มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี

มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี (อังกฤษ: Muhammad Sayyid Tantawi; อาหรับ: محمد سيد طنطاوي; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1928 - 10 มีนาคม ค.ศ. 2010) ท่องจำกุรอานที่เมืองอะเล็กซานเดรีย เคยดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนสำคัญแห่งมัสยิดอัลอัซฮัร และผู้นำสูงสุดแห่งอัซฮัร เสียชีวิตระหว่างการเดินทางเยือนกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย

มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี
محمد سيد طنطاوي
แกรนด์อิหม่ามแห่งอัลอัซฮัร
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม ค.ศ. 1996 – 10 มีนาคม ค.ศ. 2010
ก่อนหน้ากาด อัลฮัก อะลี กาด อัลฮัก
ถัดไปอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ
แกรนด์มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม ค.ศ. 1986 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1996
ก่อนหน้าอับดุลละฏีฟ อับดุลฆอนี ฮัมซะฮ์
ถัดไปนัสร์ ฟาริด วะซีล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ตุลาคม ค.ศ. 1928(1928-10-28)
ซูฮาก, ประเทศอียิปต์
เสียชีวิต10 มีนาคม ค.ศ. 2010(2010-03-10) (81 ปี)
รียาด, ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร

วัยเด็ก แก้

เกิดที่หมู่บ้านซาลีมอัชชัรกียะฮ์ จังหวัดซูฮาจ ประเทศอียิปต์

การศึกษาและทำงาน แก้

จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร คณะวจนะศาสดาและอรรถาธิบายกุรอาน ปี ค.ศ. 1966 ด้วยคะแนนประเมินผลอันดับดีเยี่ยม ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนคณะศาสนศาตร์ ประเทศลิเบีย เป็นเวลา 4 ปี ได้รับตำแหน่งเป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์อิสลาม แห่งมหาลัยอิสลามียะฮ์ ณ นครมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เคยดำรงตำแหน่งมุฟตีผู้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นปัญหาทางศาสนาอิสลามแห่งสาธารณรัฐอิยิปต์ ครั้นปี ค.ศ.1996 จึงได้รับตำแหน่งอธิการบดีแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร

มุมมองการวินิจฉัยประเด็นทางศาสนา แก้

ข้อขัดแย้งต่อการคลุมศีรษะของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศส แก้

ในช่วงที่รัฐบาลฝรั่งเศสสั่งห้ามสตรีมุสลิมคลุมศีรษะในสถานศึกษา ฏ็อนฏอวีวินิจฉัยว่า อนุญาตให้เปลื้องผ้าคลุมศีรษะ (ฮีญาบ) ได้ขณะกำลังศึกษา

การทำแท้ง แก้

เขากล่าวว่า อณุญาตให้สรีทำแท้งได้ ในกรณีที่นางตั้งครรภ์จากการถูกข่มขึน[1] แม้ว่านี้จะก่อให้เกิดข้อโต้แย้ง กระทั่งอะลี ญุมอะฮ์ ออกมาบริภาษว่า ฏ็อนฏอวี วินิจฉัยผิดพลาด และไม่ว่าชีวิตจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร หลังจาก 120 วัน การทำแท้งก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม[note 1] forbidden.[3]

การขลิบอวัยวะเพศหญิง แก้

เขาต่อต้านการขลิบอวัยวะเพศหญิง เขากล่าวว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่มาจากอิสลาม และใน ค.ศ. 1997 ปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม (อุละมาอ์) มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่กิจการทางศาสนา ฏ็อนฏอวียังเปิดเผยด้วยว่า บุตรสาวของเขาเองก็ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ[4]

การระเบิดพลีชีพ แก้

ฏ็อนฏอวีต่อต้านการระเบิดแบบยอมตายของมุสลิมในการต่อสู้กับอิสราเอล ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างจากยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี เขาประณามการระเบิดฆ่าตัวตายต่อชาวอิสราเอล โดยปฏิเสธข้อหล่าวหาที่ว่าชาวอิสราเอลทั้งหมดเป็นเป้าหมาย เพราะในช่วงหนึ่ง พวกเขาจะต้องพกปืน[5] ใน ค.ศ. 2003 เขาประณามการระเบิดพลีชีพว่า "เป็นศัตรูของอิสลาม" และยังกล่าวอีกว่า "ความเชื่อที่แตกต่างกันของผู้คนในสังคม การขัดแย้งและการเป็นปรปักษ์เป็นเหตุทำให้อยู่ร่วมกันไม่ได้ นับเป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง พวกหัวรุนแรงสุดโต่งเป็นศัตรูของอิสลาม ญิฮาดคือการต่อต้านการรุกรานดินแดนและช่วยเหลือกันให้หลุดพ้นจากการถูกกดขี่บังคับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้ความรุนแรงราวฟ้ากับดิน"[6]

การให้สตรีเป็นอิหม่ามนำละหมาด แก้

เขากล่าวว่า มันเป็นสิ่งไม่เหมาะสมสำหรับพวกผู้ชายที่จะมองสัดส่วนของผู้หญิงที่อยู่ด้านหน้า

กรณีสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 กล่าวตำหนิอิสลาม แก้

ฏ็อนฏอวีระบุระบุว่า "เราไม่มีข้อโต้แย้งถ้าพระสันตะปาปาตรัสและประกาศต่อสาธารณชนว่าสิ่งที่จักรพรรดิไบแซนไทน์ตรัสนั้นผิด ในขณะเดียวกันสิ่งที่พระองค์ประกาศต่อสาธารณชน พระองค์ต้องขออภัยอย่างเปิดเผยหรือไม่ก็แสดงเหตุผลสมควรในสิ่งที่เขาพูด"[7]

กรณีการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 แก้

เขากล่าวว่า "นี่ไม่ใช่ความกล้าหาญที่จะฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นพันศพ รวมทั้งฆ่าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก"[8] เขากล่าวด้วยว่า "อุซามะฮ์ บิน ลาดิน เรียกการญิฮาดว่าเป็นเพียงการต่อต้านตะวันตกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่เกี่ยวข้องกับอิสลาม" เขากล่าวเสริมอีกว่า "การฆ่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์เป็นการข่มขวัญที่น่ารังเกียจ เป็นการกระทำของพวกไร้ศาสนา ซึ่งเรารับไม่ได้" และยังกล่าวอีกว่า "ผู้กระทำผิดลักษณะเดียวกับกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ เป็นสิ่งที่กุรอานไม่อนุญาต"[9]

การเยือนประเทศไทย แก้

ฏ็อนฏอวีได้รับคำเชิญจากรัฐบาลไทยให้เยือนไทยในระหว่างวันที่ 23 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550[ต้องการอ้างอิง] เพื่อกระชับตวามสัมพันธ์ในกิจการด้านศาสนาและเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสันติสุขชายแดนใต้

เสียชีวิต แก้

ฏ็อนฏอวีเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2010 ด้วยอายุ 81 ปี เนื่องจากหัวใจล้มเหลวขณะเดินทางไปรียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย[10] ฏ็อนฏอวีเสียชีวิตขณะขึ้นเครื่องกลับอียิปต์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด[11] โดยเกิดหัวใจล้มเหลวแล้วล้มลงขณะขึ้นเครื่องบิน[12] ฏ็อนฏอวีพึ่งเข้าร่วมพิธีให้รางวับของ King Faisal International Prize for Service to Islam[13] มีการประกาศว่าเขาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอะมีร ซุลฏอน[14]

การเสียชีวิตของฏ็อนฏอวีเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด และมีการอธิบายถึงตัวเขาก่อนออกเดินทางว่ามี "รูปร่างและสุขภาพที่ดีเยี่ยม"[15] ทางการอียิปต์กล่าวว่า ร่างของเขาจะถูกฝังที่มะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นที่ฝังของศาสดามุฮัมมัด ตามคำประสงค์ของครอบครัว พิธีฝังศพที่ญันนะตุลบะเกียะอ์เกิดขึ้นหลังละหมาดศพที่มัสยิดอันนะบะวี[16]

หมายเหตุ แก้

  1. 120 วัน เท่ากับการตั้งครรภ์มากกว่า 17 สัปดาห์ ในสหรัฐ ร้อยละ 95 ของการทำแท้งมักทำก่อนเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16[2]

อ้างอิง แก้

  1. Mail & Guardian Africa: "All Islam's sheikhs are extremists, right? Wrong. Meet the African Imam & mosques that shock even moderate Muslims" by Samantha Spooner เก็บถาวร 12 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 January 2015
  2. "Abortion Facts". NO Abortion. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2007. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
  3. Religion and Ethics – Abortion – Rape, incest and adultery เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนbbc.co.uk
  4. Egyptian ban on female circumcision upheld เก็บถาวร 19 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนBBC News 28 December 1997
  5. Grand Sheikh condemns suicide bombings เก็บถาวร 26 พฤษภาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนBBC News 4 December 2001
  6. "IMRA – Monday, November 3, 2003 Egyptian grand shaykh: Islamic law sees suicide-bombers as martyrs". www.imra.org.il. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  7. Egypt's top Muslim leader demands clearer papal apology[ลิงก์เสีย]
  8. Islamic world deplores US losses เก็บถาวร 15 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนBBC News 14 September 2001
  9. Text: Lawmaker Says Grand Shaykh of Al-Azhar in Egypt Condemns bin Laden เก็บถาวร 6 มกราคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – US Emabassy in Jakarta October 2001
  10. "Egypt's top Muslim cleric dies of heart attack". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 March 2010.
  11. El Naggar, Miret (10 March 2010). "Controversial Egyptian cleric leaves mixed legacy". The Miami Herald. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.[ลิงก์เสีย]
  12. Hasan, Lama (10 March 2010). "Sheik Mohammed Tantawi, Egypt's Highest Cleric, Dies". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
  13. "Sheikh of Al-Azhar dies of heart attack". Brunei FM. 10 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
  14. "Al-Azhar head dies in Saudi Arabia". Al Jazeera. 10 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2010. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
  15. "Sheikh Tantawi, Egypt's top cleric dies aged 81". BBC News. 10 March 2010. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.
  16. Khan, Ghazanfar Ali (11 March 2010). "Al-Azhar head Tantawi buried in Madinah". Arab News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้