มามัก (mamak) เป็นคำเรียกสถานที่ขายอาหารในร่มและเปิดโล่งที่พบเป็นพิเศษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะมาเลเซีย และ สิงคโปร์ ส่วนมากจำหน่ายอาหารอินเดียมุสลิมรูปแบบพิเศษที่เฉพาะต่อวัฒนธรรมในพื้นที่[1]

มามักแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์

โดยทั่วไปมามักมักจำหน่ายโรตีจาไน และเครื่องดื่มพวกเตห์ตารีก, กาแฟ (โกปี๊), ไมโล, ฮอร์ลิกส์ และน้ำหวานอื่น ๆ ร้านมามักส่วนใหญ่จำหน่ายอาหารพวกข้าว เช่น นาซีเลอมักกับนาซีโกเร็ง และบะหมี่ เช่น หมี่โกเร็ง บางร้านอาจจำหน่ายสะเต๊ะและอาหารตะวันตกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีร้านมามักกลุ่ม "มามักต้มยำ" (Mamak Tom Yam) ที่จำหน่ายอาหารที่มีอิทธิพลจากมาเลเซียตะวันออกเฉียงเหนือและไทยภาคใต้ เช่น ต้มยำ, นาซีปาปรีกหรือนาซีผัดพริก และ นาซีปาตายาหรือนาซีพัทยา

ที่มา แก้

มามักมี่ที่มาจากชาวทมิฬมุสลิมที่ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจากอินเดียใต้มายังคาบสมุทรมาเลย์ และพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มามักถือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาวอินเดียมาเลย์/ชาวอินเดียสิงคโปร์ หรือที่เรีกยว่า "ชาวอินเดียช่องแคบ" (Straits Indian) หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในหุบเขาบูจังในรัฐเกดะฮ์ ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่ามีการค้าขายระหว่างคาบสมุทรกับอินเดียย้อนกลับไปถึง 500 ถึง 100 ปีก่อนคริสตกาล[2][3] จารึกอายุราว ค.ศ. 779 จากอาณาจักรนครศรีธรรมราชที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราชในภาคใต้ของไทยมีการกล่าวถึงการค้าขายระหว่างทมิฬกัมกับภูมิภาคนี้[4]

คำว่า 'Mamak' มาจากภาษาทมิฬ ไว้เรียกลุงฝั่งแม่ ('maa-ma') ในสิงคโปร์และมาเลเซีย ผู้น้อยจะใช้คำนี้ในฐานะคำให้เกียรติเพื่อเรียกผู้ใหญ่ เช่น เจ้าของร้านค้า ด้วยความเคารพ ถึงแม้ที่มาของคำนี้จะมีความหมายที่เป็นกลาง แต่บางครั้งอาจถูกใช้เป็นคำเหยียดมุสลิมอินเดียในมาเลเซียและสิงคโปร์ ฉะนั้น การใช้คำนี้โดยทั่วไปจึงไม่ปรากฏนอกเหนือจากการเรียกร้านมามักมากนัก[5]

ดูเพิ่ม แก้

  • โกปี๊เตี่ยม – ร้านคล้ายกันกับมามัก แต่เป็นอาหารจีน
  • ดับบา – ในภูมิภาคปัญจาบของอินเดียและปากีสถาน
  • วารุง – ในอินโดนีเซีย

อ้างอิง แก้

  1. Sriramrajan, Visvajit. "How a hunger for home, and rubber, fueled rise of Singapore's 'Mamak' stalls | Coconuts". coconuts.co. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
  2. THE ANCIENT IRON SMELTING IN SG. BATU, BUJANG VALLEY, KEDAH
  3. "EurASEAA Dublin 2012, 14th International Conference". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
  4. Arokiaswamy, Celine W.M. (2000). Tamil Influences in Malaysia, Indonesia, and the Philippines. Manila s.n. pp. 37, 38, 41, 43, 45–49, 51–57.
  5. "The Merchants of Penang | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.