มาลีเอโตอา

(เปลี่ยนทางจาก มาลีเอตัว)

มาลีเอโตอา (ซามัว: Mālietoa; แม่แบบ:IPA-sm Mālietoa) เป็นราชวงศ์ของรัฐและหนึ่งในสี่ตำแหน่งประมุขที่ยิ่งใหญ่แห่งประเทศซามัว แปลตรงตัวเป็น "นักรบผู้ยิ่งใหญ่" ต้นกำเนิดของชื่อตำแหน่งมาจากประโยคสุดท้ายของนักรบชาวตองงาขณะหนีจากชายหาดไปที่เรือของพวกเขาว่า "มาลีเอโตอา, มาโลเอตาอู..." ("นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ขอบคุณสำหรับสงคราม)

มาลีเอโตอา ลาอูเปปา ดำรงตำแหน่งเป็นมาลีเอโตอาใน ค.ศ. 1880 ถึง 1898
มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1 ดำรงตำแหน่งเป็นมาลีเอโตอาใน ค.ศ. 1898 ถึง 1939

ปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือ มาลีเอโตอา ฟาอามาอูซีลี โมลี ผู้ถูกมอบให้ด้วยพระเกียรติแห่งมาลีเอในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2018 เสด็จขึ้นครองราชย์หลังมาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 พระราชบิดาสวรรคตในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[1][2]

พงศาวลี แก้

ต่อไปนี้คือรายนามมาลีเอตัวที่รวบรวม นอกจากนี้ยังมีการบันทึกในฉบับอื่น ๆ อีกเล็กน้อย; อย่างไรก็ตาม ความสอดคล้องโดยรวมของลำดับเหตุการณ์และการตั้งชื่อนั้น เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่ามุขปาฐะของลำดับวงศ์ตระกูลของซามัว

  1. มาลีเอโตอา ซาเวอา - มาลีเอโตอาคนแรกหลังจากการยึดครองตองกาของอูโปลู, ซาไวอี. สมรส 3 ครั้ง. ครั้งแรกกับลูอาฟาตาซานา พระธิดาหัวหน้าเผ่าทูอานาอีมีพระโอรสคือ มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู สมรสครั้งที่ 2 กับอามาอามาอูลา ผู้หญิงจากเผ่าทูอานาอี มีพระโอรสคือกากาซาเวอา, เลอูโปลูซาเวอา, และ อูมูซาเวอา. ครั้งที่ 3 กับโซโลโซโลอูตา มีพระโอรสคือโปลูเลอูลิกากา
  2. มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา ฟาอีงาหรือมาลีเอโตอา ฟาอีซาอูเตเล เป็นที่รู้จักในปกรนัมของซามัวว่าเป็นทรราชย์ มนุษย์กินคน ที่ขูดรีดส่วยมนุษย์จากราษฎรของเขา.[3] สมรสกับอาลาอีนูอานูอา ตูอิโตงา, พระธิดาในตูอีโตงาและประทับ ณ โฟอางาบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะอูโปลู พระอนุชาต่างพระชนนีเลอูโปลูซาเวอาและกากาซาเวอา อาจปกครองเป็นมาลีเอโตอาตามลำดับหรือพร้อมกันก็ได้ (ฐานะปรปักษ์)
  3. มาลีเอโตอา กาโลอาอิโตโฟ
  4. มาลีเอโตอา โซนาอิเลปูเล
  5. มาลีเอโตอา เซอาลีอิเตเล
  6. มาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู
  7. มาลีเอโตอา เฟโตโลอาอิ
  8. มาลีเอโตอา อูลา - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา วาเอตูอิหรือมาลีเอโตอาวาลาเลติมู ว่ากันว่าเป็นราชามนุษย์กินคนที่โหดร้าย ประทับ ณ เลโอเนอูตา, ใกล้หมู่บ้านแห่งอาโมอาบนเกาะอูโปลู
  9. มาลีเอโตอา เลปาเลอาไล - "หัวหน้านักปราชญ์" เป็นที่รู้จักในความเฉลียวฉลาดและความโปรดปราณในปริศนาที่ซับซ้อน
  10. มาลีเอโตอา อูอิตูอาลางี - พระโอรสในมาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู ฟาอีงา และ อาลาอีนูอานูอา ตูอิโตงา ตำแหน่งแห่งที่ในลำดับพระราชวงศ์เป็นที่ถกเถียง บางฝ่ายเชื่อว่าเป็นพระโอรสโดยสายเลือดในมาลีเอโตอา อูอิเลมาตูตู ฟาอีงา, บ้างก็ว่าเป็นพระโอรสบุญธรรม, และยังมีอีกหลายคนยืนยันว่าตำแหน่งของเขาคือผู้สืบเชื้อสายรุ่นที่ 7 นับจาก อูอิเลมาตูตู (ที่ซึ่งถูกจัดในรายพระนาม)
  11. มาลีเอโตอา ลาอาอูลี - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอโตอา ลาอาอีเลโปอูลิอูลี เป็นพระโอรสบุญธรรมในมาลีเอโตอา อูอิตูอาลางี ดังนั้นจึงเป็นการสิ้นสุดระบบการสืบตระกูลฝั่งบิดาของมาลีเอโตอาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่คือสิ่งที่ลำดับวงศ์ตระกูลบันทึก แต่ความจริงก็คือมาลีเอโตอา ซาเวอามีการแต่งงาน 3 ครั้งซึ่งหนึ่งในเชื้อสายของมาลีเอโตอาสายปัจจุบัน ทำให้เชื้อสายของมาลีเอโตอา ซาเวอาไม่ขาดสาย โดยบันทึกว่ามาลีเอโตอา อูอิตูอาลางีสมรสกับกาโตโลอาอีอาโอโอเลลางี มีพระโอรส 2 องค์ได้แก่ มาลีเอโตอา ลาอาอูลี, มาลีเอโตอา ฟูอาโอเลโตเอลาอู และพระธิดาซาโอตีอาเลอู
  12. มาลีเอโตอา ฟูอาโอเลโตเอลาอู - พระโอรสในอูอิตูอาลางิ ทรงชิงราชสมบัติจากพระเชษฐาลาาอาอูอิโดยตั้งตนเป็นปรปักษ์ที่ซิอูมู อูโปลู พระนางโตฮูอิอา ลิมาโป บรรพบุรุษฝ่ายสตรีของราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลูแห่งตองกา ก็สืบเชื้อสายจากฟูอาโอเลโตเอลาอู[4]
  13. มาลีเอโตอา ฟาเลฟาตู - พระโอรสในมาลีเอโตอา ลาอาอูลีกับพระชายาที่ 3 นูอูอิเลมาตูลิแห่งมาอางิอากี
  14. มาลีเอโตอา เตาลาปาปา - สืบเชื้อสายจากมาลีเอโตอา ลาอาตูอิ เตาลาปาปามีชื่อเสียงจากมาวาเอกาของพระองค์หรือออกคำสั่งพระโอรสธิดาของพระองค์ (เตาฟิอา อา เล มาลีเอโตอา)
  15. มาลีเอโตอา ไทอาโอโป - พระธิดาในมาลีเอโตอา เตาลาปาปาจาก 1 ใน 4 พระชายา (usuga) เป็นมาลีเอโตอาสตรีพระองค์เดียวที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ พระสวามี มีสถานะเป็นหัวหน้าชาวตองกาในนามอานาวาอาโอซึ่งถือตำแหน่ง ฟาเล ฟิซีแห่งตูอิ ลาเคปา[5] ตำนานกล่าวถึงรัชกาลนี้มีความเมตตากรุณาและความสงบสุข พระอนุชาเซอูลี อาจจะเป็นมาลีเอโตอา 1 ครั้ง, แม้ว่าคำอธิบายอื่นยืนยันว่ามาลีเอโตอา เซอูลีสืบเชื้อสายจากมาลีเอโตอ่ซากากาอีมูลีซึ่งอ้างสิทธิ์ในช่วงนี้ มาลีเอโตอา เลอาฟูอิเตวากาถูกกล่าวถึงในลำดับวงศ์ตระกูลด้วยเช่นกัน
  16. มาลีเอโตอา ตูอิลาเอปา - เห็นได้ชัดว่ามีพระยศภาษาตองกาที่ได้มาจากฟิจิคือตูอิ ลาเกปา (ตูอิลาเอปา) ที่พระบิดาถืออยู่ เช่นเดียวกับมาลีเอโตอา
  17. มาลีเอโตอา โตโตอา ตูอิลาเอปา - เป็นไปได้ว่าเป็นองค์เดียวกับตูอิลาเอปา
  18. มาลีเอโตอา อาเอโอไอนูอู - พระโอรสในตูอิลาเอปาหรือโตโตอา ตูอิลาเอปา
  19. มาลีเอโตอา เลาลาอัวโฟลาซา
  20. มาลีเอโตอา มูอากูตูติอา - เป็นที่รู้จักในนามมาลีเอ โตอาทีอา ย้ายราชธานีจากมาลีเอ อูโปลู ไปยังซาปาปาลีอิ ซาไวอี
  21. มาลีเอโตอา ฟิติเซมานูที่ 1
  22. มาลีเอโตอา ไวอีนูโป
  23. มาลีเอโตอา นาตูอิตาซินา - พระอนุชาต่างมารดาในมาลีเอโตอา ไวอินูโป (มีพระบิดาร่วมกันคือมาลีเอโตอา ฟิติเซมานูที่ 1)
  24. มาลีเอโตอา โมลี
  25. มาลีเอโตอา ตาลาวู โทนูไมเปอา
  26. มาลีเอโตอา ลาอูเปปา
  27. มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1
  28. มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 (1913–2007), ดำรงตำแหน่ง 1939 ถึง 2007 เขาได้รับการสถาปนา 1939. เมื่อซามัวได้รับเอกราชใน 1962 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นโอ เล อาโอ โอเล มาโล (ประมุขแห่งรัฐ) ร่วมกับ ตูปูอา ตามาเซเซ เมอาโอเล
  29. มาลีเอโตอา ฟาอามาอูซิลลี โมลี - ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2018


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Tautua-Fanene, Deidre (2018-08-17). "Malietoa title bestowed at Malie". Samoa Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
  2. "Samoa court dismisses Malietoa contempt charges". RNZ (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
  3. Flood & Strong. Pacific Island Legends
  4. Gifford, Edward. 1929. Tongan Society. Bishop Museum Press. pp. 87, 100, 102
  5. Gunson, Niel (1987). "Sacred Women Chiefs and Female 'Headmen' in Polynesian History". Journal of Pacific History. 22 (3): 139–72. doi:10.1080/00223348708572563.

บรรณานุกรม แก้

Kirch, Patrick (1989). The Evolution of the Polynesian Chiefdoms. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-27316-9.

Kramer, Augustin (1995). The Samoa Islands, Volumes I & II. University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-1634-6.

Bevans, Charles (1968). Treaties and Other International Agreements of the United States of America. Dept. of State.

Gilson, Richard (1970). Samoa 1830-1900: The Politics of a Multi-Cultural Community. Oxford University Press.

Goldman, Irving (1985). Ancient Polynesian Society. University of Chicago Press.

Meleisea, Malama (1987). Lagaga: A Short History of Western Samoa. University of the South Pacific.

Moyle, R. (ed) (1984). The Samoan Journals of John Williams 1830-1832. Australian National University Press. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

Henry, Brother F. (1979). History of Samoa. Commercial Printers Ltd.

Fitisemanu and Wright (1970). Sacred Hens and Other Legends of Samoa.

Field, Michael (1984). Mau: Samoa's Struggle Against New Zealand Oppression. A.H & A.W. Reed.

Stair, John B. (1897). Old Samoa or Flotsam and Jetsam from the Pacific Ocean. Oxford University Press.

Stuebel and Brother Herman (1995). Tala o le Vavau: The Myths, Legends and Customs of Old Samoa. University of Hawai'i Press.

Tu'u'u, Misilugi (2001). Rulers of Samoa Islands and their Legends and Decrees. Tuga'ula Publications.

Tu'u'u, Misilugi (2002). Supremacy and Legacy of the Malietoa (Samoa Listened To). Tuga'ula Publications.

Hart, Wright & Patterson (1971). History of Samoa. Pesega LDS Press.

Mageo, Jeanette (2002). "Myth, Cultural Identity and Ethnopolitics: Samoa and the Tongan "Empire"". Journal of Anthropological Research. 58 (4): 493–520.

Schoeffel, Penelope (1987). "Rank, Gender and Politics in Ancient Samoa: The Genealogy of Salamāsina O le Tafaifā". Journal of Pacific History. 22 (4): 174–193. doi:10.1080/00223348708572566.

Stuebel, C. (1899). "War of Tonga and Samoa and Origin of the Name Malietoa". Journal of the Polynesian Society. VIII: 231–234.

Tamasese, Tuiatua Tupua (1994). "The Riddle in Samoan History: The Relevance of Language, Names, Honorifics, Genealogy, Ritual and Chant to Historical Analysis". Journal of Pacific History. 29 (1): 66–79. doi:10.1080/00223349408572759.

Tuimaleali'ifano, Morgan (1998). "Titular Disputes and National Leadership in Samoa". Journal of Pacific History. 33 (1): 91–103. doi:10.1080/00223349808572860.

Gunson, Neil (1997). "Great Families of Polynesia: Inter-Island Links and Marriage Patterns". Journal of Pacific History. 32 (2): 139–179. doi:10.1080/00223349708572835.

Gunson, Neil (1987). "Sacred Women Chiefs and Female 'Headmen' in Polynesian History". Journal of Pacific History. 22 (3): 139–72. doi:10.1080/00223348708572563.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้