เขาเปอเล

(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาไฟเปอเล)

เขาเปอเล (ฝรั่งเศส: Montagne Pelée, [mɔ̃taɲ pəle]; ครีโอลแอนทิลลีส: Montann Pèlé, แปลว่า "ภูเขาหัวล้าน" หรือ "ภูเขาถูกปอก")[3] เป็นภูเขาไฟมีพลังบนปลายด้านทิศเหนือของเกาะมาร์ตีนิก (ดินแดนทะเลของฝรั่งเศสในทะเลแคริบเบียน) มีลักษณะเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนกรวยประกอบด้วยชั้นของเถ้าธุลีภูเขาไฟและลาวาที่แข็งตัว[4] การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2475[2][5]

เขาเปอเล
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,397 เมตร (4,583 ฟุต) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
1,381 เมตร (4,531 ฟุต)
พิกัด14°49′N 61°10′W / 14.817°N 61.167°W / 14.817; -61.167พิกัดภูมิศาสตร์: 14°49′N 61°10′W / 14.817°N 61.167°W / 14.817; -61.167
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาเปอเลตั้งอยู่ในมาร์ตีนิก
เขาเปอเล
เขาเปอเล
ที่ตั้งในมาร์ตีนิก
ที่ตั้งมาร์ตีนิก
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินมากกว่า 89 ปี
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟLesser Antilles Volcanic Arc
การปะทุครั้งล่าสุดค.ศ. 1929–1932[2]
การพิชิต
เส้นทางง่ายสุดเดิน

การปะทุใน พ.ศ. 2445 ที่ทำลายเมืองแซ็ง-ปีแยร์ ฆ่าคนไป 29,000 ถึง 30,000 คนภายใน 2-3 นาที กลายเป็นภัยพิบัติจากภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20[6]

การปะทุเมื่อ พ.ศ. 2445 แก้

ก่อนที่จะเกิดการปะทุเมื่อ พ.ศ. 2445 เริ่มมีสัญญาณว่าเกิดพุแก๊สเพิ่มมากขึ้นในปล่อง Étang Sec ใกล้กับยอดเขามาตั้งแต่ฤดูร้อนใน พ.ศ. 2443 ไอน้ำที่ปะทุขึ้นมาเล็กน้อยใน พ.ศ. 2335 และ พ.ศ. 2394 แสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟลูกนี้ยังมีพลังและมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตราย คนพื้นเมืองชาวแคริบรู้จักภูเขาไฟลูกนี้ในฐานะ "ภูเขาอัคคี" จากการปะทุครั้งก่อนหน้าตั้งแต่โบราณกาล

แม้ว่าเวลาก่อนหน้านั้น เท่าที่มีคนทราบ ภูเขาไฟนี้ยังคงสงบเรื่อยมา แต่ก็เริ่มปะทุขึ้นในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2445 เมื่อต้นเดือนเมษายน ได้มีนักเดินทางบันทึกไว้ว่ามีไอกำมะถันลอยออกมาจากพุแก๊สใกล้กับยอดเขา แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญกับบันทึกครั้งนี้ เนื่องจากในอดีตเคยมีพุแก๊สเกิดขึ้นและหายไปอยู่หลายครั้ง

  • 23 เมษายน - ภูเขาไฟพ่นกรวดภูเขาไฟซึ่งตกโปรยปรายบนด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของภูเขาไฟ
  • 25 เมษายน - ยอดภูเขาไฟพ่นกลุ่มควันซึ่งเต็มไปด้วยหินและเถ้าธุลีออกมา แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงนัก
  • 26 เมษายน - พื้นที่รอบ ๆ เต็มไปด้วยเถ้าธุลีภูเขาไฟกระจัดกระจายอยู่ทั่ว แต่ทางฝ่ายบริหารของเมืองยังคงไม่ประกาศภาวะฉุกเฉิน
  • 27 เมษายน - นักเดินทางจำนวนมากปีนขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อสำรวจปล่อง Étang Sec ซึ่งขณะนั้นมีน้ำอยู่เต็ม เกิดเป็นทะเลสาบขนาดกว้าง 180 เมตร มีกองเศษหินภูเขาไฟสูง 15 เมตรตั้งอยู่ที่ด้านหนึ่งของทะเลสาบ มีเสียงคล้ายน้ำเดือดในหม้อดังออกมาจากใต้ดิน ขณะที่ในเมืองซึ่งอยู่ห่างจากภูเขาไฟถึง 4 ไมล์เริ่มมีกลิ่นรุนแรงของกำมะถันแพร่กระจายไปทั่ว
  • 30 เมษายน - น้ำในแม่น้ำแม่น้ำ Roxelane และ Rivière des Pères เอ่อล้น ไหลพัดพาเอาหินและต้นไม้ลงจากยอดเขา หมู่บ้าน Prêcheur และ Ste. Philomène ได้รับผลกระทบจากกลุ่มเถ้าธุลีที่พัดเข้าปกคลุมอย่างต่อเนื่อง
  • 2 พฤษภาคม - เวลา 11.30 น. เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงบนภูเขาไฟ ตามมาด้วยแผ่นดินไหว และควันดำหนาจำนวนมหาศาลพวยพุ่งขึ้น พื้นที่ครึ่งหนึ่งของเกาะด้านทิศเหนือถูกปกคลุมด้วยเถ้าธุลีและหินพัมมิซเป็นเม็ดละเอียด การระเบิดดำเนินอยู่ราว 5-6 ชั่วโมง ปศุสัตว์เริ่มล้มตายลงด้วยความโหยหิวและกระหายน้ำ เนื่องจากแหล่งน้ำและอาหารปนเปื้อนด้วยเถ้าธุลี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "La Montagne Pelée". Observatoire volcanologique et sismologique de la Martinique (ภาษาฝรั่งเศส). Institut de Physique du Globe de Paris. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  2. 2.0 2.1 "Pelee". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  3. Scarth, Alwyn (2002). La Catastrophe: The Eruption of Mount Pelee, the Worst Volcanic Eruption of the Twentieth Century. Oxford: Oxford University Press. p. 2. ISBN 0-19-521839-6.
  4. "Mount Pelee". Mount-pelee.com.
  5. "Glossary". NOAA. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
  6. การปะทุครั้งร้ายแรง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้