มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

บาซิลิกาซานโลเร็นโซ หรือ บาซิลิกาเซนต์ลอว์เรนซ์แห่งฟลอเรนซ์ (อังกฤษ: Basilica of San Lorenzo, Florence, อิตาลี: Basilica di San Lorenzo) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่กลางเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา

บาซิลิกาซานโลเร็นโซ
Basilica of Saint Lawrence
บาซิลิกาซานโลเร็นโซตั้งอยู่ในฟลอเรนซ์
บาซิลิกาซานโลเร็นโซ
บาซิลิกาซานโลเร็นโซ
สถานที่ในฟลอเรนซ์
43°46′29.7″N 11°15′13.9″E / 43.774917°N 11.253861°E / 43.774917; 11.253861
ที่ตั้งฟลอเรนซ์ แคว้นตอสคานา
ประเทศอิตาลี
นิกายโรมันคาทอลิก
ประวัติ
สถานะMinor basilica
อุทิศแก่Saint Lawrence
เสกเมื่อค.ศ. 393
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกฟีลิปโป บรูเนลเลสกี, มีเกลันเจโล
ประเภทสถาปัตย์โบสถ์คริสต์
รูปแบบสถาปัตย์เรอแนซ็องส์
งานฐานรากศตวรรษที่ 15
แล้วเสร็จค.ศ. 1470
การปกครอง
อัครมุขมณฑลArchdiocese of Florence

บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเก่าในใจกลางเมืองฟลอเรนซ์และเป็นวัดที่ใช้ในการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ หลายคนของตระกูลเมดิชิตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1464 มาจนถึงโคสิโม เดอ เมดิชิที่ 3 แกรนดยุคแห่งทัสเคนี (Cosimo III de' Medici, Grand Duke of Tuscany) ผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1723 บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดหนึ่งที่อ้างตนเองว่าเป็นวัดที่เก่าที่สุดในฟลอเรนซ์ที่เดิมสร้างในปี ค.ศ. 393[1] นอกกำแพงเมือง และเป็นมหาวิหารแห่งเมืองฟลอเรนซ์อยู่ 300 ปี ก่อนที่จะย้ายไปเป็นวัดซานตาเรพาราตา นอกจากนั้นแล้วบาซิลิกาซานโลเร็นโซก็ยังเป็นวัดประจำตระกูลเมดิชิ

ในปี ค.ศ. 1419 จิโอวานนิ ดิ บิชชิ เดอ เมดิชิ (Giovanni di Bicci de' Medici) อาสาออกเงินให้สร้างวัดใหม่แทนวัดโรมาเนสก์เดิมที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยจ้างให้ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่ได้สร้างเสร็จจนกระทั่งจิโอวานนิเสียชีวิตไปแล้ว

บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคริสต์ศาสนสถานที่เป็นของสำนักสงฆ์ ที่ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญๆ อื่นๆ ที่รวมทั้งห้องเก็บสมบัติเก่า (Sagresta Vecchia) โดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี, ห้องสมุดบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Laurentian Library) โดยมีเกลันเจโล, ห้องเก็บสมบัติใหม่โดยมีเกลันเจโล และชาเปลเมดิชิ (Medici Chapel) โดยมัตเตโอ นิเก็ตติ (Matteo Nigetti)

ประวัติ แก้

ประวัติทางสถาปัตยกรรมของบาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นประวัติที่ซับซ้อน แม้ว่าจะสร้างภายใต้การควบคุมของฟีลิปโป บรูเนลเลสกีตามแบบที่เขียนโดยบรูเนลเลสกีเอง แต่ผลที่ออกมาไม่ใช้แบบที่เขียนไว้แต่เดิม การก่อสร้างเริ่มในปี ค.ศ. 1419 แต่งการขาดงบประมาณทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าลงและต้องมีการแก้ไขแบบที่ออกไว้เดิม เมื่อมาถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1440 ก็มีแต่สังฆทรัพยคูหา (sacristy) เท่านั้นที่ได้รับการก่อสร้าง (ปัจจุบันคือห้องเก็บสมบัติเก่า) นอกจากนั้นทางตระกูลเมดิชิก็ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่วัด ในปี ค.ศ. 1442 ตระกูลเมดิชิจึงเข้ามาบริหารงบประมาณการก่อสร้าง ของมีค่า แต่บรูเนลเลสกีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1446 ความรับผิดชอบในการก่อสร้างจึงตกไปเป็นของไม่ก็อันโตนิโอ มาเนตติ (Antonio Manetti) หรือ มิเกลอโซ มิเกลอซิ ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนโดยนักวิชาการ แม้ว่าตัวสิ่งก่อสร้างจะ “เสร็จ” ในปี ค.ศ. 1459 ทันกับโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 เสด็จมาฟลอเรนซ์ แต่ชาเปลและช่องทางเดินข้างทางด้านขวายังคงสร้างกันอยู่จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1470 และ 1480

เมื่อสร้างเสร็จผังการก่อสร้างและรายละเอียดต่างๆ ก็แตกต่างไปจากผังที่เขียนไว้โดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกีไปเป็นอันมาก ความแตกต่างที่สำคัญคือบรูเนลเลสกีตั้งใจจะให้ชาเปลข้างลึกกว่าและคล้ายกับชาเปลในบริเวณแขนกางเขน (transept) ซึ่งเป็นบริเวณเดียวในตัวสิ่งก่อสร้างที่เชื่อกันว่าตรงตามแบบที่บรูเนลเลสกีออกไว้แต่เดิม[2]

ลักษณะความเป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา แก้

 
ช่องทางเดินกลางยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420
 
ห้องเก็บสมบัติจากภายนอก


แม้ว่าประวัติทางสถาปัตยกรรมของการก่อสร้างบาซิลิกาซานโลเร็นโซจะเป็นประวัติที่ซับซ้อนแต่ก็ผลที่ออกมาก็เป็นตัวอย่างที่ดีของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ประกอบด้วยลักษณะดังนี้:

แม้ว่าจะมีปัญหาใหญ่ๆ ในการออกแบบแต่ส่วนใหญ่แล้วอยู่ที่รายละเอียด เช่นทีจอร์โจ วาซารีให้ความเห็นว่าเสาตามแนวช่องทางเดินกลางควรจะยกสูงขึ้นด้วยฐาน[3] และเสาอิงตามแนวผนังของช่องทางเดินข้างที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าช่องทางเดินกลางสามขั้นถือว่าเป็นการออกแบบที่ผิด

บาซิลิกาซานโลเร็นโซมักจะเปรียบเทียบกับวัดซานโตสปิริโตที่บรูเนลเลสกีเริ่มสร้างต่อมาที่ถือกันว่าสร้างตรงตามแบบที่บรูเนลเลสกีเขียน แม้ว่าจะสร้างเสร็จหลังจากบรูเนลเลสกีเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

ด้านนอกและด้านในของด้านหน้า แก้

พระสันตะปาปาจากตระกูลเมดิชิลีโอที่ 10 จ้างให้มีเกลันเจโลออกแบบด้านหน้าบาซิลิกาด้วยหินอ่อนขาวของคาร์รารา (Carrara) ในปี ค.ศ. 1518 มีเกลันเจโลสร้างแบบจำลองด้วยไม้ที่ปรับสัดส่วนของด้านหน้าตามสัดส่วนอย่างอุดมคติของร่างกายมนุษย์เมื่อเทียบกับความสูงของช่องทางเดินกลาง แต่งานจริงไม่ได้สร้าง แต่มีเกลันเจโลออกแบบด้านในของด้านหน้าที่มองเห็นจากช่องทางเดินกลางเมื่อมองไปยังทางเข้า ที่ประกอบด้วยประตูสามประตูระหว่างเสาสองเสาที่มีมาลัยโอ้คและลอเรลและระเบียงบนเสาโครินเธียน (Corinthian order) สองเสา

เมื่อไม่นานมานี้สมาคม “Friends of the Elettrice Palatina” และ เทศบาลเมืองฟลอเรนซ์นำหัวข้อการออกแบบด้านหน้าของ บาซิลิกาซานโลเร็นโซขึ้นมาพิจารณากันอีกครั้ง และฉายด้านหน้าของบาซิลิกาด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่แสดงให้เห็นภาพพจน์เมื่อสร้างเสร็จเพื่อช่วยให้ในการพิจารณา แต่ก็ยังไม่มีการตัดสินใจกันอย่างใดเกี่ยวกับโครงการนี้[1]

 
มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ห้องเก็บสมบัติเก่า แก้

ห้องเก็บสมบัติเก่าทางด้านเหนือของแขนกางเขนเป็นห้องสี่เหลี่ยมที่มีเพดานเป็นโดมออกแบบโดยบรูเนลเลสกีและเป็นส่วนที่เก่าที่สุดในวัด นอกจากนั้นก็เป็นส่วนเดียวที่สร้างเสร็จก่อนที่บรูเนลเลสกีจะเสียชีวิต ห้องเก็บสมบัติเป็นที่บรรจุศพสมาชิกในตระกูลเมดิชิหลายคน

ห้องเก็บสมบัติใหม่ แก้

ทางด้านใต้ของแขนกางเขนเป็น “ห้องเก็บสมบัติใหม่” ที่เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1520 โดยมีเกลันเจโลผู้ออกแบบที่เก็บศพของตระกูลเมดิชิภายในด้วย แต่รูปสลักโดยมีเกลันเจโลสร้างไม่เสร็จ

ชาเปลเมดิชิ แก้

ส่วนที่หรูที่สุดในบาซิลิกาก็คือภายในชาเปลเมดิชิในมุขตะวันออก (apse) ตระกูลเมดิชิยังคงจ่ายค่าบำรุงรักษาชาเปลจนกระทั่งเมื่อแอนนา มาเรีย หลุยซา เดอ เมดิชิ (Anna Maria Luisa de' Medici) สมาชิกคนสุดท้ายของตระกูลเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1743 สมาชิกของตระกูลเมดิชิที่มีความสำคัญน้อยกว่าอีกราวห้าสิบคนถูกบรรจุในคริพท์ แบบสุดท้ายของชาเปลออกโดยเบอร์นาร์โด บวนตาเล็นติ (Bernardo Buontalenti) ระหว่างปี ค.ศ. 1603 ถึงปี ค.ศ. 1604 จากตัวอย่างของอเลสซานโดร ปิแอร์โรนิ (Alessandro Pieroni) และ มัตเตโอ นิเก็ตติ

ตอนบนเป็นชาเปลแปดเหลี่ยม “ชาเปลแห่งเจ้าชาย” (Cappella dei Principi) ที่เป็นที่บรรจุศพของแกรนดยุคเอง ที่สร้างและตกแต่งแบบแมนเนอริสม์ด้วยหินอ่อนหลากสี

งานศิลปะ แก้

อ้างอิง แก้

  1. It was dedicated by Saint Ambrose of Milan.
  2. Eugenio Battisti. Filippo Brunelleschi: The Complete Work. (New York: Rizzoli, 1981)
    • See also: Howard Saalman. Filippo Brunelleschi: The Buildings. (London: Zwemmer, 1993).
  3. Battisti. Ibid.
  • Brock, Maurice (2002). Bronzino. Paris: Flammarion. pp. 20–24.
  • Luchinat, Cristina A. (2002). The Medici, Michelangelo & the Art of Late Renaissance Florence. New Haven and London: Yale University Publishing. pp. 13–14.
  • Pilliod, Elizabeth (1992). "Bronzino's Household". The Burlington Magazine (134): 92–100.
  • Saalman, Howard (1985). "The New Sacristy of San Lorenzo Before Michelangelo". The Art Bulletin. Colorado Springs. 67: 199–228. doi:10.2307/3050908.
  • Vasari, Giorgio. Filippo Di Ser Brunelesco: Giorgio Vasari's Lives of the Artists [2] เก็บถาวร 2009-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • "Church of San Lorenzo." Insecula. 31 Jan. 2007 [3] เก็บถาวร 2008-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บาซิลิกาซานโลเร็นโซ