มันจู (ญี่ปุ่น: 饅頭, まんじゅうโรมาจิmanjū) เป็นขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มันจูมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่ผิวนอกทำจากแป้งประกอบอาหาร, ผงข้าว, คูซุ และบักวีต แล้วใส่ไส้อังโกะ (ถั่วแดงกวน) มักทำจากถั่วอาซูกิต้มกับน้ำตาล บางครั้งมันจูทำโดยใส่ไส้อื่นเช่นไส้เกาลัดกวน

มันจู
ประเภทวางาชิ
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักแป้งประกอบอาหาร, ผงข้าว, บักวีต, ถั่วแดงกวน

ประวัติ แก้

มันจูเป็นขนมทำจากแป้ง (แทนที่การทำจากข้าวแบบโมจิ) แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนในคำเรียกภาษาจีนว่า หมั่นโถว (หมานโถว) แต่เมื่อเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นจึงรู้จักในคำเรียกว่า มันจู ในปี ค.ศ. 1341 ทูตชาวญี่ปุ่นผู้กลับมาจากจีนได้นำหมั่นโถวกลับมาด้วยและเริ่มนำมาขายในคำเรียกว่า นาระ-มันจู กล่าวกันว่านี่เป็นต้นกำเนิดของมันจูญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา คนญี่ปุ่นก็นิยมรับประทานมันจูมาเป็นเวลาเกือบ 700 ปี ปัจจุบันสามารถหาได้ตามร้านขนมหวานของญี่ปุ่นหลายแห่ง มันจูมีราคาถูกจึงเป็นเหตุผลที่ได้รับความนิยม

รูปแบบต่าง ๆ แก้

 
มิซุ มันจู (水饅頭, Mizu manjū)
 
อูซูกาวะ มันจู (薄皮饅頭, Usukawa manjū)

ในบรรดามันจู ที่มีอยู่มากมาย มีบางรูปแบบที่พบได้บ่อยกว่าแบบอื่น ๆ

  • มัตจะ (ชาเขียว) มันจู เป็นหนึ่งในรูปแบบที่พบได้บ่อย ผิวนอกของมันจูมีรสชาเขียวและมีสีเขียว
  • มิซุ (น้ำ) มันจู มักรับประทานตามธรรมเนียมในหน้าร้อนและมีไส้ถั่วปรุงรส ผิวนอกของมิซุ มันจูทำจากคูซูโกะ (ผงคูซุ) ซึ่งทำให้มันจูมีลักษณะโปร่งแสงเหมือนเยลลี[1]
  • มันจูยังมีการไส้ใส้ที่หลากหลาย เช่น ครีมรสส้ม
  • เช่นเดียวกับอาหารญี่ปุ่นหลายอย่าง ในบางส่วนของญี่ปุ่น สามารถพบมันจูที่เอกลักษณ์เฉพาะในภูมิภาคนั้น ๆ ได้ เช่น โมมิจิ มันจูรูปร่างใบเมเปิลในฮิโรชิมะและมิยาจิมะ
  • มันจูรูปแบบของจังหวัดไซตามะเรียกว่า จูมังโงกุ มันจู

ดูเพิ่ม แก้

  • ไดฟูกุ
  • หมั่นโถว (饅頭 หมานโถว) ต้นกำเนิดของคำว่ามันจู แม้ว่าในภาษาจีนปัจจุบัน คำที่ใช้เรียกขนมแป้งหนึ่งใส่ไส้คือ เปาจึ

อ้างอิง แก้

  1. Schilling, Christine (2007). "Translator's Notes." in Kirishima, Takeru (2002). Kanna Volume 2. California: Go! Comi (Go! Media Entertainment, LLC). ISBN 978-1-933617-56-5

แหล่งข้อมูลอื่น แก้