ยรรยง พวงราช (14 เมษายน 2495 -) เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นาย ภูมิธรรม เวชยชัย)[1] ในรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน

ยรรยง พวงราช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ถัดไปอภิรดี ตันตราภรณ์
ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสผุสดี พวงราช

ประวัติ แก้

นายยรรยง พวงราช เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ จบการศึกษาชั้นมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2517) ระดับปริญญาโท Master of Laws จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (2521) (ทุนรัฐบาลไทย) และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตร วปรอ. 4212 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ประวัติการทำงาน แก้

ยรรยง พวงราช เริ่มทำงานเป็นที่ปรึกษากฎหมายประจำสำนักงานไพร้ซ์สานนท์และสหาย เมื่อปี พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ตรี ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 จากนั้นเขาได้รับทุนรัฐบาลไทยให้ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งในปี พ.ศ. 2530 จึงได้โอนย้ายมารับหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายพาณิชย์ ประจำกระทรวงพาณิชย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ ระดับ 10 ในปี พ.ศ. 2539 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2541 เป็นรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2543 จากนั้นในปีถัดมาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และกลับไปรับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2546 จนถึงปี พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมการค้าภายใน และเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2552

ประสบการณ์อื่น ๆ แก้

  • เป็นกรรมการกฤษฎีกา (2549 - ปัจจุบัน)
  • เป็นผู้พิจารณาขององค์การการค้าโลก (WTO Panel) คดีทรัพย์สินทางปัญญาและคดีทุ่มตลาด รวม 3 คดี (2540 - 2543)
  • เป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (2540 - 2544)
  • เป็นผู้บรรยายพิเศษวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ฯลฯ (2525-ปัจจุบัน)
  • เป็นประธาน รองประธานกรรมการและกรรมการองค์การคลังสินค้า (2547 - ปัจจุบัน)
  • ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการควบคุมธุรกิจของคนต่างด้าว (2548 - 2550)

งานการเมือง แก้

นายยรรยง มีบทบาทโดนเด่นเป็นที่รู้จักในวงการการเมือง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการแถลงข่าวตอบโต้กันกับนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์[2] ต่อมาหลังเกษียณอายุราชการได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566
  2. เปิดปูมว่าที่รัฐมนตรีหน้าใหม่ครม.ยิ่งลักษณ์5 ประวัติรัฐมนตรี ที่น่ารู้[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้