สำหรับมัสยิดในประเทศอัฟกานิสถาน ดูที่มัสยิดอิดกะฮ์ (ประเทศอัฟกานิสถาน)

มัสยิดอิดกะฮ์ (อุยกูร์: ھېيتگاھ مەسچىتى, Хейтгах Месчити Hëytgah Meschiti, จีน: 艾提尕尔清真寺; พินอิน: Àitígǎěr Qīngzhēnsì) (จากเปอร์เซีย: عیدگاه Eidgāh, หมายถึง สถานที่แห่งเทศกาล) เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ในคาสการ์, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์, ประเทศจีน โดยสามารถจุได้ถึง 10,000 คน และทุกวันศุกร์ จะมีคนมาละหมาดถึง 20,000 คน[1]

มัสยิดอิดกะฮ์
艾提尕尔清真寺
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
จังหวัดเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
สถานะองค์กรมัสยิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้งคาสการ์, ซินเจียง, ประเทศจีน
มัสยิดอิดกะฮ์ตั้งอยู่ในประเทศจีน
มัสยิดอิดกะฮ์
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์39°28′20″N 75°59′03″E / 39.47227°N 75.984106°E / 39.47227; 75.984106
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกซักซิส มิรซา
ประเภทมัสยิด
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ.1442
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ20,000 คน
หอคอย3

ประวัติ แก้

มัสยิดนี้สร้างโดยซักซิส มิรซาในปีค.ศ.1442 (ถึงแม้ว่าจะมีตัวตึกเก่าในที่ย้อนกลับไปถึงปีค.ศ.996) โดยมีขนาดพื้นที่ใหญ่ประมาณ 16,800 ตารางเมตร

ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1933 มีชาวมุสลิมเชื้อสายจีนชื่อม่า ซันจัง ถูกฆ่าและมีการตัดหัวติมูร เบก ผู้นำชาวอุยกูร์ แล้วนำหัวไปเสียบกับปลายแหลมที่มัสยิดอิดกะฮ์[2][3][4][5] และในเดือนมีนาคม ค.ศ.1934 อับดุลลอฮ์ บุครอ ผู้นำชาวอุยกูร์ ถูกประหารแล้วนำหัวไปเสียบกับปลายแหลมที่มัสยิดอิดกะฮ์อีกเช่นกัน[6][7]

ส่วนเดือนเมษายนของปีเดียวกัน 1934 ม่า ซ่องยิงได้กล่าวปราศัยที่ มัสยิดอิดกะฮ์ โดยกล่าวให้ชาวอุยกูร์จงรักภักดีต่อรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนที่นานกิง.[8][9][10]

ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ.2014 จูเมะ ตาฮีร อิหม่ามประจำมัสยิดถูกแทงจนตายหลังเวลาละหมาดตอนเช้า[11][12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Peter Neville-Hadley. Frommer's China. Frommer's, 2003. ISBN 978-0-7645-6755-1. Page 302.
  2. S. Frederick Starr (2004). Xinjiang: China's Muslim borderland. M.E. Sharpe. p. 77. ISBN 0-7656-1318-2. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  3. James A. Millward (2007). Eurasian crossroads: a history of Xinjiang. Columbia University Press. p. 198. ISBN 0-231-13924-1. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  4. Andrew D. W. Forbes (1986). Warlords and Muslims in Chinese Central Asia: a political history of Republican Sinkiang 1911–1949. Cambridge, England: CUP Archive. p. 93. ISBN 0-521-25514-7. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  5. The British newspaper The Times reported that a turki chief was beheaded on August 25, 1933
  6. Christian Tyler (2004). Wild West China: the taming of Xinjiang. New Brunswick, New Jersey: Rutgers University Press. p. 116. ISBN 0-8135-3533-6. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  7. Andrew D. W. Forbes (1986). Warlords and Muslims in Chinese Central Asia: a political history of Republican Sinkiang 1911–1949. Cambridge, England: CUP Archive. p. 123. ISBN 0-521-25514-7. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  8. S. Frederick Starr (2004). Xinjiang: China's Muslim borderland. M.E. Sharpe. p. 79. ISBN 0-7656-1318-2. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  9. James A. Millward (2007). Eurasian crossroads: a history of Xinjiang. Columbia University Press. p. 200. ISBN 0-231-13924-1. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  10. Andrew D. W. Forbes (1986). Warlords and Muslims in Chinese Central Asia: a political history of Republican Sinkiang 1911–1949. Cambridge, England: CUP Archive. p. 124. ISBN 0-521-25514-7. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  11. "Xinjiang imam killed after clashes". 31 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  12. James T. Areddy (31 July 2014). "State-Appointed Muslim Leader Killed in China". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้