กุลนภา เศวตศิลา เป็นที่รู้จักในชื่อ มยุรา เศวตศิลา เดิมใช้ชื่อว่า มยุรา ธนะบุตร (นามเดิม รัตนา ชาตะธนะบุตร; เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น ตั๊กแตน หรือ ตั๊ก เป็นนักแสดงและพิธีกรหญิงชาวไทยเชื้อสายจีน

มยุรา เศวตศิลา
ชื่ออื่นมยุรา ธนะบุตร, อัมพิกา ธนะบุตร, มยุรา เศวตศิลา, กุลนภา เศวตศิลา
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
รัตนา ชาตะธนะบุตร
คู่สมรสธาดา เศวตศิลา (พ.ศ. 2527–ปัจจุบัน)
อาชีพนักแสดง พิธีกร ยูทูบเบอร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2518–ปัจจุบัน
ผลงานเด่น7 สีคอนเสิร์ต
ชิงร้อยชิงล้าน
เพลงติดดาว
สบาย ๆ สไตล์มยุรา
ระเบิดเถิดเทิง
เกมจารชน
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
2531—พ่อปลาไหล แม่พังพอน
ชมรมวิจารณ์บันเทิงผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
2534—เวลาในขวดแก้ว
ThaiFilmDb

ประวัติ แก้

มยุรา เศวตศิลา มีชื่อแต่แรกเกิดว่า รัตนา ชาตะธนะบุตร มีชื่อเล่นว่า ตั๊กแตน หรือ ตั๊ก เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสี่คน บิดาเป็นชาวจีนไหหลำอพยพ มยุราสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ วิชาเอกคีตศิลป์สากล วิชาโทบัลเล่ต์ เป็นนางแบบปกนิตยสารลลนา ถ่ายโฆษณาสบู่ดาร์ลิ่ง ใช้ชื่อในการถ่ายแบบว่า อัมพิกา ธนะบุตร[ต้องการอ้างอิง]

วงการบันเทิง แก้

มยุราเป็นนางเอกภาพยนตร์โดยการชักนำของพร้อมสิน สีบุญเรือง (พันคำ) โดยครั้งแรกพันคำตั้งใจจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง "ทิวาหวาม" ให้ นัยนา ชีวานันท์ รับบทนางเอก แต่ทางต้นสังกัดคือ ละโว้ภาพยนตร์ ไม่ยอมปล่อยตัวนัยนามารับบท พันคำจึงเลือกมยุรามารับบทนี้แทน พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า "วันวิสาข์" ตามชื่อนางเอกในเรื่อง แต่ในที่สุด ละโว้ภาพยนตร์ได้ยอมให้นัยนามารับบทนำในที่สุด มยุราจึงพลาดบทวันวิสาข์ไปอย่างน่าเสียดาย[1]

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน ดอกดิน กัญญามาลย์ ได้ติดต่อให้มยุรามารับบทนางเอกภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “แหม่มจ๋า” และได้ตั้งชื่อในวงการให้ว่า "มยุรา ธนะบุตร" ภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในภาพยนตร์จากหลายเรื่องของดอกดินที่ทำรายได้สูงเกินหนึ่งล้านบาท หรือที่มักเรียกกันว่า "ล้านแล้วจ้า" จึงถือได้ว่ามยุราประสบความสำเร็จอย่างมากในการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก

หลังจากนั้นมยุรายังคงเป็นนางเอกภาพยนตร์ของดอกดินต่อไป ได้แก่ มือปืนพ่อลูกอ่อน, กุ้งนาง, สิงห์สำออย, แม่ดอกกัญชา, ไอ้แปดนิ้ว ภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น บ่อเพลิงที่โพทะเล, กระดังงากลีบทอง, ชื่นชีวานาวี, ซูเปอร์ลูกทุ่ง, 7 ป่าช้า, เท่งป๊ะต๊ะติ๊งโหน่ง ฯลฯ

มยุราแสดงภาพยนตร์อยู่ระยะหนึ่งจึงหันเข้าสู่วงการละคร ประเดิมด้วยละครของช่อง 3 เรื่อง "กุลปราโมทย์" โดยมีรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง เป็นผู้ชักจูง

พิธีกร แก้

มยุราเริ่มบทบาทการเป็นพิธีกรเมื่อสุรางค์ เปรมปรีดิ์ มอบหมายให้เป็นพิธีกรในรายการ 7 สีคอนเสิร์ต คู่กับธงไชย แมคอินไตย ซึ่งเป็นรายการสด เริ่มออกอากาศครั้งแรก 4 มกราคม 2529 ณ ลานเพลิน 7 สี ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี จนเธอได้รับเลือกให้เป็นพิธีกรในเวทีต่าง ๆ มากมาย เช่น เวทีการประกวดนางสาวไทย เวทีการประกวดมิสทีนไทยแลนด์ เวทีการประกาศผลรางวัลเมขลา ผู้ประกาศรายการช่อง 7

หลังจากนั้นมยุราก็ได้ก้าวสู่การเป็นพิธีกรของบริษัทเวิร์คพอยท์ ในรายการชิงร้อยชิงล้าน คู่กับปัญญา นิรันดร์กุล ทำให้มยุรากลายเป็นพิธีกรชื่อดังของเมืองไทยในเวลาไม่นาน ในยุคนั้นพิธีกรหญิงที่โด่งดังพร้อม ๆ กับเธอ เช่น อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ, ดวงตา ตุงคะมณี, ญาณี จงวิสุทธิ์ และผุสชา โทณะวณิก เป็นต้น

มยุราออกจากงานพิธีกรรายการชิงร้อยชิงล้านภายหลังจากที่เธออัดเทปรายการดังกล่าวช่วงกลางดึกของวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเธอทำหน้าที่พิธีกรคู่กับปัญญา นิรันดร์กุล มากว่า 22 ปี[2] ด้วยเหตุผลว่า ถึงจุดอิ่มตัว และไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากนักแสดงใหม่ ๆ ได้แย่งบทบาทสำคัญไป และยืนยันว่าเธอมิได้มีปัญหากับบมจ.เวิร์คพอยท์ หรือปัญหาด้านสุขภาพแต่อย่างใด[3] จนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 มยุราและปัญญาได้พบและปรับความเข้าใจกัน แต่เธอก็คงปฏิเสธที่จะกลับไปเป็นพิธีกรรายการชิงร้อยชิงล้าน[4]

อุบัติเหตุ แก้

ต้นเดือนพฤศจิกายน 2522 มยุราได้เดินทางไปเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง "ล่านรก" และถ่ายทำ ที่จังหวัดกำแพงเพชร เช้ามืดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 มยุราเดินทางกลับกรุงเทพโดยอาศัยรถมากับ อุเทน บุญยงค์ และมีคุณแม่ของมยุรา นั่งมาด้วย เมื่อมาถึงแยกนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรถบรรทุกวิ่งออกมาจากทางแยกตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด คนขับรถของคุณอุเทน ได้หักหลบทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ มยุราได้รับบาดเจ็บสาหัส ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และพ้นขีดอันตรายในเวลาต่อมา อุบัติเหตุในครั้งนั้นทำให้มยุราต้องตัดมดลูกทิ้งเพราะบอบช้ำมากและเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง[5]

หลังจากพักรักษาตัวสักระยะหนึ่ง มยุรากลับมาแสดงละครอย่างจริงจัง (ภาพยนตร์ยังคงแสดงอยู่บ้างแต่เป็นบทรอง) ละครที่สร้างชื่อเสียง เช่น แก้วกลางดง (คู่อนุสรณ์ เตชะปัญญา), ถนนไปดวงดาว (คู่นพพล โกมารชุน), ด้วยปีกของรัก (คู่อนุสรณ์ เตชะปัญญา), ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (คู่ปิแอร์ เดอลาลองก์), บ้านสอยดาว (คู่ธงไชย แมคอินไตย), เก้าอี้ขาวในห้องแดง (คู่นพพล โกมารชุน), คลื่นเสน่หา (คู่นพพล โกมารชุน) ฯลฯ

ชีวิตส่วนตัว แก้

สุขภาพ แก้

เมื่อคราวประสบอุบัติเหตุเมื่อปี 2522 เธอได้รับการถ่ายเลือดปริมาณมากจากผู้บริจาค ทำให้เธอได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี[6] เธอเข้ารับการรักษาด้วยยาทุกสัปดาห์ เป็นเวลาประมาณ 1 ปี จึงหายเป็นปกติ[7] แต่ระหว่างนั้นเธอก็มีอาการคุ้มดีคุ้มร้าย ซึ่งเป็นผลจากยาที่ใช้ในการรักษา ด้วยอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดทำให้คนใกล้ชิดและลูกจ้างได้รับผลกระทบ[8]

ครอบครัว แก้

มยุราสมรสกับธาดา เศวตศิลา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2527 ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน ทั้งนี้ เป็นผลจากการผ่าตัดของเธอหลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ก่อนหน้า[9] แต่เธอก็รับบุตรของน้องชายเธอมาเป็นบุตรสาวบุญธรรมและให้ใช้นามสกุลเศวตศิลาของสามี ชื่อ ณัชชา เศวตศิลา ชื่อเล่น น้ำตาล[10]

ผลงานภาพยนตร์ แก้

  • แหม่มจ๋า - สมบัติ, มยุรา, ประจวบ, ดลนภา, ชุมพร(2518)
  • มือปืนพ่อลูกอ่อน - สมบัติ, มยุรา, ประจวบ, ส.อาสนจินดา (2518)
  • กุ้งนาง - สมบัติ, มยุรา, ประจวบ, สายัณห์, ชุมพร (2519)
  • กระดังงากลีบทอง - สุริยา, มยุรา, มยุรฉัตร, ทาริกา, มานพ (2519)
  • บ่อเพลิงที่โพทะเล - สมบัติ, มยุรา, สายัณห์, ดวงดาว, ดวงใจ (2519)
  • ไอ้ตีนโต - กรุง, มยุรา, สมภพ (2520)
  • สิงห์สำออย - สมบัติ, มยุรา, ครรชิต, สุริยา, ประจวบ, ลักษณ์, ทาริกา (2520)
  • เงินคือพระเจ้า นาท, มยุรา, นิรุตติ์, สายัณห์, เมตตา, โขมพัสตร์ (2520)
  • สิงห์รถบรรทุก - สมบัติ, มยุรา, นิรุตติ์, มัตติกา (2520)
  • แม่ดอกกัญชา - สมบัติ, มยุรา, สุริยัน, ประจวบ, ส.อาสนจินดา, ลักษณ์ (2520)
  • ไอ้คุณเฉิ่ม - กรุง, สรพงศ์, มยุรา, เนาวรัตน์, สายัณห์, ครรชิต, ทาริกา, บู๊, ชูศรี, ล้อต๊อก, สมศักดิ์ (2520)
  • ชื่นชีวานาวี - ไพโรจน์, มยุรา, เศรษฐา, สมควร, เมตตา, ล้อต๊อก, มารศรี (2520)
  • ทรามวัยใจเด็ด - สรพงศ์, มยุรา, เศรษฐา, ล้อต๊อก, ชูศรี, สมศักดิ์ (2520)
  • อะไรกันวะ - กรุง, ล้อต๊อก, พิศมัย, นัยนา, มยุรา, ดวงชีวัน, นิรุตติ์ (2521)
  • 7 อาถรรพ์ - กรุง, มยุรา, สมภพ, ดวงนภา, สมควร, รัตนาภรณ์ (2521)
  • วัยรุ่นจอมคะนอง - สรพงศ์, พิศมัย, มยุรา, เนาวรัตน์, ยอดชาย, นิรุตติ์, มารศรี (2521)
  • มือปืนสติเฟื่อง - กรุง, มยุรา, สมภพ, สุพรรณี, รัตนาภรณ์ (2521)
  • ไอ้ 8 นิ้ว - สรพงศ์, มยุรา, สุริยา, นิภาพร, อดุลย์ (2521)
  • วัยแตกเปลี่ยว - สรพงศ์, มยุรา, ดอน, เศรษฐา, ลลนา (2521)
  • รักระแวง - สรพงศ์, มยุรา, ดวงใจ, เศรษฐา, ชูศรี, มารศรี (2521)
  • นักล่าผาทอง - กรุง, สรพงศ์, มยุรา, ทัศน์วรรณ, เปียทิพย์, ไพโรจน์, สะอาด, เปียทิพย์, ดวงใจ, มารศรี, ฉัตร (2521)
  • ซุปเปอร์ลูกทุ่ง กรุง, มยุรา, ล้อต๊อก, บู๊, มาลี, พงษ์ลดา (2521)
  • จ้าวธรณี - สมบัติ, นาท, สิงหา, มยุรา ,เนาวรัตน์ ,ทานทัต (2521)
  • เท่งป๊ะต๊ะติ้งโหน่ง - เด่น, เด๋อ, เทพ, มยุรา, พจนีย์, รัชนู (2521)
  • ลาบเลือด - สมบัติ, มยุรา, ไพโรจน์, ดวงใจ, ฤทธิ์, มานพ (2522)
  • ยอดหญิงต๊ะติ้งโหน่ง - เด๋อ, ดี๋, มยุรา ,วิยะดา, ล้อต๊อก (2522)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง - กรุง, พิศมัย, นัยนา, มยุรา (2522)
  • กู่แก้วนางคอย - สรพงษ์, นันทนา, มยุรา (2522)
  • รักพี่ต้องหนีพ่อ - กรุง, มยุรา, ภาวนา, สิงหา, เมตตา, ล้อต๊อก, สมพงษ์, (2522)
  • จากครูด้วยดวงใจ - สรพงศ์, ลลนา, มยุรา, เศรษฐา, ดวงใจ, สมศักดิ์, มารศรี, ทัศน์วรรณ, ดอน, บู๊, รุจิรา, ชูศรี (2523)
  • ช้ำเพราะรัก - วิฑูรย์, มยุรา ,นิรุตติ์ ,ทาริกา ,เดือนเต็ม (2523)
  • สู้อย่างสิงห์ - กรุง, อุเทน, มยุรา, เรวดี (2523)
  • สิงห์แม่น้ำแคว - กรุง, อุเทน, มยุรา, เรวดี (2523)
  • 7 ป่าช้า - พอเจตน์, สุพรรษา, มยุรา, สมภพ, ล้อต๊อก, สมพงษ์, ชูศรี (2523)
  • รักกันลั่นเปรี้ยง - ล้อต๊อก, เด๋อ, ปิยะมาศ, มยุรา, ชูศรี (2524)
  • ค่าของคน - พิศาล, เนาวรัตน์, อนุสรณ์, ธิติมา, มยุรา, พิราวรรณ (2524)
  • รักครั้งสุดท้าย - สรพงศ์, เนาวรัตน์, นพพล, มยุรา, พิศมัย, จุรี, ชูศรี (2524)
  • ตามรักตามฆ่า - สรพงศ์, โกวิท, สุพรรษา, เนาวรัตน์, มยุรา, พิศมัย, นพพล, เศรษฐา, ลักษณ์, ฤทธิ์ (2525)
  • วัยสะรุ่น - สมบัติ, มยุรา, ล้อต๊อก, ชูศรี (2525)
  • สะใภ้ตีนแดง - ทูน, เนาวรัตน์, มยุรฉัตร, ประจวบ, มยุรา (2525)
  • นักเลงโตเมืองอีสาน - สรพงศ์, เนาวรัตน์, นาท, มยุรา, พอเจตน์, ลักษณ์, เกชา, บู๊ (2525)
  • นางแมวป่า - เกรียงไกร, จารุณี, มยุรา, ปรัชญา (2525)
  • แว่วเสียงนางพราย - สรพงศ์, อาภาพร, มยุรา, ลักษณ์, เด๋อ (2525)
  • แววมยุรา - สรพงศ์, จารุณี, นาท, มยุรา, ธิติมา, พูนสวัสดิ์, มารศรี, ดี๋, บู๊ (2525)
  • เพชฌฆาตหน้าเป็น - สรพงศ์, วีนัส, พอเจตน์, วิฑูรย์, มยุรา, โกวิท, อุเทน, เศรษฐา, เปียทิพย์, ครรชิต, ศิริ (2525)
  • สะใภ้ลูกทุ่ง - ทูน, เนาวรัตน์, อนุสรณ์, มยุรา ,ส.อาสนจินดา, พงษ์ลดา (2525)
  • คนึงหา - ทูน, เนาวรัตน์, มยุรา, สายัณห์, ดี๋, ดอน (2525)
  • หล่อลากดิน - ทูน, เนาวรัตน์, ลักษณ์, มยุรา, ไพรวัลย์ (2525)
  • แม่หัวลำโพง - สรพงศ์, นาท, อภิรดี, มยุรา, วิยะดา, ล้อต๊อก, รอง, เด๋อ (2526)
  • เล่นไม่ยาก - ไกรสร, เนาวรัตน์, เด๋อ, ดู๋, ดี๋, ล้อต๊อก, มยุรา, สมควร, สีเทา, มาลี (2526)
  • แก้วขนเหล็ก - ทูน, อภิรดี, สมภพ, มยุรา, ปรัชญา, พรพรรณ (2526)
  • เห่าดง - สรพงศ์, ม.ล.สุรีย์วัล, โกวิท, นาท, มยุรา, อรัญญา, เศรษฐา, ครรชิต, เปียทิพย์, อัญชลี, อุเทน, มารศรี, ศิริ (2526)
  • เงิน เงิน เงิน - เกรียงไกร, อภิรดี, ล้อต๊อก, มยุรา, อโนเชาว์, เศรษฐา, พิศมัย, เด๋อ, ดี๋, วิยะดา (2526)
  • ลำพูนดำ - สรพงศ์, อภิรดี, นาท, มยุรา, โกวิท, ธิติมา, สมจินต์, สมศักดิ์, เปียทิพย์, สุเชาว์ (2526)
  • พยัคฆ์ทมิฬ - สรพงศ์, อภิรดี, นาท, โกวิท, พอเจตน์, มยุรา, พิภพ (2526)
  • หุ่น - สมภพ, มยุรา, ศิริ, โกร่ง (2527)
  • คาดเชือก - สรพงศ์, มล.สุรีวัล, นิรุตติ์, มยุรา, มานพ, สมจินต์, ศรินทิพย์, ชาลี, ฉัตร, สมศักดิ์, ดี๋, เป็ด (2527)
  • โคตรคนจริง - สรพงศ์, จารุณี, มยุรา, พอเจตน์, มานพ, วิยะดา, บู๊ (2527)
  • บ้านสาวโสด ทูน, ปิยะมาศ, พิศมัย, เมตตา, มยุรา, สมควร, พงษ์ลดา (2527)
  • วันนั้นคงมาถึง - เกรียงไกร, จารุณี, มยุรา, นิรุตติ์, พิศมัย (2527)
  • เนื้อคู่ - สรพงศ์, เนาวรัตน์, อภิชาติ, มยุรา, ธิติมา, สมภพ, นิภาพร, รอง, รัตนาภรณ์, บู๊ (2528)
  • หลังคาแดง - ธงไชย, จินตหรา, มยุรา, อัจฉราพรรณ, ชลประคัลภ์, ธิติมา, ล้อต๊อก, สุเชาว์ (2530)
  • รักจ๋ามาแล้วจ้ะ - สันติสุข, จินตหรา, มยุรา, เกรียงไกร, วัชระ, เกียรติ, สุเชาว์, ธงชัย, ศิวะ (2530)
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน - สันติสุข, พิศาล, มยุรา, ศศิมาภรณ์, นิรุตติ์, วันทิพย์, ล้อต๊อก, ท้วม, บู๊, พูนสวัสดิ์ (2531)
  • เพราะว่าฉันรักเธอ - เสกสรร, ลลิตา, เกียรติ, วทัญญู, สุเทพ, มยุรา, เด่น (2531)
  • ทองประกายแสด - สันติสุข, รอน, ตฤณ, ชุดาภา, มยุรา, ดวงตา, มยุรฉัตร, ญาณี, บู๊, สุลาลีวัลย์, ชูศรี, ไกรลาศ, สมชาย (2531)
  • พริกขี้หนูกับหมูแฮม - ขจรศักดิ์, จันทร์จิรา, มยุรา, ชนาภา (2532)
  • เวลาในขวดแก้ว - นฤเบศร์, วาสนา, ปวีณา, จิตโสภิณ, มยุรา, จรัล, กำธร (2534)
  • ฝากฝันไว้เดี๋ยวจะเลี้ยวมาเอา - นฤเบศร์, กวินนา, วิทิต, ปราบ, ศิตา, ไพบูลย์เกียรติ, มยุรา, เกรียงไกร, ชุดาภา, สมพงษ์ (2535)
  • บนถนนคนนอนเปล - บิลลี่, สิเรียม, รุ้งทอง, ธิติมา, มยุรา, ท้วม (2535)
  • ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต - สมชาย, ศรัณย์, นันทวัฒน์, ศราวุธ, สายธาร, มยุรา, เศรษฐา (2537)
  • เรือนมยุรา - ศรัณยู, นุสบา, รุจน์, นุติ, บรรเจิดศรี, มยุรา (2539)
  • โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง - โหน่ง, เท่ง, สีเทา, ครรชิต, ปัญญา, มยุรา, หม่ำ (2549) (นักแสดงรับเชิญ)

ผลงานละคร แก้

มิวสิกวิดีโอ แก้

ผลงานเพลง แก้

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต เกาเหลาธงไชย (ไม่งอก) (2531)

รางวัลเกียรติยศทางการแสดง แก้

รางวัลเกียรติยศทางพิธีกร แก้

  • รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นปี 2530 จากรายการ " 7 สีคอนเสิร์ต"
  • รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นปี 2537 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นปี 2537 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • รางวัล VOTE AWARDS พิธีกรหญิงในใจผู้ฟังปี 2537 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • รางวัลรางวัลเทพทอง บุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ปี 2542 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • รางวัล TOP AWARDS 2000 พิธีกรหญิงยอดเยี่ยมปี 2543 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • TV GOSSIP AWARDS 2006 รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม 2549 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • TV GOSSIP AWARDS 2007 รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม 2550 จากรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
  • รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการหญิงเมขลามหานิยมแห่งปี 2555 จากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์

ผลงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ แก้

ปี รายการ ร่วมกับ สถานที่ ช่วงเวลา หมายเหตุ
2531-2537
2547-ปัจจุบัน
สบาย..สไตล์มยุรา ช่อง 3
ททบ.5
Facebook
YouTube:สบายสไตล์มยุรา
2547-ปัจจุบัน
วันอาทิตย์ เวลา 10.30 - 10.54 น. ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
วันพุธ เวลา 09.10-09.35 น.
วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 08.54 น.
วันอาทิตย์ เวลา 10.30 - 10.54 น.

งานเขียน แก้

  • หนังสือหลากชีวิต สบาย สไตล์ มยุรา (พ.ศ. 2543)
  • BEAUTY diary
  • มหัศจรรย์ชีวิต มยุรา เศวตศิลา (พ.ศ. 2555)

ซิทคอม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ชีวประวัติ มยุรา เศวตศิลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15.
  2. "อิ่มตัว22ปี "ตั๊ก- มยุรา"ยันออกพิธีกร"ชิงร้อยชิงล้าน"แล้ว รู้สึกไม่มีบทบาท ไร้ปัญหากับ"ปัญญา"". มติชน. 9 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ไร้บทบาท "ตั๊ก" ลา "เสี่ยตา" ถาวร". ผู้จัดการ. 13 ตุลาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "'ตั๊ก-มยุรา' ยิ้มร่า หวนคุย 'ปัญญา' สนิทใจเหมือนเดิม". ไทยรัฐออนไลน์. 20 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. เดลินิวส์ ฉ.10,980 วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522, หน้า 1-2.
  6. "เตรียมควักเงินเฉียดล้าน "ตั๊ก" สู้โรคร้าย ตามรอย "ปุ๊ ปิยะมาศ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  7. "'เจ๊ตั๊ก' เอาชนะโรคร้ายหาย 'ไวรัสตับอักเสบซี'" (Press release). ไทยรัฐ. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. ""ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา" เผยชีวิตที่ทรมานกับโรคร้าย อาการคุ้มดีคุ้มร้าย" (Press release). มติชน. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "พลิก"ชีวตมหัศจรรย์" ตั๊ก-มยุรา เศวตศิลา" (Press release). ข่าวสด. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "'GOD MOTHER' ในส่วนของการใช้ชีวิตขอเธอ จะค่อนข้างเข้มงวดมาก จนถึงขนาดเคยทำสัญลักษณ์ที่ขวดแชมพูสระผมที่ซื้อมาจากลอนดอน เพราะไม่ต้องการให้ใครมาใช้ของใช้ราคาแพงร่วมกับเธอมยุรา...!" (Press release). ไทยรัฐ. 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้