มันเทศ

สปีชีส์ของพืช
มันเทศ
รากสะสมอาหารของมันเทศ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Ipomoea
สปีชีส์: I.  batatas
ชื่อทวินาม
Ipomoea batatas
(L.) Lam.
ต้นมันเทศในไร่
หัวมันเทศสีม่วงที่พบในเอเชีย

มันเทศ (อังกฤษ: sweet potato) เป็นพืชหัวเกรียนใต้ดินเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน ปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดย ต้ม หรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็ก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

มันเทศ เป็นพืชอายุยืน ไม่มีเนื้อไม้ รากแตกตามข้อและมีรากที่ขยายใหญ่เพื่อสะสมอาหาร มีรูปร่าง ขนาด จำนวนและสีของหัวต่างกัน ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดง และสีม่วง ใบเดี่ยว ไม่มีหูใบ มีต่อมน้ำหวานสองต่อมตรงขั้วใบ ก้านใบด้านบนเป็นร่องลึก กลีบดอกรูปกรวยสีขาวหรือสีม่วงแดง กลีบดอกในส่วนที่เป็นหลอดมีสีม่วง รังไข่ล้อมรอบด้วยต่อมน้ำหวานสีส้มเป็นพู ยอดเกสรตัวเมียมี 2 พู สีขาวหรือสีม่วงอ่อน ผลเป็นแบบแคบซูล มันเทศที่หัวมีสีม่วงบางครั้งเรียกมันต่อเผือกด้วย

การใช้ประโยชน์ แก้

มันเทศมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางหรืออเมริกาใต้ เส้นทางการกระจายพันธุ์ของมันเทศมี 3 ทิศทางคือ เส้นทางกูมาราออกจากทางเหนือของอเมริกาเหนือไปยังแถบตะวันตกของพอลินีเซีย เส้นทางบาตาตาสเข้าสู่แอฟริกาและเอเชียผ่านทางยุโรป และเส้นทางกาโมเต จากเม็กซิโกเข้าสู่ฮาวาย กวมแล้วผ่านไปยังฟิลิปปินส์ มันเทศเป็นพืชที่ใช้หัวบริโภค ใช้เป็นอาหารสัตว์น้อย ในทางอุตสาหกรรมใช้ผลิตแป้งและแอลกอฮอล์ ในเขตร้อนของเอเชียนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ส่วนในเกาะนิวกินีและแถบโอเชียเนียบางประเทศรับประทานเป็นอาหารหลัก ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้ องค์ประกอบในหัวมันเทศส่วนใหญ่เป็นแป้ง หัวที่มีเนื้อสีส้มมีเบตาแคโรทีน หัวสดมีวิตามินซีมาก[1]

คุณค่าทางอาหาร แก้

มันเทศดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน359 กิโลจูล (86 กิโลแคลอรี)
20.1 g
แป้ง12.7 g
น้ำตาล4.2 g
ใยอาหาร3 g
0.1 g
1.6 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(89%)
709 μg
(79%)
8509 μg
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.078 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.061 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.557 มก.
(16%)
0.8 มก.
วิตามินบี6
(16%)
0.209 มก.
โฟเลต (บี9)
(3%)
11 μg
วิตามินซี
(3%)
2.4 มก.
วิตามินอี
(2%)
0.26 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(3%)
30 มก.
เหล็ก
(5%)
0.61 มก.
แมกนีเซียม
(7%)
25 มก.
แมงกานีส
(12%)
0.258 มก.
ฟอสฟอรัส
(7%)
47 มก.
โพแทสเซียม
(7%)
337 มก.
โซเดียม
(4%)
55 มก.
สังกะสี
(3%)
0.3 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central
มันเทศอบไม่ใส่เกลือ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน378 กิโลจูล (90 กิโลแคลอรี)
20.7 g
แป้ง7.05 g
น้ำตาล6.5 g
ใยอาหาร3.3 g
0.15 g
2.0 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(120%)
961 μg
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.11 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(9%)
0.11 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(10%)
1.5 มก.
วิตามินบี6
(22%)
0.29 มก.
โฟเลต (บี9)
(2%)
6 μg
วิตามินซี
(24%)
19.6 มก.
วิตามินอี
(5%)
0.71 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
38 มก.
เหล็ก
(5%)
0.69 มก.
แมกนีเซียม
(8%)
27 มก.
แมงกานีส
(24%)
0.5 มก.
ฟอสฟอรัส
(8%)
54 มก.
โพแทสเซียม
(10%)
475 มก.
โซเดียม
(2%)
36 มก.
สังกะสี
(3%)
0.32 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central
ใบมันเทศดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน175 กิโลจูล (42 กิโลแคลอรี)
8.82 g
ใยอาหาร5.3 g
0.51 g
2.49 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(24%)
189 μg
(21%)
2217 μg
14720 μg
ไทอามีน (บี1)
(14%)
0.156 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(29%)
0.345 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(8%)
1.13 มก.
(5%)
0.225 มก.
วิตามินบี6
(15%)
0.19 มก.
วิตามินซี
(13%)
11 มก.
วิตามินเค
(288%)
302.2 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(8%)
78 มก.
เหล็ก
(7%)
0.97 มก.
แมกนีเซียม
(20%)
70 มก.
ฟอสฟอรัส
(12%)
81 มก.
โพแทสเซียม
(11%)
508 มก.

Direct link to database entry [1]
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

สายพันธุ์ แก้

  1. พันธุ์พิจิตร 1 พจ. 113-7, พจ. 115-1, พจ. 166-5
  2. พันธุ์แม่โจ้
  3. พันธุ์ห้วยสีทน
  4. พันธุ์โอกุด (เกษตร)[2]

อ้างอิง แก้

  1. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 138 - 140
  2. "มันเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ 2011-12-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้