มกร (/มะ-กอน/ หรือ /มะ-กะ-ระ/[1]) เป็นสัตว์ตามความเชื่อของพม่า ล้านนา สยาม และเขมร เรียกอีกอย่างว่า ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใด ๆ ออกมาทุกครั้ง เช่น มกรคายนาค

มกรศิลปะล้านนา จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ในเทววิทยาฮินดู มกร (สันสกฤต: मकर, Makara) จัดเป็นสัตว์ประหลาดในทะเลชนิดหนึ่ง ปกติมักแสดงอยู่ในรูปของสัตว์ผสม ครึ่งหน้าอาจเป็นสัตว์บกอย่างรูปช้าง, จระเข้ หรือกวาง ครึ่งหลังเป็นรูปสัตว์น้ำ (มักเป็นส่วนหาง) เช่น หางเป็นปลา หรือท่อนหลังเป็นแมวน้ำ บางครั้งอาจปรากฏส่วนหางเป็นรูปนกยูงก็มี

มกรจัดเป็นเทพพาหนะสำหรับพระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งแม่น้ำคงคา และพระวรุณ เทพแห่งทะเลและสายฝน ทางความเชื่อของล้านนาจะใช้มกรในพิธีขอฝน[1] นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงของพระกามเทพอันมีชื่อว่า "การกะธวัช" อีกด้วย อนึ่ง มกรถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของราศีมกร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ราศีทางโหราศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันเรียกเป็นมกรด้วย ตามทางเข้าเทวสถานในศาสนาฮินดูและศาสนสถานในพุทธศาสนามักทำรูปมกรไว้เป็นอารักษ์ประจำปากทางนั้น ๆ

ในภาษาไทย มีการแผลงคำ "มกร" เป็น "มังกร" เพื่อใช้เรียกสัตว์สมมติอันตรงกับคำว่า "หลง" (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: และแต้จิ๋ว: เล้ง) ในภาษาจีนกลาง[1]

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

ที่ว่า หัวมังกุท้ายมังกร (มิใช่ หัวมังกุฎท้ายมังกร/หัวมงกุฎท้ายมังกร นะครับ อย่าใช้ผิด) คำว่า "มังกุ" ในที่นี้ น่าจะมาจากคำว่า "มกร" นี่เองนะครับ คำว่า "มังกุ" รู้แต่ว่าเป็นสัตว์ในเทพนิยาย แต่ก็ไม่ได้บอกว่าลักษณะเป็นเช่นใด

ส่วน "มกร" ก็เป็นสัตว์ในเทพนิยายเช่นกัน หากแต่จะมีการพรรณาว่ามีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นไปตามจินตนาการของผู้คิด และที่แปลกคือ คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก พอเอ่ยชื่อ "มกร" ก็จะทำหน้างงๆ?

แต่ที่แน่ๆ "มกร" ก็กลายมาเป็น "มังกร" ในที่สุด ซึ่งก็พอจะรู้จักกันดี

คำ หัวมังกุท้ายมังกร มีความหมายว่า ในสิ่งเดียวกันนั้น เข้ากันไม่ได้ ขัดแย้งกัน ดูแปลกๆพึลึกกึกกือยังไงไม่รู้? ชวนรู้สึกทะแม่งๆ ไม่น่าจะเป็นไปได้

เช่น การเมืองไทย เป็นแบบหัวมังกุท้ายมังกร เพราะระบอบประชาธิปไตยต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่นี่ กลับมาจากการยึดอำนาจ

นักการเมืองสักแต่บอกให้คนไทยรักชาติ ซื่อสัตย์ แต่ตัวเองกลับโกงกินซะเอง เป็นต้น

ตามบันไดวัด ที่เห็นเป็นรูปพญานาค มักจะเรียก "บรรไดนาค" นั้น ถ้าจะสังเกตดีๆ จะเห็นว่า เป็นนาคแต่ส่วนเศียร หรือ หัว เท่านั้น

ส่วนลำตัว ตลอดจรดหาง ดูให้ดี !! จะมีสัตว์อีกตัว กำลังเขมือบนาคตัวนั้นอยู่ เกือบทั้งตัว เป็นเช่นนี้ทุกที่ แต่คนก็ไม่ค่อยรู้ ซึ่งสัตว์ที่ว่านี้แหละคือ "มกร หรือ มังกร ไงครับ

คหสต สันติ ป (facebook santi phiamkunakorn) 25/3/67

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ประดิษฐ์พงษ์, เอกพงศ์ (2011-12-02). "มกร-มอมสัตว์จินตการเฝ้าพุทธสถาน". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.