแบบอเมริกันที่ได้รับความนิยม

การขับรถแต่งบางครั้งมักจะนำไปทำการแข่งรถบนท้องถนน เช่น เด็กแว้น ซึ่งทำให้เกิดภาพพจน์เสียต่อสังคมตามมา จากการใช้ความเร็วที่สูงเกินความเร็วจำกัดบนท้องถนน รวมถึงเสียงดังที่เกิดจากเครื่องยนต์ที่ดัดแปลงที่สูงและรบกวนแก่ผู้อยู่อาศัย

ประเภทของการแต่งรถ แก้

การแต่งรถนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสวยงาม ประสิทธิภาพ การใช้งาน ประเภทของการแต่งที่นิยมกัน

สปอร์ต
เป็นการแต่งที่เพิ่มสมรรถนะ และความสวยงาม แต่ยังคงรูปแบบการใช้งานในเมืองอยู่ ในบางกรณีมีการเพิ่มสมรรถนะจนสามารถนำไปใช้ในการแข่งขันได้ด้วย
วีไอพี
เป็นการแต่งรถที่เน้นความหรูหรา และความสะดวกสบายเป็นหลัก เช่น บุหนังภายใน ชุบทองโลโก้ ตกแต่งด้วยลายไม้ภายในห้องโดยสาร
โลว์ไรเดอร์
เป็นรูปแบบการแต่งรถในลักษณะลดความสูงของรถให้เตี้ยที่สุด (ในภาษาชาวบ้านอาจเรียกว่า "เตี้ยเลียพื้น") โดยการดัดแปลงช่วงล่าง นิยมใช้ช่วงล่างแบบไฮโดรลิก เป็นที่นิยมในอเมริกา และญี่ปุ่น โดยในอเมริกานั้น จะนิยมแต่งรถอเมริกันคลาสสิก ลักษณะ แบน เตี้ย กว้าง ยาว ในลักษณะนี้ เช่น เชฟโรเลต อิมพาลา กรณีในของประเทศไทยและญี่ปุ่น มักจะใช้รถญี่ปุ่น อาจจะเป็นรถเก๋งหรือรถกระบะก็ได้
จีที หรือ ทัวร์ริงคาร์
เป็นการแต่งที่เน้นหนักไปทางสมรรถนะ เช่น รถแข่งทางเรียบ
คันทรี หรือแรลลี
เป็นการแต่งรถที่นำไปใช้งานในลักษณะแบบ ลุยฝุ่น ป่า เขา ส่วนมากรถที่ใช้แต่งเป็นรถกระบะ ค่อนข้างเป็นที่นิยมในประเทศไทย (เกินครึ่งของผู้ใช้รถในประเทศเป็นรถกระบะ)
มัสเซิลคาร์
เป็นรถที่นิยมมากในอเมริกาในช่วงยุคทศวรรษที่ 1960-1980 จะนิยมแต่งเรื่องประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เป็นระบบขับเคลื่อนแบบ FR (เครื่องวางหน้าขับเคลื่อนล้อหลัง) ซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง รถมัสเซิลคาร์ที่โด่งดังตลอดกาล เช่น ฟอร์ด มัสแตง, พอนทีแอค จีทีโอ (ในไทยเรียก พอนเทียค) , เชฟโรเลต คอร์เวตต์ (รุ่นเก่า)
ฮ็อตร็อด
รถแต่งประเภทนี้ค่อนข้างหายากหรือไม่มีเลยในประเทศไทย แต่เป็นที่นิยมในหมู่คนเล่นรถในอเมริกา เป็นการแต่งในลักษณ์ใช้รถเก่าในยุคทศวรรษ 1950 หรืออาจเก่ากว่านั้น มาดัดแปลงประสิทธิภาพให้ทันสมัยขึ้น ทั้งในด้านความสวยงาม และเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกันก็แทบจะไม่มีการดัดแปลงรูปร่างตัวถังให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม

การแต่งรถที่ต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก[1] แก้

  1. การติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถฝาปิดด้านท้าย
  2. ติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ (Tail Lift)
  3. การเปลี่ยนเครื่องยนต์
  4. การเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
  5. การแก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ
  6. ระบบรองรับน้ำหนัก เสริมแหนบ ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว หรือระบบขับเคลื่อน เป็นต้น
  7. เปลี่ยนสีรถ

ผลกระทบจากการแต่งรถที่ไม่คำนึงถึงผู้อื่น แก้

การแต่งรถบางอย่างอาจมีผลเสียต่อผู้อื่นหรือผิดกฎหมายหรือไม่ปลอดภัย เช่น ไฟผิดสี ท่อไอเสียมีเสียงดังเกินกำหนด ควันดำ ไม่ใส่ป้ายทะเบียน ดัดแปลงตัวถัง อื่น ๆ[2]

ไฟผิดสีจากที่กำหนด แก้

ไฟรถยนต์ต่าง ๆ มักจะมีการกำหนดสีตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้[3]

  1. โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า
  2. โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า
  3. โคมไฟเลี้ยว แสงสัญญาณกะพริบสีอำพัน
  4. โคมไฟข้างรถ สำหรับรถที่มีความยาวเกินกว่าหกเมตร แสงสัญญาณสีอำพัน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านข้าง
  5. โคมไฟข้างรถดวงที่อยู่ท้ายสุดอาจเป็นแสงสัญญาณสีอำพันหรือสีแดงก็ได้ หากกะพริบต้องให้แสงสัญญาณสีอำพันเท่านั้น
  6. แสงสัญญาณเตือนอันตราย มีระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตรายโคมไฟเลี้ยวทุกดวงต้องกะพริบพร้อมกัน
  7. โคมไฟแสดงตำแหน่งด้านหน้า แสงขาวหรือเหลือง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า
  8. โคมไฟแสดงตำแหน่งด้านท้าย แสงแดง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลัง
  9. โคมไฟหยุด แสงแดง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลัง
  10. โคมไฟถอยหลัง แสงขาว มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลังหรือด้านข้าง
  11. โคมไฟส่องแผ่นป้ายทะเบียนด้านท้าย แสงขาว
  12. โคมไฟภายในรถ แสงขาว ให้แสงสว่างพอสมควร
  13. โคมไฟแสดงความกว้างและความสูงของรถ สำหรับรถที่มีความกว้างเกินกว่าสองร้อยสิบเซนติเมตร แสงขาว
  14. อุปกรณ์สะท้อนแสง ที่สามารถสะท้อนแสงให้เห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน

แต่ถ้ามีการเปลี่ยนสีไฟนอกจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดก็อาจจะทำให้ผู้ใช้รถรายอื่นเดือดร้อนและผิดกฎหมาย

ท่อไอเสียเสียงดังเกินกำหนด แก้

ค่าเสียงของท่อไอเสียในกฎหมายของประเทศไทย ระบุไว้ว่าไม่ให้เกิน 95 ถ้าหากเสียงดังเกินจะถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าท่อไอเสียเสียงดังมากเกินไปอาจจะทำให้รบกวนผู้อื่นอีกด้วย[4]

ควันดำ แก้

ควันดำนั้นเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ส่วนมากมักเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ตามกฎหมายค่าควันดำกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง) หรือไม่เกินร้อยละ 45 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง) ซึ่งถ้ารถมีควันดำมากอาจส่งผลต่อมลภาวะ เช่น ฝุ่นPM 2.5 [5]

รถแต่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

รถแต่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม มีปรากฏในสื่อหลายอย่างไม่ว่า ภาพยนตร์ วิดีโอเกม หรือ การ์ตูน

ภาพยนตร์ แก้

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับรถแต่งที่มีชื่อเสียง เช่น

การ์ตูน แก้

วิดีโอเกม แก้

ปัจจุบันมีวิดีโอเกมหลายเกมที่มีเนื้อหาหรือรายละเอียดเกี่ยวกับรถแต่ง เช่น

  • แกรนทัวริสโม (Gran Turismo)
  • Import Tuner Challenge
  • Initial D Arcade Stage
  • Juiced
  • Midnight Club
  • Midnight Club 3: DUB Edition
  • Midnight Club:Los Angeles
  • Midnight Outlaw
  • Need for Speed: Undercover
  • Need for Speed: Pro Street
  • Need for Speed: Carbon
  • Need for Speed: Most Wanted
  • Need for Speed: Underground
  • Need for Speed: Underground 2
  • Pimp My Ride
  • Street Legal Racing: Redline
  • Street Racing Syndicate
  • Street Racing Syndicate
  • Street Supremacy
  • The Fast and the Furious
  • Tokyo Xtreme Racer series
  • Tokyo Xtreme Racer
  • Wangan Midnight Maximum Tune
  • West Coast Streets Tricked n' Tuned

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. กรมการขนส่งทางบก เตือน!!! การแก้ไขดัดแปลงตัวรถที่ส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกทุกครั้ง[ลิงก์เสีย]
  2. "กฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ_พ.ศ._๒๕๕๑". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-11-19.
  3. "กฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ_พ.ศ._๒๕๕๑". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-11-19.
  4. ผิดหรือไม่_เปลี่ยนท่อไอเสีย
  5. "การตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำ(กรมควบคุมมลพิษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-27. สืบค้นเมื่อ 2019-11-19.