มัตสึโอะ บาโช

(เปลี่ยนทางจาก มะสึโอะ บะโช)

มัตสึโอะ บาโช (ญี่ปุ่น: 松尾芭蕉 Matsuo Bashō, ค.ศ. 1644 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1694[1][2]) หรือ บาโช เป็นนามแฝงของ มัตสึโอะ มูเนฟูซะ (松尾宗房, Matsuo Munefusa)[3] เป็นกวีชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งได้รับสมญานามเป็นปรมาจารย์ทางด้านบทกวีไฮกุ ในงานกวีที่เขาได้แต่งขึ้นเขียนเพียงชื่อ 芭蕉 (はせを, ฮาเซโอะ) เขาเป็นหนึ่งในกวีที่อยู่ในช่วงยุคสมัยเอโดะ

อนุสาวรีย์ของบาโชในเมืองโองากิ จังหวัดกิฟุ
มัตสึโอะ บาโช
มัตสึโอะ บาโช
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ松尾 芭蕉
ฮิรางานะまつお ばしょう
การถอดเสียง
โรมาจิMatsuo Bashō

บาโช เกิดในอิงะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากการใช้ชีวิตหลายปีภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เข้าได้ค้นพบว่าการเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า เขาจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร บาโชได้เริ่มใช้ชีวิตแบบกวีเมื่อได้รับใช้เจ้านายในฐานะซามูไร ในตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อตนเองว่า โทเซ (桃青, Tosei) ตามบทกวีโทเซ ซึ่งหมายถึงผลพีชเล็ก ๆ ด้วยบาโชมีความยกย่องนับถือในตัวกวีจีนชื่อหลี่ ไป๋ (李白, Lǐ Bái) ซึ่งหมายถึงลูกพลัมสีขาว

ในปี ค.ศ. 1666 เมื่อเจ้านายเก่าได้สิ้นชีวิตลง และมีเจ้านายใหม่ซึ่งเป็นพี่น้องของเจ้านายเดิมขึ้นมาปกครอง เขาได้เลือกกลับไปบ้าน แทนที่จะรับตำแหน่งต่อในฐานะซามูไร และย้ายไปเอโดะในปี ค.ศ. 1675 (ปัจจุบันคือโตเกียว) ต่อมาในปี ค.ศ. 1678 ที่เอโดะ เขาได้รับตำแหน่งให้เป็นปรมาจารย์ไฮกุ หรือ โซโช (宗匠, sōshō) และเริ่มชีวิตของกวีอาชีพ ในปี ค.ศ. 1680 ได้ย้ายไปยังฟูกูงาวะ (ส่วนหนึ่งของเอโดะ) และได้เริ่มปลูกต้นบาโช (芭蕉, Bashō, แปลว่า: ต้นกล้วย) ที่เขาชื่นชอบในบริเวณสวน ภายหลังจากเขาที่ได้ใช้ชื่อตัวเองว่าบาโช

ในช่วงชีวิต บาโชได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปหลายแห่ง สถานที่ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และสถานที่ที่ปรากฏในงานประพันธ์ การท่องเที่ยวเหล่านี้มีส่วนสำคัญในงานเขียนของเขา สถานที่บางแห่งได้ส่งเสริมให้มีจินตนาการที่ยิ่งใหญ่ ในการเดินทางบะโชได้พบสานุศิษย์ และสอนพวกเขาด้วยเร็งงะ (連歌, renga)

บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาโชคือ โอกุ โนะ โฮโซมิจิ (おく細道ほそみち, Oku no Hosomichi, แปลว่า: เส้นทางสายเล็ก ๆ ลึกเข้าไป) เขียนขึ้นภายหลังจากการเดินทางของบาโชและลูกศิษย์ ซึ่งเริ่มจากเอโดะในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1689 และพวกเขาเดินทางไปโทโฮกุและโฮกูริกุ จากนั้นจึงกลับสู่เอโดะในปี ค.ศ. 1691 การเดินทางในหนังสือนี้จบลงที่โองากิและมิโนะ (ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ) ด้วยบทหนึ่งในไฮกุที่เขาแสดงความหมายโดยนัยว่า จะเดินทางไปศาลเจ้าอิเซะต่อ ภายหลังจากการพักอยู่ที่โองากิ

บาโชเสียชีวิตเพราะโรคภัยไข้เจ็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1694 ที่โอซากะ ภายในบ้านของลูกศิษย์ที่เขาร่วมเดินทางไปด้วย ก่อนสิ้นใจ บาโชได้เขียนไฮกุสุดท้าย

ในการเดินทางฉันล้มป่วย
ความฝันวิ่งอยู่รอบกาย
ในทุ่งที่ปกคลุมด้วยหญ้าแห้ง
旅に病んで夢は枯野をかけ廻る
Tabini yande
Yume ha kareno wo
Kake meguru

บทกวีที่มีชื่อเสียงของบะโช แก้

"สระเก่าเอ๋ย"

สระเก่าเอ๋ย
กบกระโดดลงไป
เสียงของน้ำ
古池や蛙飛びこむ水の音
Furuike ya
Kawazu tobikomu
Mizu no oto

เกร็ด แก้

เกี่ยวกับ บาโช (Bashō, 芭蕉) หรือ ต้นกล้วย

เนื่องจากสภาพอากาศนั้นหนาวเย็นเกินกว่าที่กล้วยจะมีผลได้ ว่ากันว่า เขาตั้งใจว่าจะสื่อความหมายของบทกวีที่มิอาจมีผล หรือไร้ผล และเนื่องจากบาโชได้ศึกษาเซน เช่นนี้ เป็นไปตามแนวคิดของเซน

บทความและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง แก้

อ้างอิง แก้