มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4–4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็ก ๆ คล้ายแคปซูล

มอสส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 300–0Ma
"Muscinae" จาก Ernst Haeckel's Kunstformen der Natur, 1904
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: Embryophytes
หมวด: มอสส์
ชั้น

มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์ และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา[1] ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ในทางพฤกษศาสตร์ มอสส์เป็นพืชจำพวกมอสหรือพืชไม่มีท่อลำเลียง มีลักษณะแตกต่างจากลิเวอร์เวิร์ตที่คล้ายคลึงกับมันคือส่วนคล้ายรากมีหลายเซลล์ นอกจากนี้ลำต้นและใบยังแสดงถึงความแตกต่างได้ ถ้าใบไม่เป็นแฉกลึกหรือเป็นข้อบ่งบอกถึงพืชชนิดนี้เป็นมอสส์ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ นั้นไม่สามารถแยกมอสส์และลิเวอร์เวิร์ตออกจากกันได้

มอสส์เป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ทำให้ส่วนเพิ่มเติมขึ้นมานั่นคือมีแกมีโทไฟต์ที่เด่นชัดในวงจรชีวิต คือเซลล์ของพืชมีโครโมโซมหนึ่งชุด (haploid) ส่วนสปอโรไฟต์ (คือมีโครโมโซมสองชุด (diploid)) มีชีวิตที่สั้นกว่าและขึ้นกับแกมีโทไฟต์ ถ้าจะเปรียบกับพืชชั้นสูงก็คือ ในพืชมีเมล็ด โครโมโซมหนึ่งชุดที่ใช้สืบพันธุ์ก็คือเกสรและออวุล ขณะที่โครโมโซมสองชุดเป็นพืชดอกทั้งต้น

วงจรชีวิต แก้

 
วงจรชีวิตของมอสส์ (Polytrichum commune)

พืชส่วนมากมีดิพลอยด์ (โครโมโซมสองชุด) ในเซลล์ของพวกมัน (โครโมโซมหนึ่งชุดที่อยู่คู่กันนั้นบรรจุข้อมูลพันธุ์กรรมที่เหมือนกัน) ขณะที่มอสส์ (และไบรโอไฟต์อื่น ๆ) มีโครโมโซมหนึ่งชุด (คือโครโมโซมหนึ่งชุดในสำเนาหนึ่งเดียวภายในเซลล์) เมื่อระยะในวงจรชีวิตของมอสส์เมื่อมันสมบูรณ์จะมีการจับคู่กันของโครโมโซมแต่เกิดแค่ในขั้นสปอโรไฟต์

วงจรชีวิตของมอสส์เป็นแบบสลับ (alternation of generation) เริ่มจากสปอร์ที่มีโครโมโซมหนึ่งชุดซึ่งเริ่มงอกเป็นโพรโทนีมาซึ่งเป็นแขนงสีเขียว (แบนและคล้ายกับแทลลัส) นี้เป็นขั้นตอนสั้น ๆ ของวงจรชีวิตมอสส์ จากโพรโทนีมาเจริญมาเป็นแกมีโทฟอร์ (ผู้ถือเซลล์สืบพันธุ์) ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับลำต้น (caulid), ใบ (phyllid) และราก (rhizoid) จากปลายของลำต้นหรือกิ่งจะพัฒนาเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของมอสส์ อวัยวะเพศเมียหรืออาร์คิโกเนียมถูกปกป้องโดยใบที่พัฒนามาที่ชื่อว่า perichaetum อาร์คิโกเนียมจะมีคอที่เรียกว่ากระเปาะอาร์คิโกเนียม (venter) ที่มีไข่อยู่ในนั้น อวัยวะเพศผู้หรือแอนเทอริเดียมถูกล้อมรอบโดยใบที่พัฒนามาที่เรียกว่า perigonium ที่สร้างสเปิร์มที่มีแฟลเจลลาว่ายน้ำได้

มอสส์อาจจะสร้างอวัยวะสืบพันธุ์แยกกัน (เหมือนดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นในพืชมีเมล็ด) หรืออยู่ด้วยกัน (เหมือนดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น) ในมอสส์ที่สร้างอวัยวะสืบพันธุ์แยกกันอวัยวะเพศผู้และเพศเมียจะอยู่บนพืชแกมีโทไฟต์ที่ต่างกัน ในมอสส์อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ด้วยกัน (หรือที่เรียกว่ามีช่อดอกเพศผู้และเพศเมียร่วมต้น) จะมีอวัยวะเพศผู้และเมียบนต้นเดียวกัน สเปิร์มจากแอนเทอริเดียมจะว่ายไปสู่อาร์คิโกเนียมและการปฏิสนธิจะเกิดขึ้น ได้เป็นไซโกต ต่อมาเจริญเป็นเอ็มบริโอ แล้วนำไปสู่สปอโรไฟต์ที่มีโครโมโซมสองชุด สเปิร์มของมอสส์มีสองแส้เซลล์คือมีสองแฟลเจลใช้ในการเคลื่อนที่ ตั้งแต่สเปิร์มว่ายสู่อาร์คิโกเนียมการปฏิสนธิจะไม่เกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีน้ำ หลังการปฏิสนธิ สปอโรไฟต์ที่ยังไม่สุกจะถูกดันออกจากกระเปาะอาร์คิโกเนียม มันอาจใช้เวลา ¼ ถึงครึ่งปีสำหรับสปอโรไฟต์จะเจริญเติบโตเต็มที่ สปอโรไฟต์ประกอบไปด้วยส่วนที่ยึดติดกับแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่าฟุต ก้านชูอัปสปอร์ที่เรียกว่า seta และอับสปอร์โดยหมวกของมันเรียกว่าฝาปิด (operculum) อับสปอร์และฝาปิดอยู่ในฝักบิดโดยหมวกโครโมโซมหนึ่งชุดซึ่งเป็นส่วนที่เหลือของกระเปาะอาร์คิโกเนียม หมวกจะหลุดออกเมื่ออับสปอร์สุก ปากของอัปสปอร์มีรูปฟันเป็นรูปแหวนที่เรียกว่าเพอริสโตม ในอับสปอร์ เซลล์สปอร์ที่สร้างขึ้นโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งกลายเป็นสปอร์โครโมโซมหนึ่งชุด และเมื่อสปอร์แกและอัปสปอร์แตกออก สปอร์กระจายออกและเริ่มต้นวงจรชีวิตอีกครั้ง

ในมอสส์บางชนิด โครงสร้างของพืชสีเขียวที่เรียกว่าหน่อ (gemmae) ที่สร้างจากใบหรือกิ่งจะเจริญไปเป็นต้นใหม่โดยไม่ต้องการการปฏิสนธิ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ถิ่นอาศัย แก้

 
มอสส์ในอุทยาน Allegheny รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
 
สปอโรไฟต์ที่ยังเล็กของมอสส์ธรรมดา Tortula muralis (wall screw-moss)

มอสส์ส่วนมากพบในพื้นที่ชื้นและได้รับแสงน้อย โดยปกติจะพบในป่าและริมแหล่งน้ำลำธาร และสามารถพบได้ตามอิฐหินในถนนที่เปียกชื้นในเมือง บางชนิดเหมาะกับสภาวะอย่างกำแพงเฉพาะในเมือง อีก 2–3 ชนิดอยู่ในน้ำเช่น Fontinalis antipyretica และ Sphagnum ที่อาศัยอยู่ในโคลนตม หนองบึงและในทางน้ำที่ไหลช้า อย่างมอสส์น้ำหรือกึ่งน้ำสามารถยาวเกินกว่าความยาวปกติของมอสส์บก บางชนิดยาว 20–30 ซม. (8–12 นิ้ว) หรือยาวกว่าปกติใน Sphagnum มอสส์เป็นต้น

มอสส์ต้องการความชื้นเพื่อความมีชีวิตรอดเพราะขนาดที่เล็กและเนื้อเยื่อที่ผอมบางของมัน ด้วยความที่ไม่มีผิวเคลือบคิวทิน (ขี้ผึ้งที่เคลือบเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ) และต้องการของเหลวเพื่อการสืบพันธุ์ มอสส์บางชนิดสามารถมีชีวิตรอดจากความแห้งแล้งและสามารถกลับคืนมีชีวิตในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อได้รับน้ำ

ในทางเหนือละติจูด ด้านเหนือของต้นไม้และหินจะเกิดมอสส์มากกว่าบริเวณอื่น สันนิษฐานว่าไม่มีน้ำพอเพียงสำหรับเจริญเติบโตบนต้นไม้ด้านที่แสงแดดส่อง ใต้เส้นศูนย์สูตรจะตรงข้ามกัน ในป่าลึกที่แสงอาทิตย์ไม่สามารถลอดผ่านได้ มอสส์จะเจริญเติบโตเท่ากันทุกด้านของต้นไม้

อ้างอิง แก้

  1. Goffinet, Bernard (2004). "Systematics of the Bryophyta (Mosses): From molecules to a revised classification". Monographs in Systematic Botany. Missouri Botanical Garden Press. 98: 205–239. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้