ยุทธนาวีที่มิดเวย์

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธนาวีมิดเวย์)

ยุทธนาวีมิดเวย์ (อังกฤษ: Battle of Midway, ญี่ปุ่น: ミッドウェー海戦) เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก[3][4][5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา

ยุทธนาวีมิดเวย์
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

เครื่องบินทิ้งระเบิดดักลาส เอสบีดี - 3 จากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต ขณะดำดิ่งทิ้งระเบิดเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นซึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2485
วันที่4-7 มิถุนายน พ.ศ. 2485
สถานที่
มิดเวย์อะทอลล์
28°12′N 177°21′W / 28.200°N 177.350°W / 28.200; -177.350
ผล สหรัฐอเมริกาได้รับชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
 สหรัฐ  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐChester W. Nimitz
สหรัฐFrank Jack Fletcher
สหรัฐRaymond A. Spruance
จักรวรรดิญี่ปุ่น อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โนะบุตะเกะ คนโดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชูอิชิ นะงุโมะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทามอน ยะมะงุจิ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่)
จักรวรรดิญี่ปุ่น ริวซะกุ ยะนะงิโมะโตะ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่)
กำลัง
เรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ
เรือสนับสนุน ~25 ลำ
อากาศยาน 233 ลำ
อากาศยานจากฐานบินบนบก 127 ลำ
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ
เรือประจัญบาน 2 ลำ
เรือสนับสนุน ~15 ลำ (เรือลาดตระเวนหนักและเบา เรือพิฆาต)
อากาศยาน 248 ลำ[1]เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 16 ลำ
เรือที่ไม่ได้ร่วมรบ:
เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 2 ลำ
เรือประจัญบาน 5 ลำ
เรือสนับสนุน ~41 ลำ
ความสูญเสีย
เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ
เรือพิฆาต 1 ลำ
อากาศยาน 150 ลำ,
เสียชีวิต 307 นาย[2]
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ
เรือลาดตระเวน 1 ลำ
อากาศยาน 248 ลำ
เสียชีวิต 3,057 นาย

ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มเป็นฝ่ายรุกโจมตีกองทัพเรือญี่ปุ่นจนจบสงคราม

อ้างอิง แก้

  1. Parshall & Tully, p. 90-91
  2. "The Battle of Midway". Office of Naval Intelligence.
  3. "Battle of Midway: June 4–7,1942". Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
  4. Dull, Paul S. Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-219-9. "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
  5. "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้