ภิญญา ช่วยปลอด (9 เมษายน พ.ศ. 2483 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565[1]) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภิญญา ช่วยปลอด
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2483
อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เสียชีวิต8 กันยายน พ.ศ. 2565 (82 ปี)
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ แก้

ภิญญา ช่วยปลอด เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2483 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]

ปี พ.ศ. 2553 ถูกศาลล้มละลายกลาง สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย[3] และปลดจากจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ในปี พ.ศ. 2557[4]

การเสียชีวิต แก้

ภิญญา ช่วยปลอด เสียชีวิต ณ โรงพยาบาลตำรวจเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สิริอายุรวม 82 ปี[1]

งานการเมือง แก้

อดีตเคยเป็นพนักงานธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด ต่อมา ภิญญา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกติดต่อกันเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2543[5]

ภิญญา ช่วยปลอด เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[6] ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533[7]

ภิญญา ช่วยปลอด เคยถูกตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติ โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. เมื่อปี พ.ศ. 2534[8][9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ภิญญา ช่วยปลอด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม

สมาชิกวุฒิสภา แก้

ภิญญา ช่วยปลอด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดสุราษฎร์ธานี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "สิ้น 'ภิญญา ช่วยปลอด' วัย 82 ปี อดีต รมช.พาณิชย์ ผู้ปลุกกระแสปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติด". มติชนออนไลน์. 2022-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ประวัตินายภิญญา ช่วยปลอด
  3. ศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด "ภิญญา ช่วยปลอด" นักการเมืองชื่อดัง อดีต รมช. พาณิชย์
  4. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ปลดลูกหนี้จากล้มละลาย (ศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ล. ๑๐๙๒/๒๕๕๓ นายภิญญา ช่วยปลอด ลูกหนี้)
  5. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี (นายภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณฺชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี)
  8. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  9. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  10. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี (นายภิญญา ช่วยปลอด)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-25.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑