มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น เป็นบทในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นที่ห้ามพฤติการณ์แห่งสงครามโดยรัฐ รัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อความนี้ รัฐสละสิทธิอธิปไตยในสงครามและห้ามการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศผ่านการใช้กำลัง มาตรานี้ยังแถลงว่า เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้ จะไม่มีการธำรงกองทัพที่มีศักย์สงคราม แม้ญี่ปุ่นยังธำรงกองทัพโดยพฤตินัย คือ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

ข้อความในมาตรา แก้

  1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ
  2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

การตีความใหม่ใน พ.ศ. 2557 แก้

ในเดือนกรกฎาคม 2557 รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติการตีความใหม่ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงคราม แม้มีความกังวลและความไม่เห็นด้วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอนุญาตให้ใช้กำลังทหารเพื่อโจมตีประเทศอื่นและเข้าสู่สงคราม การใช้กำลังทหารเพื่อการนี้ถูกพิจารณาว่ามิชอบด้วยกฎหมายและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของญี่ปุ่น เนื่องจากนายกรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนด และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลวิวัติต่อความหมายของหลักการมูลฐานในรัฐธรรมนูญโดยคำสั่งของคณะรัฐมนตรี โดยปราศจากการอภิปรายหรือลงมติของสภาไดเอต (สภาผู้แทนราษฎร) และไม่ได้รับความเห็นชอบจากสาธารณะ