มาจิดะ

นครในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก มะชิดะ)

มาจิดะ (ญี่ปุ่น: 町田市โรมาจิMachida-shi) เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในส่วนตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2021 (2021 -04-01) มาจิดะมีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 71.80 ตารางกิโลเมตร (27.72 ตารางไมล์) มีประชากรประมาณ 428,851 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 6,000 คนต่อตารางกิโลเมตร[1]

มาจิดะ

町田市
ทิวทัศน์นครมาจิดะ
ทิวทัศน์นครมาจิดะ
ธงของมาจิดะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของมาจิดะ
ตรา
ที่ตั้งของมาจิดะ (เน้นสีชมพู) ในมหานครโตเกียว
ที่ตั้งของมาจิดะ (เน้นสีชมพู) ในมหานครโตเกียว
แผนที่
มาจิดะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
มาจิดะ
มาจิดะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°42′38″N 139°26′19″E / 35.71056°N 139.43861°E / 35.71056; 139.43861
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดโตเกียว มหานครโตเกียว
จัดตั้งเป็นเมือง1 เมษายน ค.ศ. 1913
จัดตั้งเป็นนคร1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโจอิจิ อิชิซากะ (石阪丈一)
พื้นที่
 • ทั้งหมด71.80 ตร.กม. (27.72 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เมษายน ค.ศ. 2021)
 • ทั้งหมด428,851 คน
 • ความหนาแน่น6,000 คน/ตร.กม. (15,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้Zelkova serrata
• ดอกไม้Scarlet sage
• นกCommon kingfisher
โทรศัพท์042-722-3111
ที่อยู่1-20-23 Nakamachi, Machida-shi, Tokyo 194-8520
เว็บไซต์www.city.machida.tokyo.jp

มาจิดะได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 มาจิดะเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโอบิริน

ภูมิศาสตร์ แก้

มาจิดะตั้งอยู่บนเนินเขาทามะทางใต้ของมหานครโตเกียว มีอาณาเขตทางทิศตะวันตก ใต้ และตะวันออก ติดกับจังหวัดคานางาวะ อยู่ห่างจากใจกลางโตเกียวไปประมาณ 40 ถึง 50 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดอยู่ที่ยอดเขาคูซาโตะ (ความสูง 364 เมตร) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุดของเขตเทศบาล มีที่ราบอยู่ตรงบริเวณสถานีรถไฟมาจิดะ มีแม่น้ำซาไกไหลผ่านทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของเมือง และมีแม่น้ำสึรูมิไหลผ่านทางตอนกลางของเมือง

อาณาเขตติดต่อ แก้

ภูมิอากาศ แก้

มาจิดะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย โดยมีหิมะตกน้อยไปจนถึงไม่มีหิมะตก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในมาจิดะอยู่ที่ 14.0 °C ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,621 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.3 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 2.8 °C[2]

ประชากร แก้

ตามข้อมูลสำมะโนของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของมาจิดะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 23,620—    
1930 26,669+12.9%
1940 32,020+20.1%
1950 52,486+63.9%
1960 71,269+35.8%
1970 202,499+184.1%
1980 295,405+45.9%
1990 349,050+18.2%
2000 377,494+8.1%
2010 426,827+13.1%

ประวัติ แก้

พื้นที่ที่เป็นมาจิดะในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมูซาชิ หลังจากนั้นเมื่อมีการปฏิรูปที่ดินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1878 หลังการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมินามิตามะ จังหวัดคานางาวะ

หมู่บ้านมาจิดะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 โดยเป็นการก่อตั้งในระบบเทศบาล อำเภอมินามิตามะได้โอนย้ายไปอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดโตเกียวเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1893 เทศบาลหมู่บ้านมาจิดะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1913 เมืองมาจิดะถูกทิ้งระเบิดโดยกองกำลังอเมริกันเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

เมืองมาจิดะได้ผนวกเอาหมู่บ้านมินามิที่อยู่ติดกันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1954 ตามด้วยหมู่บ้านสึรูกาวะ หมู่บ้านทาดาโอะ และหมู่บ้านซาไกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลนครมาจิดะ

การเมืองการปกครอง แก้

 
ศาลาว่าการนครมาจิดะ

มาจิดะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิก 36 คน โดยจะได้รับเลือกให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปี มาจิดะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภามหานครโตเกียวจำนวน 4 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ มาจิดะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งโตเกียวที่ 23 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

รายชื่อนายกเทศมนตรี แก้

  1. โทกิจิโร อาโอยามะ (青山 藤吉郎, ค.ศ. 1958-1970, 3 สมัย)
  2. คัตสึมาซะ โอชิตะ (大下 勝正, ค.ศ. 1970-1990, 5 สมัย)
  3. คาซูโอะ เทราดะ (寺田 和雄, ค.ศ. 1990-2006, 4 สมัย)
  4. โจอิจิ อิชิซากะ (石阪 丈一, ค.ศ. 2006-ปัจจุบัน, ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 4)

อ้างอิง แก้

  1. "สถิติทางการของนครมาจิดะ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. ข้อมูลภูมิอากาศมาจิดะ
  3. สถิติประชากรมาจิดะ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้