มะปริง

สปีชีส์ของพืช

มะปริง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bouea oppsitifolia) หรือปริง ตง ส้มปริง ภาษาเขมรสุรินทร์เรียกโค้ง เป็นผลไม้พื้นเมืองในอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

มะปริง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: วงศ์มะม่วง
สกุล: Bouea
(Roxb.) Meisn.
สปีชีส์: Bouea oppositifolia
ชื่อทวินาม
Bouea oppositifolia
(Roxb.) Meisn.
ชื่อพ้อง[1]
  • Bouea angustifolia Blume
  • Bouea brandisiana Kurz
  • Bouea burmanica Griff.
  • Bouea diversifolia Miq.
  • Bouea microphylla Griff.
  • Bouea myrsinoides Blume
  • Bouea oppositifolia var. microphylla (Griff.) Merr.
  • Cambessedea oppositifolia (Roxb.) Wight & Arn. ex Voigt
  • Haplospondias brandisiana (Kurz) Kosterm.
  • Haplospondias haplophylla (Airy Shaw & Forman) Kosterm.
  • Manga acida Noronha
  • Mangifera gandaria Roxb.
  • Mangifera oppositifolia Roxb.
  • Matpania laotica Gagnep.
  • Spondias haplophylla Airy Shaw & Forman

รายละเอียด แก้

มะปริงมีลักษณะคล้ายมะปราง ต่างกันที่ผลเล็กและป้อมกว่า เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาดำ มียางสีเหลือง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบสีเขียวเข้มแกมม่วง ยอดอ่อนมีใบสีม่วงห้อยลง ดอกช่อ ออกตามซอกใบหรือตามกิ่ง ดอกสีเหลืองอ่อนหรือขาวปนเขียว ผลกลมรี ผลดิบสีเขียวอ่อน เนื้อกรอบชุ่มน้ำ ผลสุกสีเหลือง เนื้อนุ่ม เมล็ดสีม่วงมีรสฝาด

การใช้ประโยชน์ แก้

ใบอ่อนหรือยอดรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก มะปริงดิบใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารแทนมะนาว ในน้ำพริก ยำ และนำไปแกงได้ อาจจะนำไปดองในน้ำเกลือเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น ผลสุกกินเป็นผลไม้สุกแล้วมีวิตามินเอสูง หรือใช้ทำของหวาน เช่น ไส้พาย ลอยแก้ว น้ำผลไม้ ทางยาสมุนไพร ผลใช้กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต รากแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้ตัวร้อน

อ้างอิง แก้

  1. "Bouea oppositifolia". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  2. Lamb, Anthony (2019). A guide to wild fruits of Borneo. Kota Kinabalu: Natural History Publications (Borneo). p. 30. ISBN 978-983-812-191-0.
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะปริง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550.หน้า 154
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ร้อยพรรณพฤกษา:ผลไม้. กทม. เศรษฐศิลป์. 2554 หน้า 47