ภิญโญ นิโรจน์ เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นที่ปรึกษาสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดนครสวรรค์[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ภิญโญ นิโรจน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 25 กันยายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
พรรคการเมืองภูมิใจไทย
คู่สมรสอมรา นิโรจน์

ประวัติ แก้

ภิญโญ นิโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2494 ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายถาวร นิโรจน์ (เจ้าของถาวรฟาร์ม) กับนางสำเนาว์ นิโรจน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา[2]

ด้านครอบครัวได้สมรสกับ นางอมรา นิโรจน์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วนกลุ่มที่ 2 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

งานการเมือง แก้

ภิญโญ นิโรจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ต่อมาได้ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครในนามพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 5

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 6

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ดร.ภิญโญ นิโรจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต 1 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[3]

พ.ศ. 2562 ดร.ภิญโญ ได้ย้ายสังกัดยังพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ และได้รับการเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 7

ปัจจุบัน ได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 17

งานการศึกษา แก้

ภิญโญ นิโรจน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สมาคมนักวิทยุสมัครเล่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-09-19.
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. รายงานผลการเลือกตั้ง 2554[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (จำนวน ๑๒ ราย ๑. นายภิญโญ นิโรจน์ ฯ)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓