มณฑลไต้หวัน

มณฑลของสาธารณรัฐจีน

มณฑลไต้หวัน (จีน: 臺灣省; พินอิน: Táiwān Shěng) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐจีน เป็นมณฑลในนามที่ไม่มีหน้าที่ในการบริหาร[2][3] โดยอำนาจในการบริหารได้ถูกโอนไปยังรัฐบาลกลางและหน่วยงานเทศมณฑล

มณฑลไต้หวัน

臺灣省
ธงของมณฑลไต้หวัน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของมณฑลไต้หวัน
ตรา
แผนที่แสดงเขตการปกครองที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑล (สีแดง)
แผนที่แสดงเขตการปกครองที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑล (สีแดง)
พิกัด: 23°48′N 121°00′E / 23.8°N 121.0°E / 23.8; 121.0
ประเทศ สาธารณรัฐจีน
ก่อตั้ง25 ตุลาคม 1945
ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ21 ธันวาคม 1998
ยุบ1 กรกฎาคม 2018[1]
เมืองหลวงของมณฑลไม่มี[ก]
การปกครอง
 • องค์กรไม่มี[ข]
พื้นที่
 • ทั้งหมด25,110.0037 ตร.กม. (9,695.0266 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด7,060,473 คน
 • ความหนาแน่น280 คน/ตร.กม. (730 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมTaiwanese
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานไต้หวัน)
จำนวนนคร3
จำนวนเทศมณฑล11
ไต้หวัน
"ไต้หวัน" เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣 หรือ 台灣
อักษรจีนตัวย่อ台湾
ไปรษณีย์Taiwan
ชื่อย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม หรือ
อักษรจีนตัวย่อ
มณฑลไต้หวัน
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣 หรือ 台灣
อักษรจีนตัวย่อ台湾

มณฑลไต้หวันครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 69 ของพื้นที่ควบคุมจริงของสาธารณรัฐจีน และมีประชากรประมาณร้อยละ 31 ของประชากรทั้งหมด ในตอนแรก มณฑลนี้หมายรวมถึงเกาะไต้หวัน (ฟอร์โมซา), เผิงหู (เพสคาโดเรส), เกาะหลานยฺหวี่ (เกาะกล้วยไม้), เกาะกรีน, เกาะเสี่ยวหลิวฉิว และหมู่เกาะรอบ ๆ และเมื่อระหว่างปี 1967 และ 2014 นครปกครองโดยตรงหกแห่ง (ได้แก่ เกาสฺยง ซินเป่ย์ ไถจง ไถหนาน ไทเป และเถา-ยฺเหวียน) ได้แยกออกจากมณฑล และทั้งหมดดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรมาก

หน่วยงานบริหารประจำมณฑลไต้หวันก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 1945 หลังจากการปกครองของญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นในเดือนธันวาคม 1998 โดยมีการโอนหน้าที่บริหารไปยังสภาพัฒนาแห่งชาติและกระทรวงอื่น ๆ ของสภาบริหาร (Executive Yuan) และในเดือนกรกฎาคม 2018 หน่วยงานบริหารของมณฑลได้ถูกยุบ โดยนำงบประมาณและบุคลากรออก[3][4]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เขตปกครองในปัจจุบัน แก้

มณฑลไต้หวันในนามแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เทศมณฑล   และ 3 นคร   ในทางปฏิบัติเขตการปกครองทั้งหมดบริหารโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง

แผนที่ เลข ตรา ธง ชื่อ จีนกลาง
(พินอิน)
ฮกเกี้ยนไต้หวัน
(เป่อ่วยจี)
ฮักกาไต้หวัน
(พักฟ้าซื้อ)
1     เทศมณฑลจางฮว่า 彰化縣 Zhānghuà xiàn Chiong-hoà koān Chông-fa yen
2     นครเจียอี้ 嘉義市 Jiāyì shì Ka-gī chhī Kâ-ngi sṳ
3     เทศมณฑลเจียอี้ 嘉義縣 Jiāyì xiàn Ka-gī koān Kâ-ngi yen
4     นครซินจู๋ 新竹市 Xīnzhú shì Sin-tek chhī Sîn-tsuk sṳ
5     เทศมณฑลซินจู๋ 新竹縣 Xīnzhú xiàn Sin-tek koān Sîn-tsuk yen
6     เทศมณฑลฮวาเหลียน 花蓮縣 Huālián xiàn Hoa-liân koān Fâ-lièn yen
7     นครจีหลง 基隆市 Jīlóng shì Ke-lâng chhī Kî-lùng sṳ
8     เทศมณฑลเหมียวลี่ 苗栗縣 Miáolì xiàn Biâu-le̍k koān Mèu-li̍t yen
9     เทศมณฑลหนานโถว 南投縣 Nántóu xiàn Lâm-tâu koān Nàm-thèu yen
10     เทศมณฑลเผิงหู 澎湖縣 Pénghú xiàn Phêⁿ-ô͘ koān Phàng-fù yen
11     เทศมณฑลผิงตง 屏東縣 Píngdōng xiàn Pîn-tong koān Phìn-tûng yen
12     เทศมณฑลไถตง 臺東縣 Táidōng xiàn Tâi-tang koān Thòi-tûng yen
13     เทศมณฑลอี๋หลาน 宜蘭縣 Yílán xiàn Gî-lân koān Ngì-làn yen
14     เทศมณฑลยฺหวินหลิน 雲林縣 Yúnlín xiàn Hûn-lîm koān Yùn-lìm yen

นครปกครองโดยตรงต่าง ๆ อันได้แก่ เกาสง ซินเป่ย์ ไถจง ไถหนาน ไทเป และเถา-ยฺเหวียนนั้นอยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลาง และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลใด ๆ

รัฐพี่น้อง แก้

มณฑลไต้หวันเป็นมณฑลพี่น้องกับ 42 รัฐของสหรัฐ[5]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1945–2018: หน่วยงานบริหารมณฑลไต้หวัน

อ้างอิง แก้

  1. 賴清德拍板!省政府7月1日解散、省級機關預算將歸零. ettoday.net (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 2018-06-28.
  2. "Local governments". Office of the President Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 30 November 2020.
  3. 3.0 3.1 Sarah Shair-Rosenfield (November 2020). "Taiwan combined" (PDF). The University of North Carolina at Chapel Hill. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  4. Sherry Hsiao (29 June 2018). "Provincial-level agencies to be defunded next year". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  5. "Taiwan Provincial Administration Information Hall". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
  6. "Welcome to the Ohio Department of Development". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-17.
  7. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bush, R. & O'Hanlon, M. (2007). A War Like No Other: The Truth About China's Challenge to America. Wiley. ISBN 0-471-98677-1
  • Bush, R. (2006). Untying the Knot: Making Peace in the Taiwan Strait. Brookings Institution Press. ISBN 0-8157-1290-1
  • Carpenter, T. (2006). America's Coming War with China: A Collision Course over Taiwan. Palgrave Macmillan. ISBN 1-4039-6841-1
  • Cole, B. (2006). Taiwan's Security: History and Prospects. Routledge. ISBN 0-415-36581-3
  • Copper, J. (2006). Playing with Fire: The Looming War with China over Taiwan. Praeger Security International General Interest. ISBN 0-275-98888-0
  • Federation of American Scientists et al. (2006). Chinese Nuclear Forces and U.S. Nuclear War Planning
  • Gill, B. (2007). Rising Star: China's New Security Diplomacy. Brookings Institution Press. ISBN 0-8157-3146-9
  • Shirk, S. (2007). China: Fragile Superpower: How China's Internal Politics Could Derail Its Peaceful Rise. Oxford University Press. ISBN 0-19-530609-0
  • Tsang, S. (2006). If China Attacks Taiwan: Military Strategy, Politics and Economics. Routledge. ISBN 0-415-40785-0
  • Tucker, N.B. (2005). Dangerous Strait: the U.S.-Taiwan-China Crisis. Columbia University Press. ISBN 0-231-13564-5

แหล่งข้อมูลอื่น แก้