มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (อังกฤษ: Songkhla Rajabhat University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล วิทยาลัยครูสงขลา, สถาบันราชภัฏสงขลา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดังเช่นปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรภ.สข. / SKRU
คติพจน์เป็นคนดี มีทักษะชีวิต มีจิตสาธารณะ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
อธิการบดีทัศนา ศิริโชติ[1]
ที่ตั้ง
เลขที่ 160 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
สี████ สีขาว สีแดง
เว็บไซต์www.skru.ac.th

ประวัติ แก้

ในปี พ.ศ. 2462 ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราชและธรรมการจังหวัดสงขลา ได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล" ขึ้น เพื่อผลิตครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา เรียกว่า "ครูประกาศนียบัตรมณฑล" ต่อมา ในปี พ.ศ. 2468 ธรรมการมณฑลได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลนครศรีธรรมราช" เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมูล" หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดสงขลา" เมื่อปี พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้ย้ายมาตั้งที่อำเภอหาดใหญ่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา" ในปี พ.ศ. 2498

ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสงขลา" และสามารถจัดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ ได้ตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม “ ราชภัฏ ” แทนชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ดังนั้น วิทยาลัยครูสงขลา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสงขลา" และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย แก้

สีแดง หมายถึง ความรัก ความเข้มแข็ง
สีขาว หมายถึง ความถูกต้อง ความบริสุทธิ์
ดังนั้น สีแดง - สีขาว หมายถึง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามด้วยความบริสุทธิ์ใจ

หน่วยงาน แก้

วิทยาเขตสตูล แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้