ภูเวียงโกซอรัส

ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phuwiangosaurus; หมายความว่า "สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง") เป็นสกุลของไดโนเสาร์พันธุ์ไททาโนซอร์จากยุคครีเทเชียสตอนต้น (Valanginian-Hauterivian) ในหมวดหินเสาขัว ประเทศไทย ชนิดต้นแบบ P. sirindhornae ได้รับการบรรยายลักษณะโดย Martin, Buffetaut และ Suteethorn ในข่าวประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2536[2] และตั้งชื่ออย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2537[3] กรมทรัพยากรธรณีขอพระราชทานชื่อชนิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[1] เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านที่สนพระทัยงานในด้านธรณีวิทยา และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย

ภูเวียงโกซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Valanginian ตอนปลาย - Hauterivian ตอนต้น,
~133.6–132.1Ma
กระดูกต้นขา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
เคลด: ไดโนเสาร์
เคลด: ซอริสเกีย
เคลด: Sauropodomorpha
เคลด: ซอโรพอด
เคลด: Macronaria
วงศ์: Euhelopodidae
สกุล: ภูเวียงโกซอรัส
Martin, Buffetaut and Suteethorn, 1994
ชนิดต้นแบบ
Phuwiangosaurus sirindhornae
Martin, Buffetaut and Suteethorn, 1994

Phuwiangosaurus เดิมจัดให้อยู่ในกลุ่ม Titanosauria แต่งานวิจัยช่วงล่าสุดจัดให้มีตำแหน่งฐานภายใน Titanosauriformes การวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่เสนอโดย D'Emic (2012), Mannion et al. (2013), และ Mocho et al. (2014) จัดให้ Phuwiangosaurus อยู่ใน Euhelopodidae ร่วมกับไดโนเสาร์สกุลอื่นอย่าง Euhelopus และ Tangvayosaurus[4][5][6] การวิเคราะห์อื่น ๆ ไม่สามารถหาข้อมูลสนับสนุนการจัดกลุ่มได้[7] เช่น การจัดให้มาจากหลายชาติพันธุ์ที่ฐานของ Somphospondyli[5][8]

การค้นพบและตั้งชื่อ แก้

มีการค้นพบตัวอย่างชนิด ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงใน พ.ศ. 2525 และมีการขุดและเตรียมการต่อไปอีกหลายปี โดย Valérie Martin, Eric Buffetaut และวราวุธ สุธีธร อธิบายตัวอย่างชนิดนี้ให้เป็นสกุลและชนิดใหม่เป็น Phuwiangosaurus sirindhornae ใน พ.ศ. 2537 ชื่อสกุลมาจากภูเวียง บริเวณที่มีการค้นพบฟอสซิล ส่วนชื่อชนิดอุทิศให้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสำหรับความสนพระทัยในด้านบรรพชีวินวิทยาของประเทศไทย[9]

ฟอสซิล แก้

รายละเอียด แก้

 
เทียบขนาดกับมนุษย์

ภูเวียงโกซอรัสเป็นซอโรพอดขนาดกลางที่มีความยาวเกือบ 15 ถึง 20 เมตร (49 ถึง 66 ฟุต)[10] โดยมีมวลประมาณ 17 ตัน[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่
  2. Martin, V.; E. Buffeataut; V. Suteethorn (1993). "Jurassic sauropod dinosaurs of Thailand: a preliminary report". ใน T. Thanasutipital (บ.ก.). Proceedings of the International Symposium on Biostratigraphy of mainland Southeast Asia. Chiang Mai University. pp. 415–425.
  3. Martin, V.; E. Buffeataut; V. Suteethorn (1994). "A new genus of sauropod dinosaur from the Sao Khua formation (Late Jurassic or early Cretaceous) of northeastern Thailand". Comptes rendus de l'Académie des Sciences de Paris. 319 (2): 1085–1092. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  4. D'Emic, M. D. (2012). "The early evolution of titanosauriform sauropod dinosaurs". Zoological Journal of the Linnean Society. 166 (3): 624–671. doi:10.1111/j.1096-3642.2012.00853.x. hdl:2027.42/94293.
  5. 5.0 5.1 Mannion, P. D.; Upchurch, P.; Barnes, R. N.; Mateus, O. (2013). "Osteology of the Late Jurassic Portuguese sauropod dinosaur Lusotitan atalaiensis (Macronaria) and the evolutionary history of basal titanosauriforms". Zoological Journal of the Linnean Society. 168: 98–206. doi:10.1111/zoj.12029.
  6. Mocho, P.; Royo-Torres, R.; Ortega, F. (2014). "Phylogenetic reassessment of Lourinhasaurus alenquerensis, a basal Macronaria (Sauropoda) from the Upper Jurassic of Portugal". Zoological Journal of the Linnean Society. 170 (4): 875–916. doi:10.1111/zoj.12113.
  7. D'Emic, M. D. (2013). "Revision of the sauropod dinosaurs of the Lower Cretaceous Trinity Group, southern USA, with the description of a new genus". Journal of Systematic Palaeontology. 11 (6): 707–726. doi:10.1080/14772019.2012.667446. S2CID 84742205.
  8. Zaher, H.; Pol, D.; Carvalho, A.B.; Nascimento, P.M.; Riccomini, C.; Larson, P.; Juarez-Valieri, R.; Pires-Domingues, R.; da Silva Jr, N.J.; de Almeida Campos, D. (2011). "A complete skull of Early Cretaceous sauropod and the evolution of advanced titanosaurians". PLOS ONE. 6 (2): e16663. Bibcode:2011PLoSO...616663Z. doi:10.1371/journal.pone.0016663. PMC 3034730. PMID 21326881.
  9. Martin, Buffetaut & Suteethorn 1994, p. 1089.
  10. Martin, Suteethorn & Buffetaut 1999, p. 42.
  11. Paul 2010, p. 205.

ข้อมูล แก้