กลัยโอบลาสโตมา

(เปลี่ยนทางจาก มะเร็งกลัยโอบลาสโตมา)

กลัยโอบลาสโตมา[6] (อังกฤษ: glioblastoma) หรือ กลัยโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม (อังกฤษ: glioblastoma multiforme, GBM) เป็นมะเร็งของสมองชนิดหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดในสมอง[7] อาการแรกเริ่มมักเป็นอาการแบบไม่จำเพาะ[1] เช่น ปวดศีรษะ บุคลิกเปลี่ยนแปลง คลื่นไส้ หรืออาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง[1] ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว อาจถึงระดับที่ไม่รู้สึกตัวได้[2]

กลัยโอบลาสโตมา
(Glioblastoma)
ชื่ออื่นGlioblastoma multiforme, grade IV astrocytoma
ภาพสแกนเอ็มอาร์ไอสมองตัดแนวหน้าหลัง แสดงให้เห็นก้อนกลัยโอบลาสโตมาในผู้ป่วยชายอายุ 15 ปี คนหนึ่ง
สาขาวิชาประสาทมะเร็งวิทยา, ประสาทศัลยศาสตร์
อาการปวดศีรษะ, บุคลิกเปลี่ยนแปลง, คลื่นไส้, อาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง[1]
การตั้งต้นอายุประมาณ 64 ปี[2][3]
สาเหตุมักไม่ทราบสาเหตุชัดเจน[2]
ปัจจัยเสี่ยงโรคพันธุกรรม (นิวโรไฟโบรมาโตซิส, กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอไน), เคยได้รับการรักษาด้วยรังสี[2][3]
วิธีวินิจฉัยซีทีสแกน, เอ็มอาร์ไอ, การตัดชิ้นเนื้อ[1]
การป้องกันไม่ทราบ[3]
การรักษาผ่าตัด, เคมีบำบัด, รักษาด้วยรังสี[3]
ยาทีโมโซโลไมด์, คอร์ติโคสเตียรอยด์[1][4]
พยากรณ์โรคอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 14 เดือน กรณีได้รับการรักษา, อัตรารอดชีวิต 5 ปีเท่ากับ 7%[2][5]
ความชุก3 ต่อ 100,000 ประชากร ต่อปี[3]

สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับการยืนยันอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น โรคทางพันธุกรรมอย่างโรคท้าวแสนปม กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอนี และการเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง แต่ผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย[2][3] โรคนี้พบเป็นร้อยละ 15 ของเนื้องอกในสมองทั้งหมด[1] อาจตั้งต้นจากเซลล์สมองปกติ หรือเปลี่ยนแปลงมาจากแอสโตรซัยโตมาเกรดต่ำก็ได้[8] การวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่ทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลจากการทำซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อตรวจ[1]

โรคนี้ยังไม่พบวิธีป้องกัน[3] การรักษาส่วนใหญ่ทำได้โดยใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีเพื่อลดขนาดก้อนแล้วจึงผ่าตัด[3] โดยมักใช้ทีโมโซโลไมด์เป็นยาตัวหนึ่งในชุดยาเคมีบำบัด[3][4][9] อาจสามารถลดขนาดของก้อนและลดอาการบวมของเนื้อสมองรอบก้อนได้ด้วยยาสเตียรอยด์ขนาดสูง[1] การผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ออกเป็นวงกว้างจะสัมพันธ์กับการมีรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้น[10]

แม้จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ที่สุดแล้วมะเร็งชนิดนี้ก็มักจะกลับมาเป็นได้อีก[3] ระยะเวลารอดชีวิตหลังวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 12-15 เดือน โดยมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อย (น้อยกว่า 3-7%) ที่มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี[2][5] หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน[11] ถือเป็นมะเร็งที่พบในเนื้อสมองได้บ่อยที่สุด และเป็นเนื้องอกสมองที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองลงมาจากเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมองหรือเมนินจิโอมา[7][12] ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคนี้ด้วยสัดส่วน 3 ใน 100,000 คน[3] ส่วนใหญ่มักพบที่อายุ 64 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง[2][3] ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาวิจัยว่าจะสามารถใช้การบำบัดด้วยวิทยาภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคนี้ได้หรือไม่[13]

การรักษา แก้

การรักษาด้วยการฉายรังสี แก้

หลังจากการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีร่วมไปกับการให้ยา temozolomide[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Young RM, Jamshidi A, Davis G, Sherman JH (June 2015). "Current trends in the surgical management and treatment of adult glioblastoma". Annals of Translational Medicine. 3 (9): 121. doi:10.3978/j.issn.2305-5839.2015.05.10. PMC 4481356. PMID 26207249.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Chapter 5.16". World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. ISBN 978-9283204299.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 Gallego O (August 2015). "Nonsurgical treatment of recurrent glioblastoma". Current Oncology. 22 (4): e273–81. doi:10.3747/co.22.2436. PMC 4530825. PMID 26300678.
  4. 4.0 4.1 Hart MG, Garside R, Rogers G, Stein K, Grant R (April 2013). "Temozolomide for high grade glioma". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (4): CD007415. doi:10.1002/14651858.CD007415.pub2. PMC 6457743. PMID 23633341.
  5. 5.0 5.1 Ostrom QT, Cioffi G, Gittleman H, Patil N, Waite K, Kruchko C, Barnholtz-Sloan JS (November 2019). "CBTRUS Statistical Report: Primary Brain and Other Central Nervous System Tumors Diagnosed in the United States in 2012-2016". Neuro-Oncology. 21 (Supplement 5): v1–v100. doi:10.1093/neuonc/noz150. PMC 6823730. PMID 31675094.
  6. นันทอารี, ศรัณย์ (Mar 4, 2011). "เนื้องอกสมองสำหรับประชาชน (ตอนที่ 2)". si.mahidol.ac.th. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ June 6, 2021.
  7. 7.0 7.1 Bleeker FE, Molenaar RJ, Leenstra S (May 2012). "Recent advances in the molecular understanding of glioblastoma". Journal of Neuro-Oncology. 108 (1): 11–27. doi:10.1007/s11060-011-0793-0. PMC 3337398. PMID 22270850.
  8. "Chapter 3.8". World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. ISBN 978-9283204299.
  9. 9.0 9.1 Khosla D (February 2016). "Concurrent therapy to enhance radiotherapeutic outcomes in glioblastoma". Annals of Translational Medicine. 4 (3): 54. doi:10.3978/j.issn.2305-5839.2016.01.25. PMC 4740000. PMID 26904576.
  10. Van Meir EG, Hadjipanayis CG, Norden AD, Shu HK, Wen PY, Olson JJ (2010). "Exciting new advances in neuro-oncology: the avenue to a cure for malignant glioma". Ca. 60 (3): 166–93. doi:10.3322/caac.20069. PMC 2888474. PMID 20445000.
  11. Schapira AH (2007). Neurology and clinical neuroscience. Philadelphia: Mosby Elsevier. p. 1336. ISBN 978-0323070539. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29.
  12. McNeill KA (November 2016). "Epidemiology of Brain Tumors". Neurologic Clinics. 34 (4): 981–98. doi:10.1016/j.ncl.2016.06.014. PMID 27720005.
  13. "With Immunotherapy, Glimmers of Progress against Glioblastoma". National Cancer Institute. 9 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก