ภาษาเฮอร์เตวิน เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกใช้พูดในหลายหมู่บ้านในจังหวัดซิอิรห์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่อพยพไปทางตะวันตก เหลือผู้พูดในตุรกีไม่มากนัก วิธภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษานี้ที่สุดคือภาษาแอราเมอิกใหม่โบห์ตัน[2] ภาษานี้ยังมีลักษณะร่วมกับภาษาตูโรโยหลายแห่ง

ภาษาเฮอร์เตวิน
ܣܘܪܬ Sôreth
ออกเสียง[ˈhɛrtəvən], [ˈsorɛθ]
ประเทศที่มีการพูดประเทศตุรกี
ภูมิภาคจังหวัดซีอีร์ท
จำนวนผู้พูด4 คน  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีรีแอก (แบบ Madnhāyâ)
รหัสภาษา
ISO 639-3hrt

ผู้พูดภาษานี้เป็นชาวคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดีย บ้านเดิมของพวกเขาอยู่ในหมู่บ้านในเฮอร์เตวิน ใกล้เมืองเปอร์วารี ในจังหวัดซิอิรท์ซึ่งถือว่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของบริเวณที่มีผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออก ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาษาเฮอร์เตวินเป็นสำเนียงที่พัฒนาขึ้นต่างจากภาษาใกล้เคียงอื่นๆ

ต้นกำเนิด แก้

ภาษาเฮอร์เตวินถูกจัดเป็นภาษาหนึ่งต่างหากโดย Otto Jastrow เมื่อ พ.ศ. 2513 และเขาได้อธิบายเกี่ยวกับภาษานี้ในอักสองปีต่อมา ลักษณะเด่นของภาษานี้ที่ต่างจากภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกด้วยกันคือ ไม่มีการแยกสรรพนามชี้เฉพาะ “นี่” กับ “นั่น” แต่ใช้กลุ่มของสรรพนามที่ครอบคลุมทั้งสองความหมายคือ awa aya และ ani มีการสร้างคำสรรพนามสำหรับคำว่า “สิ่งนี้ที่นี่” คือ oha eha และ anhi ผู้พูดภาษาเฮอร์เตวินจะพูดภาษาเคิร์ดได้ด้วย และอาจจะพูดภาษาอื่นๆได้อีก ภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีเรียค แต่เกือบจะไม่มีวรรณกรรมใดๆเหลืออยู่เลย ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคเป็นภาษาทางศาสนา

อ้างอิง แก้

  1. "Turkey - languages". สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
  2. THE STORY OF MEM U ZINE IN THE NEO-ARAMAIC DIALECT OF BOHTAN SE Fox - … LINGUISTICS PRESENTED TO GENE B. GRAGG, 2007 https://oi.uchicago.edu/sites/oi.uchicago.edu/files/uploads/shared/docs/saoc60.pdf#page=97

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้