มาตรการบังคับทางอาญา

มาตรการบังคับทางอาญา (อังกฤษ: criminal sanction) เป็นมาตรการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้แก่ผู้กระทำความผิดอาญา ประกอบด้วย

ประวัติ แก้

มาตรการบังคับทางอาญาเป็นวิธีการหนึ่งที่สังคมใช้ตอบโต้ผู้ล่วงละเมิดกฎระเบียบของสังคม และเป็นสิ่งจำเป็นมาแต่โบร่ำโบราณนับจากการกำเนิดสังคมทีเดียว ที่มีการเรียนรู้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในสังคมผ่านการตกรางวัลและการลงโทษ[1]

เดิมมาตรการบังคับทางอาญาในสังคมคงกระทำในระดับครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน เป็นแรกเริ่มตามลำดับ เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษผู้น้อย เพื่อนบ้านรวมตัวกันอัปเปหิ เป็นต้น กระทั่งสังคมขยายตัวและมีความซับซ้อนขึ้น การใช้มาตรการบังคับทางอาญาจึงไม่อาจกระทำได้ด้วยปัจเจกบุคคลเพื่อการแก้แค้นเช่นสมัยเดิม และเพื่อความเป็นทำแก่ผู้ถูกกล่าวหา เกิดเป็นระบบที่ผู้ปกครองหรือรัฐจะยื่นมือเข้ามาดำเนินการนี้โดยเหมาะสมกับความผิดที่เกิดขึ้น[2]

มาตรการบังคับทางอาญาจึงได้ชื่อว่าเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคมที่มีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ แก้

มาตรการบังคับทางอาญา มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใหญ่สองประการ คือเพื่อ[3]

1. การป้องกันโดยทั่วไป (อังกฤษ: general prevention) คือ การใช้มาตรการเพื่อข่มขู่มิให้เกิดมีการกระทำความผิดในทำนองเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ตลอดจนเพื่อเป็นแบบอย่างในการบังคับจิตใจของส่วนรวมมิให้คิดจะกระทำความผิดอย่างนั้นอีก

2. การป้องกันเป็นพิเศษ (อังกฤษ: special prevention) คือ การใช้มาตรการเพื่อข่มขู่มิให้ผู้กระทำความผิดรายเดิมกระทำเช่นนั้นซ้ำอีก เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นโดยเฉพาะ

โทษทางอาญา แก้

โทษทางอาญา เป็นมาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาไทย ได้แก่ การประหารชีวิต การจำคุก การกักขัง การปรับ และการริบทรัพย์สิน[4]

วิธีการเพื่อความปลอดภัย แก้

มาตรการบังคับทางอาญาอื่น ๆ แก้

มาตรการบังคับทางอาญาอื่น ๆ เป็นมาตรการที่กำหนดไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น การยึดและทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท การให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เป็นต้น

อนึ่ง ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2500 ศาสตราจารย์ประเทือง กีรบุตร อธิบดีกรมอัยการ ได้จัดตั้งโครงการ "การคุมประพฤติชั้นพนักงานอัยการ" ขึ้น โดยเสนอว่า แม้พนักงานอัยการจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาได้เลยแม้ผู้ต้องหาได้กระทำความผิดและคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอจะฟ้องได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ควรมีมาตรการเสริมก่อนการสั่งไม่ฟ้องเช่นว่านั้นด้วย เช่น ในกรณีที่พนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น ควรชะลอการสั่งไม่ฟ้องไปก่อน และจัดให้มีการคุมประพฤติผู้ต้องหา หากว่าการคุมประพฤติได้ผลดีจึงค่อยสั่งไม่ฟ้อง เป็นต้น ทำให้โครงการนี้ได้รับการขนานนามว่า "โครงการชะลอการฟ้อง"[5] อย่างไรก็ดี โครงการคุมประพฤติชั้นพนักงานอัยการไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เพราะได้รับการคัดค้านและต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายตุลาการ[6]

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, 2551 : 207.
  2. Gerald Gardiner, 1958 : 177, 119.
  3. คณิต ณ นคร, 2551 : 377-378.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน, 2550 : ออนไลน์.
  5. คณิต ณ นคร, 2551 : 378.
  6. คณิต ณ นคร, 2550 : 117-127.

ภาษาไทย แก้

ภาษาต่างประเทศ แก้

  • Gerald Gardiner. (1958). The purpose of criminal punishment. 21 Mod. L. Rev.