มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมี "หอการค้าไทย" เป็นเจ้าของ และได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจในประเทศไทย ประกอบด้วย 12 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ คณะการศึกษาปฐมวัย คณะศิลปะและการออกแบบ และคณะวิทยพัฒน์ (Extension School) รวมถึง 3 วิทยาลัย ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยผู้ประกอบการ และวิทยาลัยนานาชาติเพื่อการจัดการ โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ชื่อย่อมกค. / UTCC
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนาพ.ศ. 2483
(สถาปนาวิทยาลัยการพาณิชย์)
24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 (39 ปี)
(เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย)
นายกสภาฯสนั่น อังอุบลกุล
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย
ผู้ศึกษา17,131 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
สี  ฟ้า
เว็บไซต์www.utcc.ac.th

ประวัติ แก้

 
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2483 สำนักงานหอการค้าไทยตึกพาณิชย์ภัณฑ์ ถนนศรีอยุธยา สนามเสือป่า โดยในครั้งนั้นใช้ชื่อ "วิทยาลัยการค้า" เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีหลักสูตรการศึกษา 6 เดือน และ 2 ปี มีนักศึกษาประมาณ 300 คน หลักสูตรการสอนของวิทยาลัยการค้า นับว่าทันสมัยอย่างยิ่ง เพราะดำเนินตามหลักสูตร ของหอการค้าแห่งกรุงลอนดอน แต่วิทยาลัยการค้าเปิดสอนได้เพียง 1 ปี ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้วิทยาลัย ต้องปิดตัวเอง เนื่องจากการสงคราม และรัฐบาลต้องการใช้สถานที่เป็น↵ที่ตั้ง สำนักงานประสานงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น วิทยาลัยการค้าปิดไปร่วม 22 ปี กรรมการหอการค้าไทยทุกสมัยได้พยายามเป็นลำดับที่จะรื้อฟื้นวิทยาลัยขึ้นใหม่จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 คณะกรรมการหอการค้าไทยก็ประสบผลสำเร็จในการเปิดวิทยาลัยอีกครั้งในชื่อ "วิทยาลัยการค้า" เช่นเดิม แต่ได้ย้ายอาคารที่ตั้งมาอยู่ที่ ณ ที่ทำการของหอการค้าไทย เลขที่ 150 ถนนราชบพิธ เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรการค้าชั้นสูง การเปิดสอนของวิทยาลัยการค้าครั้งนี้ อยู่ภายใต้การ↵ควบคุมของ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์

8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ที่ประชุมสภาวิทยาลัยการค้า มีมติให้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเป็น "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of Commerce of The Thai Chamber of Commerce) ดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติหอการค้า (พ.ศ. 2509) ที่กำหนดให้หอการค้าไทยมีหน้าที่จัดตั้งและ ดำเนินการสถานศึกษาที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ และ ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2513 คณะกรรมการวิทยาลัยเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตให้หอการค้าไทย จัดตั้ง "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of Commerce) อักษรย่อ "ว.พณ." (C.C.) เปิดสอนหลักสูตร 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาบริหารทั่วไปธุรกิจระหว่างประเทศ เลขานุการ การตลาด การบัญชี การคลังการธนาคาร และ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับในหลักการให้วิทยาลัยเอกชนดำเนินการสอนได้ ในระดับเกินกว่า 3 ปี และวิทยาลัยการพาณิชย์ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอน ทั้งหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทั้ง 7 สาขาวิชา ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516 พร้อมกันนี้วิทยาลัยได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยการค้า" อีกครั้ง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า College of Commerce อักษรย่อ "วค" (C.C.)

21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยการค้าโอนมาสังกัดกับทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมกับ ได้ย้ายมาอยู่ เลขที่ 126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 ถนนวิภาวดีรังสิต อันเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เมื่อวิทยาลัยการค้าปฏิบัติพันธกิจได้อย่างครบถ้วน ตามเงื่อนไขแห่งการเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาใน วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 (พร้อมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ) ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทสถาบันเป็นมหาวิทยาลัย ในชื่อ "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (The University of the Thai Chamber of Commerce) อักษรย่อ "มกค." (UTCC) และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเต็มภาษาอังกฤษเป็น University of the Thai Chamber of Commerce

ทำเนียบอธิการบดี แก้

คณะวิชาและหลักสูตร แก้

หลักสูตรปริญญาตรี

  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะบัญชี
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะวิทยพัฒน์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
  • คณะการศึกษาปฐมวัย
  • คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล
  • วิทยาลัยผู้ประกอบการ (College of Entrepreneurship)

หลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก

  • บัณฑิตวิทยาลัย

หลักสูตรภาษาอังกฤษ

  • วิทยาลัยนานาชาติเพื่อการจัดการ (International School of Management)

หลักสูตรภาษาจีน

  • วิทยาลัยนานาชาติไทย-จีน เพื่อการจัดการ (泰-中国际管理学院)

ศูนย์/สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ แก้

  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
  • ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
  • ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัวและ SMEs
  • ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า
  • ศูนย์ศึกษาและวิจัยสื่อสารมวลชนอาเซียน
  • ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ศูนย์รับออกแบบและปรึกษางานอิเล็กทรอนิกส์
  • ศูนย์วิจัยโลจิสติกส์
  • ศูนย์ศึกษาการค้าอาเซียนและลาตินอเมริกา
  • ศูนย์บริการวิชาการ
  • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
  • สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED)

ชมรม แก้

อันดับมหาวิทยาลัย แก้

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อยู่ในอันดับที่ 2,652 ของโลก อันดับที่ 81 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 30 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[2]

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia
  1. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
  2. Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°46′42″N 100°33′36″E / 13.778388°N 100.559964°E / 13.778388; 100.559964