มะหาด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus lacucha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป

มะหาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: วงศ์ขนุน
สกุล: สกุลขนุน
Buch.-Ham.
สปีชีส์: Artocarpus lacucha
ชื่อทวินาม
Artocarpus lacucha
Buch.-Ham.
ชื่อพ้อง
  • Artocarpus ficifolius W.T.Wang
  • Artocarpus lakoocha Roxb.
  • Artocarpus yunnanensis H.H.Hu
  • Saccus lakoocha (Roxb.) Kuntze

ชื่อ แก้

ในแต่ละภูมิภาค มะหาดจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันกล่าวคือ ภาคเหนือเรียก "หาดหนุน" ในจังหวัดเชียงใหม่เรียก "ปวกหาด" ภาคกลางเรียก "หาด" ทางภาคใต้เรียก "มะหาด" ในจังหวัดตรังเรียก "มะหาดใบใหญ่" และตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงประเทศมาเลเซีย เรียก "กาแย , ตะแป , ตะแปง"[1]

ลักษณะ แก้

มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก ผลเป็นผลรวมมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5-5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลย่อยมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี[1]

 
ผลมะหาดสุก แสดงให้เห็นเนื้อในผลที่เป็นยวง
 
ลักษณะของใบ

การปลูกดูแลบำรุงรักษา แก้

การปลูกต้นมะหาดก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงไปต้องฆ่าเชื้อโรคในดินและเพิ่มสารอาหารในดินก่อนเริ่มปลูก โดยขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร แล้วตากดินไว้นาน 1–2 สัปดาห์ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้วรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูกกลบดินให้แน่นระยะเริ่มปลูกควรรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตกและต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ ควรใช้ไม้หลักปักยึดกับลำต้นกันโยกและทำที่บังแสงแดดด้วย นอกจากนี้เมื่อต้นโตขึ้นควรกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นเป็นบางครั้ง

ประโยชน์ แก้

ต้นมะหาดที่สามารถนำมาใช้ผลประโยชน์ได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 ปี[2]

ทางสมุนไพร [2] แก้

  • แก่น - ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้วนำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า "ปวกหาด" ใช้ผงประมาณ 3-4 กรัมหรือ 1-2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก, ท้องอืด, ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
  • ราก - ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน

ทางนิเวศน์ แก้

ทางเนื้อไม้ แก้

ด้านโภชนาการ แก้

ด้านสารสกัด แก้

  • สารสกัด - ลดอาการผมร่วง กระตุ้นการงอกของเส้นผม แก้โรคเริม ช่วยทำให้โรคผิวหนังค่อย ๆ หายไป ลดความคล้ำของเม็ดสีผิว

ด้านเบ็ดเตล็ด แก้

ต้นไม้ประจำจังหวัด แก้

เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด และเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นมะหาดในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "มะหาด". otop.dss.go.th.
  2. 2.0 2.1 "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้