มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายในชื่อดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเรื่องหนึ่ง แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) มีการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกเกือบร้อยปีข้างหน้าต่อจากภาคเอี๊ยก้วย

มังกรหยก  
ชื่อเรื่องต้นฉบับ射鵰英雄傳
(shè diāo yīng xióng chuán)
ผู้แปลจำลอง พิศนาคะ,
น.นพรัตน์, ฉบับอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด
ประเทศจีน
ภาษาจีน
ประเภทนิยายกำลังภายใน
ชนิดสื่อนิยาย

เนื้อเรื่องย่อ แก้

เรื่องราวเกิดในยุคราชวงศ์ซ้องใต้ รัชสมัยพระเจ้าซ้องหลีจง (พ.ศ. 1767-1807) แผ่นดินจีนเสื่อมโทรมในทุกด้าน อาณาประชาราษฎร์ยากแค้นลำเค็ญ ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวจีนด้วยกัน เกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อ "เจ๋ง" ที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของ มองโกล และเดินทางกลับสู่ยุทธจักรในประเทศจีน ได้พบกับอึ้งย้ง ยังได้ฝึกวิชาต่าง ๆ มากมาย ขับไล่พวกมองโกลจากแผ่นดินจีน

ก๊วยเซาเทียน และ เอี้ยทิซิม พี่น้องร่วมสาบาน ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นกบฏ พวกเขาต่อต้านการจับกุม เข้าสู้พวกทหารที่กลุ้มรุม กระทั่งก๊วยเซาเทียนเสียชีวิต บ้านเรือนถูกเผาผลาญย่อยยับ เอี้ยทิซิม หลีเพ้ง ภรรยาก๊วยเซ่าเทียน และ เปาเซียะเยียก ภรรยาเอี้ยทิซิม หนีกระเซอะกระเซิงไปคนละทิศละทาง ผู้หญิงทั้งสองกำลังตั้งครรภ์ หลีเพ้งให้กำเนิด ก๊วยเจ๋ง ระเหเร่ร่อนไปเติบใหญ่ในแผ่นดินมองโกลใต้ร่มใบบุญเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่เปาเซียะเยียกให้กำเนิด เอี้ยคัง ได้ดีมีสุขในวังไต้กิมก๊กของชาวนีเจิน

ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วน

ก๊วยเจ๋งและเอี้ยคังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมและการบ่มเพาะที่ต่างกัน จึงมีพฤตินิสัยไปคนละแบบ ก๊วยเจ๋งได้รับการสั่งสอนย้ำเตือนจาก หลีเพ้ง ผู้เป็นมารดา และ เจ็ดประหลาดกังหนำ ผู้เป็นอาจารย์ ให้แก้แค้นแทนบิดา และยึดมั่นในจิตวิญญาณจีน จึงยินยอมสะบั้นไมตรีกับพวกมองโกล ก็ไม่ยินยอมทำร้ายแผ่นดินตงง้วน อันเป็นมาตุภูมิ ขณะที่ เอี้ยคัง หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยินยอมรับศัตรูเป็นบิดา กระทั่งยังกล้าย่ำยีบีฑาชาวชนเชื่อชาติเดียวกัน

มังกรหยกถูกนักวิชาการด้านจีนศึกษาจำนวนมากวิเคราะห์ว่าแฝงด้วยเนื้อหาชาตินิยมและเชื้อชาตินิยมของพวกฮั่น

ตัวละครในเรื่อง แก้

  • ก๊วยเจ๋ง จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน (เป็นคนเรียนรู้ได้ช้า มีความคิดอ่านไม่ปราดเปรื่อง แต่เป็นคนสัตย์ซื่อและมีความขยัน จึงได้รับการเอ็นดูจากจอมยุทธมากมายจึงถ่ายทอดวิชาให้ มีสัญลักษณ์สลักคำว่าเอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย)
  • ก๊วยเซาเทียน ผู้เป็นบิดาจอมยุทธก๊วยเจ๋ง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเอี๊ยทิซิม (ผู้เป็นบิดาของเอี๊ยคัง)
  • หลีเพ้ง มารดาของก๊วยเจ๋ง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม ได้หนีไปชายแดนและได้ทัพมองโกลอุปการะเลี้ยงดูไว้ทั้งแม่และลูก
  • อึ้งย้ง หรือยงยี้ ได้รับฉายาว่าขงเบ้งหญิง (เนื่องจากมีปัญญายอดเยี่ยม) และยังได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดสตรีศรีต้งง้วนอีกด้วย ธิดาของมารบูรพา (อึ้งเอี๊ยะซือ) ภรรยาของ (ก๊วยเจ๋ง)
  • ก๊วยพู้ บุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง มีนิสัยชอบเอาแต่ใจไม่ชอบเอี้ยก้วย ภายหลังได้รับการช่วยชีวิตจาก เอี๊ยก้วย
  • ก๊วยเซียง บุตรสาวคนเล็กของก๊วยเจ๋ง น้องสาวฝาแฝดของก๊วยพั่วลู่ มีนิสัยดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซุกซนขี้เล่น แอบชอบเอี๊ยก้วย (ผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ้ ในมังกรหยก ภาค3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร)
  • ก๊วยพั่วลู่ หรือ ก๊วยพั่วโล้ น้องชายของก๊วยพู้ และเป็นน้องฝาแฝดของก๊วยเซียง
  • เอี้ยก้วย บุตรชายของเอี๊ยคัง (หลังจากบิดาและมารดาเสียชีวิต มารดาได้ฝากไว้ให้กับก๊วยเจ๋งเลี้ยงดูแต่ได้มีเรื่องกับศิษย์ของ ก๊วยเจ๋งและบุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง (ก๊วยพู้) อยู่บ่อยๆ อึ้งยง ได้ให้ ก๊วยเจ๋ง นำไปฝากไว้กับนักพรตช้วนจินก่าเลี้ยงดูและสั่งสอน อึ้งยง เห็นว่ามีนิสัยคล้าย ๆ เอี๊ยคังผู้เป็นบิดาจึงกลัวว่าเติบโตมาแล้วจะเป็นคนไม่ดีและยังไม่อยากให้ก๊วยเจ๋งต้องมากังวลกับปัญหาอื่นๆในช่วงบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย)
  • เซียวเหล่งนึ่ง ศิษย์สำนักสุสานโบราณ ผู้ที่เลี้ยงดูและช่วยเอี๊ยก้วยหลังจากที่เอี๊ยก้วยโดนใส่ร้ายและขับออกจากช้วนจินก่าและยังถูกทำร้ายโดยพิษอีกด้วย เปรียบเหมือนพี่สาวและยังเป็นคนรักเอี๊ยก้วยอีกด้วย มีอายุมากกว่าเอี๊ยก้วย 4 ปี แต่หน้าตากลับดูเยาว์วัยเหมือนยังสาว
  • เอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาเอี้ยก้วย นิสัยไม่ดี ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างตามใจ (พกมีดสั้นที่มีสัญลักษณ์สลักคำว่าก๊วยเจ๋ง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย)
  • เปาเซียะเยียก มารดาของเอี๊ยคัง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม อ๋องชาวนีเจินชอบพอจึงให้การอุปการะเลี้ยงดูไว้และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮูหยินแต่นางรักเดียว ใจเดียว เท่านั้น
  • เอี๊ยทิซิม ผู้เป็นบิดาเอี้ยคัง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับก๊วยเซาเทียน (ผู้เป็นบิดาของก๊วยเจ๋ง)
  • เค็กซา หรือ ซ่ากู หรือ โถว โถว บุตรสาวของ เค็กเล้งฮวง ศิษย์อึ้งเอี๊ยะซือ นางมีสติไม่สมประกอบ พอมีวรยุทธอยู่บ้างจากบิดาสอน ต่อมาได้มาอาศัยที่เกาะดอกท้อเนื่องจาก ก๊วยเจ๋งและอึ้งยงไปตามหาตัวเค็กเล้งฮวงแต่ไม่เจอ เจอเพียงจดหมาย และ เค็กซา จึงได้พามาที่เกาะดอกท้อและได้รับการเลี้ยงดูและสอนวรยุทธนิดหน่อยจาก อึ้งเอี๊ยะซือ เนื่องจาก อึ้งเอี๊ยะซือ สำนึกผิดที่ได้ตัดเอ็นร้อยหวาย เค็กเล้งฮวง เพราะความโกรธ
  • เจงกิสข่าน จ้าวแห่งทัพมองโกล ได้อุปการะเลี้ยงดูแม่ของก๋วยเจ๋ง และ ก๋วยเจ๋ง หลังจากบิดาก๋วยเจ๋ง (ก๊วยเซาเทียน) เสียชีวิตลง
  • เอ็งโกว หรือสนมเล่า (ฉายาเทพคำนวณ) อดีตพระสนมอ๋องต้วน ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) แต่ได้ไปมีสัมพันธ์กับ จิวแป๊ะทง และได้มีลูกด้วยกัน 1 คน แต่ลูกนางได้โดน ฮิ้วโชยยิ่ม ลอบทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงได้ไปขอให้ ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) ใช้ ดัชนีเอกสุริยันต์ ช่วยลูกของนาง แต่กลับไม่ยอมช่วยเนื่องจาก ไม่พอใจและโกรธนางเพราะไปมีสัมพันธ์กับ (จิวแป๊ะทง) จนทำให้ลูกนางตายลง นางจึงเสียใจอย่างมากและหนีไป และเปลี่ยนชื่อ เป็น เอ็งโกว
  • จิวแป๊ะทง หรือเฒ่าทารก เป็นศิษย์น้องของ เฮ้งเตงเอี้ยง มีนิสัยร่าเริง บ้าๆ บอๆ เหมือนเด็กทารก ต่อมาได้ไปมีสัมพันธ์กับ เอ็งโกว และมีลูกด้วยกัน 1 คน ตอนที่ ต้วนตี่เฮง(อิดเต็งไต้ซือ) ให้ติดตามไปด้วยเพื่อตามหา คัมภีร์เก้าอิม ที่เฮ้งเตงเอี้ยง ซ่อนไว้ แต่ด้วยนิสัยของเขาจึงไม่รู้ว่าเขามีลูกกับเอ็งโกว
  • เซียมตัง (ชาวประมง) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
  • บู๊ซำทง (กสิกร) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
  • ฮิ้วโชยตึ๋ง พี่ของฮิ้วโชยยิ่ม มีนิสัยชอบหลอกลวงลักเล็กขโมยน้อย ขู่กรรโชก แต่ไม่มีวรยุทธ์ จึงชอบแอบอ้างชื่อน้องตัวเอง (ฮิ้วโชยยิ่ม) ซึ่งเป็นฝาแฝด

ห้ายอดฝีมือแห่งยุค แก้

  • เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฌิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) ผู้ก่อตั้งสำนักช้วนจินก่า ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือสูงที่สุดในห้ายอดฝีมือ ภายหลังหายสาบสูญ ผู้ครอบครอง คัมภีร์เก้าอิม วรยุทธ์ที่เด่นชัด เพลงกระบี่ช้วนจิน
  • อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ตังเซี้ย- บางฉบับใช้ ภูตบูรพา) เป็นบิดาของอึ้งย้ง และเป็นประมุขเกาะดอกท้อ บิดาของอึ้งย้ง(ยงยี้) หรือ พ่อตาของก๊วยเจ๋ง วรยุทธที่เด่นชัด ฝ่ามือเทพกระบี่สยบผู้กล้า เพลงกระบี่ขลุ่ยหยกมังกรทะยาน ฝ่ามือปัดจุดกล้วยไม้ เพลงเตะพายุรวบใบไม้ และ ยอดวิชานิ้วดีด
  • อั้งฉิกกง (ยาจกอุดร หรือปักข่าย- บางฉบับใช้ ขอทานเหนือ หรือ ยาจกเก้านิ้ว) ประมุขพรรคกระยาจก วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าตีสุนัข(เป็นวรยุทธที่สืบทอดเฉพาะประมุขพรรคกระยาจก) และ 18ฝ่ามือพิชิตมังกร
  • อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือน่ำเต้- บางฉบับใช้อ๋องแดนใต้,ราชันย์ต้วน) เป็นอดีตจักรพรรดิแซ่ต้วนแห่งไต้ลี้ หรือ ต้าหลี่ วรยุทธที่เด่นชัด ดัชนีเอกสุริยันต์
  • อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม หรือไซตั๊ก) จ้าวแห่งการใช้พิษ ผู้อยู่เหนือพิษทั้งปวง วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าอสรพิษ กระบวนท่าลมปราณคางคกพิษ

สำนักช้วนจินก่า แก้

นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกายช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากเฮ้งเต็งเอี้ยง คือ

  • เบ้เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง
  • คูชู่กี ฉายา เชี่ยงชุนจื้อ - ผู้อมตะ มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน
  • เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก มีฝีมือสูงส่งในสำนักป็นรองเพียงคูชู่กี
  • ซุนปุกยี่ ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

เจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ แก้

ประกอบด้วย

  • ค้างคาวเหิน กัวเต็งอัก (Ke Zhen'e) เป็นคนเข้มงวดแต่จริงใจ มีวรยุทธสูงสุดในเจ็ดประหลาดกังหนำ ภายหลังตาบอด วิชาที่ใช้ไม้เท้าวชิระ
  • บัณฑิตมือวิเศษ จูชง (Zhu Cong) มีปัญญาล้ำเลิศในระดับหนึ่ง และมีความสามารถในการฉกขโมยของ
  • เทพอาชา หันปอกือ (Han Baoju) มีความสามารถในการดูม้า และ วิธีการสยบม้าและการใช้ห่วงคล้องม้า
  • อรหันต์ยิ้ม เตียวอาแซ (Zhang Ahsheng) เป็นคนร่าเริ่ง ใจดี มีวรยุทธอยู่ในระดับหนึ่ง
  • นักกระบี่หญิงแคว้นอ้วก หันเสียวย้ง (Han Xiaoying) เป็นจอมยุทธสาวคนเดียวใน 7 ประหลาดกังหนำ เก่งเรื่องการใช้กระบี่ และยังเป็นสาวงามอีกด้วย วิชาที่ใช้เพลงกระบี่แคว้นอ้วก

นิกายเม้งก่า แก้

นิกายเม้งก่า (พรรคจรัสหรือพรรครุ่งเรือง) - โดยมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านปัจจุบัน) บูชาเทพอัคคี

จากการเกิดการแก่งแย่งในนิกายเพื่อค้นหาผู้นำทำให้นิกายเกือบล่มสลาย หลังจากนั้นไม่นาน บ่อกี๋ได้รับมาเป็นประมุข นิกายจึงเจริญขึ้นและยิ่งใหญ่ในยุทธภพ ภายในนิกายบังคับบัญชาในระบบอาวุโส คือ ประมุข ทูตซ้าย-ขวา สี่ผู้คุมกฎ ได้แก่ มังกรเสื้อม่วง อินทรีคิ้วขาว ราชสีห์ขนทอง ค้างคาวปีกเขียว รองลงมาก็คือ ห้าพเนจร

ในด้านกำลังพล มีห้ากองธง และมี “จูหยวนจาง (จูหงวนจัง)” เป็นผู้กุมกำลังพล ภายหลังคนผู้นี้ ได้ทรยศบ่อกี๋ และนำกำลังของนิกายขับไล่มองโกลออกไปจากต้าซ้องได้สำเร็จ แล้วสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งชื่อราชวงศ์ก็มาจากชื่อของนิกายเม้งก่านั่น

ฉบับภาษาไทย แก้

ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน โดยมีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ชื่อว่า "วีรบุรุษมือธนู" โดยผู้แปลใช้นามปากกว่า ปากกาผุ และผู้ที่แปลอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์คนแรก คือ จำลอง พิศนาคะ ในปี พ.ศ. 2500 [1] และหากยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า "ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้าต่อจากเอี๊ยก้วย

การดัดแปลงในสื่ออื่น แก้

ภาพยนตร์ แก้

ปี ผู้สร้าง นักแสดงหลัก ดูที่
1958 Emei Film Company
(Hong Kong)
Cho Tat-wah, Yung Siu-yee, Lam Kau, Lai Kwan-lin See Story of the Vulture Conqueror
1977 Shaw Brothers Studio (Hong Kong) Alexander Fu, Tanny Tien, Lee I-min, Kara Hui See The Brave Archer
1978 Alexander Fu, Niu-niu, Lee I-min, Kara Hui See The Brave Archer 2
1981 Alexander Fu, Niu-niu, Yu Tai-ping See The Brave Archer 3
1993 Scholars Ltd. (Hong Kong) Leslie Cheung, Brigitte Lin, Maggie Cheung, Tony Leung Chiu-Wai, Jacky Cheung See The Eagle Shooting Heroes
1994 Leslie Cheung, Brigitte Lin, Maggie Cheung, Tony Leung Chiu-Wai, Tony Leung Ka-fai, Jacky Cheung See Ashes of Time

ละครโทรทัศน์ แก้

  • มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 7 ครั้ง (1976-2017) โดยทั้งเจ็ดครั้งเป็นงานสร้างของ
  • ฮ่องกง สร้าง 3 ครั้ง คือ มังกรหยก 1976, มังกรหยก 1983 และ มังกรหยก 1994
  • ไต้หวัน สร้าง 2 ครั้ง คือ มังกรหยก 1988 และ มังกรหยก 2018
  • จีน สร้าง 2 ครั้ง คือ มังกรหยก 2003 และ 2017
ปี ผู้สร้าง นักแสดงหลัก ดูที่
1976 CTV (Hong Kong) ไป่ เปียว, หมีเซียะ, เหลียง เสี่ยวหลง See มังกรหยก (1976)
1983 TVB (Hong Kong) หวง เย่อหัว, อง เหม่ยหลิง, เหมียว เฉียวเหว่ย, หยาง พ่านพ่าน See มังกรหยก (1983)
1988 China Television Co, Ltd. (Co-production) หวงเหวินหาว, เฉินอวี้เหลียน, พานหงปิง, ชิวชู่อี See มังกรหยก (1988)
1994 TVB (Hong Kong) จาง จื้อหลิน, จู อิน, หลอ เจียเหลียง, กวน เป่าฮุย See มังกรหยก(1994)
2003 Ciwen Film & TV Production Co. Ltd. (Mainland China) หลี่อย่าเผง, โจว ซวิ่น, โจวเจี๋ย, เจียง ฉินฉิน See มังกรหยก (2003)
2008 Chinese Entertainment Shanghai Ltd.
(Mainland China)
หู เกอ, หลิน อีเฉิน, หยวน หง, หลิว ซือซือ See มังกรหยก (2008)
2017 Dragon TV (Mainland China) หยาง ซุเหวิน, หลี่ อี้ถง, เฉิน ซิงซู, เหมิง ซิยี่ See มังกรหยก (2017)
 
หนังสือมังกรหยกที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย ช่วงปี 2535 - 2538 มีด้วยกัน 3 สำนักพิมพ์ คือ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ , สยามสปอร์ต , สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
  • มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 7 ครั้ง (1976-2017) ส่วนอีกสามเรื่องในตารางดังต่อไปนี้ เป็นการเขียนบทขึ้นมาเองโดยทีวีบี โดยไม่ใช่บทประพันธ์ของกิมย้ง แต่ใช้ชื่อตัวละครในมังกรหยก มาดัดแปลงเขียนขยายบทเอง ซึ่งทั้งสามเรื่องนี้เป็น มังกรหยกภาคพิเศษ ได้เแก่
ปี ผู้สร้าง นักแสดงหลัก ดูที่
1992 TVB (Hong Kong) เจิ้งอี้เจี้ยน, เหลียงเพ่ยหลิง See มังกรหยก ตอน เฮ้งเต็งเอี๊ยง
1993 จาง จื้อหลิน, เจียง ต้าเหว่ย, เหลียง เพ่ยหลิง See มังกรหยก ตอน คัมภีร์มารนพเก้า
1994 เจิ้ง อี้เจี้ยน, หว่องเสี่ยวหยิน See มังกรหยก ศึกสองจ้าวยุทธจักร

หนังสือมังกรหยก ที่พิมพ์ในประเทศไทย แก้

มังกรหยก มีจัดพิมพ์ 3 สำนักพิมพ์ ช่วงปี 2535 - 2538

- สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ แปลโดย จำลอง พิศนาคะ พร้อมกล่อง

- สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต แปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์ออกมา 3 ภาค ไม่มีกล่อง

  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 1 ก๋วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ

  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 2 เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี

  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 3 ดาบมังกรหยก

- สำนักพิมพ์ดอกหญ้า แปลโดย ว. ณ เมืองลุง จัดพิมพ์ออกมา 2 ภาค พร้อมกล่อง

  มังกรเจ้ายุทธจักร

  อินทรีเจ้ายุทธจักร

อ้างอิง แก้

  1. better (2018-07-17). "แฟนพันธุ์แท้2002 - มังกรหยก". แฟนพันธุ์แท้ 2002. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.