มะขามเทศ
มะขามเทศในโกลกาตา เบงกอลตะวันตก (อินเดีย)
สถานะการอนุรักษ์

Secure (NatureServe)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Pithecellobium
สปีชีส์: P.  dulce
ชื่อทวินาม
Pithecellobium dulce
(Roxb.) Benth.[2]

มะขามเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pithecellobium dulce) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย[3] หลักฐานบางแหล่งกล่าวว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ กวม ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2] ภาษาเตลูกูเรียกว่า సీమ చింత "seema chintakaya"[2] ชื่ออื่นๆได้แก่ guamúchil / cuamúchil / huamúchil (ในเม็กซิโก ภาษาสเปน), guamá americano (ในปวยร์โตรีโก) ʻopiuma (ภาษาฮาวาย), kamachile (ภาษาฟิลิปิโน),[4]கோன புளியங்கா/ கொடுக்காப்புளி kodukkappuli (ภาษาทมิฬ), વિલાયતી આંબલી vilayati ambli (ภาษาคุชราต), जंगल जलेबी jungle jalebi หรือ ganga imli (ภาษาฮินดี), তেঁতুল tetul (ภาษาเบงกอล), seeme hunase (ภาษากันนาดา) และ विलायती चिंच vilayati chinch (ภาษามราฐี)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีหนาม ใบบางและเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว เห็นเกสรตัวผู้เป็นพู่ชัดเจน ผลเป็นฝักโค้งเป็นปล้อง ๆ ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง เนื้อในเป็นสีชมพูหรือสีขาว รสหวานหรือหวานอมฝาด ถ้าทิ้งไว้นาน เนื้อจะนุ่ม รสหวานจัดขึ้น แต่ถ้านานเกินไปจะมีกลิ่นเหล้าออกมา เมล็ดสีดำ มีปล้องละ 1 เมล็ด

ฝักมะขามเทศ

มะขามเทศในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะฝักเป็นสามกลุ่มคือ[3]

  • กลุ่มฝักใหญ่ ฝักโค้งเป็นวงกลมหรือเป็นเกลียว ฝักแก่สีเขียวอ่อน ขาวปนแดงหรือชมพู เนื้อสีขาวปนแดง หวานมัน เนื้อนุ่ม
  • กลุ่มฝักกลาง ฝักโค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อน ปนชมพูอมแดง รสหวานมัน
  • พันธุ์พื้นเมือง ฝักขนาดเล็กสุด โค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อนปนชมพู รสหวานอมฝาด

การใช้ประโยชน์ แก้

มะขามเทศเป็นผลไม้ที่ใช้กินผลสด มีการปลูกเป็นการค้า นำมาประกอบอาหารได้ ชาวมอญนำมะขามเทศชนิดรสฝาดไปแกงส้ม ในทางยา เปลือกต้นแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก ฟันผุ[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Pithecellobium dulce - (Roxb.) Benth. Guama Americano". NatureServe Explorer. NatureServe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Taxon: Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 1994-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  3. 3.0 3.1 3.2 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะขามเทศ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 144
  4. Grandtner, Miroslav M. (2005). Elsevier's Dictionary of Trees: With Names in Latin, English, French, Spanish and Other Languages. Vol. 1. Elsevier. pp. 670–671. ISBN 978-0-444-51784-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้