มูลนิธิร่วมกตัญญู

มูลนิธิร่วมกตัญญู (จีนตัวย่อ: 泰国义德善堂; จีนตัวเต็ม: 泰國義德善堂; พินอิน: Tàiguó Yìdé shàntáng ไท่กั๋วอี้เต๋อซ่านถัง; สำเนียงแต้จิ๋ว: ไทก๊กหงี่เต็กเซี่ยงตึ๊ง) เป็นมูลนิธิในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2513[1] ดำเนินงานสาธารณะในการเก็บศพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานการศึกษา

รถพยาบาลของมูลนิธิร่วมกตัญญูคันหนึ่งที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน นนทบุรี
มูลนิธิร่วมกตัญญู ด้านหน้าวัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4

มูลนิธิร่วมกตัญญูตั้งอยู่ที่ เลขที่ 19 หมู่ 13 ถนนลาดกระบัง-กิ่งแก้ว-บางพลี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256) ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีศูนย์ประสานงานและประกอบพิธีศพที่วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร

อักษรจีนบนตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิดัดแปลงมาจากคำว่า 義 หมายถึง กตัญญู, คุณธรรม, ยุติธรรม

ประวัติ แก้

มูลนิธิร่วมกตัญญูเกิดขึ้นจาก สมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง พ่อค้าขายกาแฟชาวจีน โดยได้ช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสกว่าในชุมชนแออัด ตรอกโรงหมู กล้วยน้ำไท โดยเฉพาะกับคนจนๆ ที่ตายแล้วไม่มีเงินซื้อโลงศพ ต่อมาขยายวงจรจากท่าเรือคลองเตย ไปถึงพระโขนง พระประแดง บางขุนเทียน โดยใช้ชื่อ "ศาลหลวงปู่เปี่ยม"[2] จนในปี พ.ศ. 2513 จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ภายใต้การจัดตั้งโดยโรจน์ โชติรุ่งเรือง และคณะกรรมการรวม 15 ท่าน โดยคุณสมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง เป็นผู้บริหารงานและคุณรัตนา ภรรยา เป็นเลขาธิการ หลังจากที่โรจน์ถึงแก่กรรม คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ จึงได้ยื่นขอเปลี่ยนใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิร่วมกตัญญู เปลี่ยนชื่อประธานกรรมการ มาเป็นชื่อ สมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2530 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ในปี พ.ศ. 2517 มูลนิธิร่วมกตัญญูได้ขยายงานเพิ่มในส่วนงานแผนกช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานการศึกษา

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้