มอดแป้ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Coleoptera
วงศ์: Tenebrionidae
สกุล: Tribolium
สปีชีส์: T.  castaneum
ชื่อทวินาม
Tribolium castaneum
(Herbst, 1797)

บทนำ แก้

ศัตรูทางการเกษตร แก้

มอดแป้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolium castaneum เป็นแมลงศัตรูทางการเกษตรที่สำคัญ โดยปนเปื้อนในโกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวสาร กาแฟ ข้าวโพด เผือก ถั่ว รวมถึงผลผลิตแปรรูป เช่น แป้ง บิสกิต พาสต้า เป็นต้น โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย กินผลผลิตเป็นอาหารและเพิ่มจำนวนมาก มีการสร้างสารเคมีประเภทควิโนน ที่มีกลิ่นเหม็น สร้างความเสียหายกับผลผลิตเป็นอย่างมาก มอดแป้งมีการแพร่กระจายในโกดังเก็บผลผลิตของมนุษย์ทั่วโลก มูลค่าความเสียหายจากมอดแป้ง(และแมลงปีกแข็งชนิดอื่น)เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี [1]

สัตว์ทดลองเพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ แก้

มอดแป้งมีความสำคัญในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์ โดยเป็นโมเดลแมลงที่สำคัญรองจากแมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) ทั้งนี้เพราะมีรูปแบบการเจริญของเอ็มบริโอ ที่คล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆมากกว่าแมลงหวี่ ปี ค.ศ. 2008 ข้อมูลจีโนมของมอดแป้งตีพิมพ์ในวารสาร Nature [2] สามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้ที่ฐานข้อมูล BeetleBase.org [2] สามารถใช้เทคนิค RNAi ศึกษาหน้าที่ของยีนชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสองเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การศึกษาพันธุศาสตร์โดยใช้แมลงชนิดนี้ทำได้ง่าย [3] [4]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของมอดแป้ง แก้

การปรับตัวของวงศ์ยีนรีเซพเตอร์รับสารเคมี (รีเซพเตอร์รับกลิ่นและรีเซพเตอร์รับรส) แก้

มอดแป้งมียีนที่สร้างรีเซพเตอร์รับกลิ่น(odorant receptor)340 ยีน และรีเซพเตอร์รับรส (gustatory receptor)340 ยีน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับแมลงกลุ่มแมลงหวี่ (ประมาณ 60 ยีน) หรือกลุ่มผีเสื้อ (40-70 ยีน) ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการปรับตัวเพื่อให้ใช้อาหารได้หลากหลาย และสามารถหาแหล่งอาหารได้กว้าง ยีนรีเซพเตอร์รับกลิ่นมีการแสดงออกต่างกันในตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัยมีจำนวนยีนแสดงออกมากกว่า และยีนที่แสดงออกในตัวอ่อนเกือบทั้งหมดแสดงออกในตัวเต็มวัยด้วย [5]

อวัยวะเพื่อลดการเสียน้ำ แก้

มอดแป้งมีอวัยวะที่ลดการสูญเสียน้ำจากทางเดินอาหาร ชื่อ cryptonephridial organ (ส่วนปลายของ malpighian tubules ที่เชื่อมกับส่วน hind gut) ทำหน้าที่ดูดน้ำกลับ มอดแป้งจึงดำรงชีวิตในสภาพที่แห้งแล้งมากได้ โดยอาศัยน้ำจากอาหารที่กิน [6]

การทนทานต่อยาฆ่าแมลง แก้

มีรายงานการดื้อยาฆ่าแมลงหลายชนิดของมอดแป้ง ได้แก่ malathion, carbaryl, lindane, phosphine และ pyrethrins [7] อาจสัมพันธ์กับการที่มอดแป้งมียีนที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ (detoxificaiton) คือวงศ์ยีน Cytochrome P450 (CYP) มากถึง 134 ยีน [1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Richards S, Gibbs RA, Weinstock GM et al. (2008) The genome of the model beetle and pest Tribolium castaneum. Nature 452 (7190):949-955. doi:10.1038/nature06784 http://www.nature.com/nature/journal/v452/n7190/full/nature06784.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.
  3. Bucher G, Scholten J, Klingler M (2002) Parental RNAi in Tribolium (Coleoptera). Current Biology 12 (3):R85-R86. doi:http://dx.doi.org/10.1016/S0960-9822(02)00666-8 http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0960982202006668
  4. Tomoyasu Y, Denell R (2004) Larval RNAi in Tribolium (Coleoptera) for analyzing adult development. Dev Genes Evol 214 (11):575-578. doi:10.1007/s00427-004-0434-0 http://link.springer.com/article/10.1007%2Fs00427-004-0434-0
  5. Engsontia P, Sanderson AP, Cobb M, Walden KKO, Robertson HM, Brown S (2008) The red flour beetle's large nose: An expanded odorant receptor gene family in Tribolium castaneum. Insect Biochemistry and Molecular Biology 38 (4):387-397. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.ibmb.2007.10.005 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18342245
  6. Park Y, Beeman RW (2008) Postgenomics of Tribolium: Targeting the endocrine regulation of diuresis. Entomological Research 38 (2):93-100. doi:10.1111/j.1748-5967.2008.00143.x http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1748-5967.2008.00143.x/abstract
  7. Zettler LJ, Cuperusi GW (1990) Pesticide Resistance in Tribolium castaneum (Coleoptera: Tenebrionidae) and Rhyzopertha dominica (Coleoptera: Bostrichidae) in Wheat. Journal of Economic Entomology 83 (5):1677-1681 http://www.ingentaconnect.com/content/esa/jee/1990/00000083/00000005/art00005