ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณ (Old Persian) เป็นภาษาในจารึกซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีอายุราว 600-500 กว่าปีก่อนคริสตกาล ภาษานี้มีอายุไล่เลี่ยกับภาษาบาลีในอินเดีย และมีลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่คล้ายกันมาก เปอร์เซียโบราณเป็นภาษาของชาวอิหร่านที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลาง วิวัฒนาการมาจากภาษาอเวสตะซึ่งเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณ
𐎠𐎼𐎹 Ariya
ภูมิภาคอิหร่านโบราณ
ยุคพัฒนาเป็นภาษาเปอร์เซียกลางใน ป. 300 ปีก่อน ค.ศ.
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนคูนิฟอร์มภาษาเปอร์เซียเก่า
รหัสภาษา
ISO 639-2peo
ISO 639-3peo
นักภาษาศาสตร์peo
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ภาพร่างของคอลัมน์แรกของจารึกเบอิสตุน

การจัดจำแนก แก้

ภาษาเปอร์เซียโบราณอยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านโบราณ ซึ่งเป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้

วิวัฒนาการของภาษา แก้

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 ช่วงราชวงศ์อะแคมินิดตอนปลาย จารึกของอาร์ทาเซอร์เซสที่ 2 และที่ 3 มีความแตกต่างจากภาษาที่พบในจารึกของพระเจ้าดาริอุสมหาราชมากพอที่จะเรียกภาษาก่อนเปอร์เซียกลาง หรือภาษาหลังเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียโบราณนี้ ต่อมาจะพัฒนาไปเป็นภาษาเปอร์เซียกลาง และจะไปเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่อีกทอดหนึ่ง ศาสตราจารย์ Gillbert Lazard นักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาอิหร่านและเป็นผู้เขียนไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียได้กล่าวไว้ว่า

ภาษาที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่าภาษาเปอร์เซียใหม่ซึ่งมักจะเรียกในช่วงแรกของยุคอิสลามว่าภาษาปาร์ซี-ดารีสามารถจำแนกทางภาษาศาสตร์ว่ามีความเชื่อมโยงกับภาษาเปอร์เซียกลาง ซึ่งเป็นภาษาทางราชการและทางศาสนาในอิหร่านยุคซัสซาเนียน ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่เป็นภาษาในสมัยราชวงศ์อาแคมินิดอีกต่อหนึ่ง ภาษาเปอร์เซียทั้งสามช่วงแสดงความเป็นภาษาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง จุดกำเนิดอยู่ที่ฟาร์ และมีความแตกต่างทางด้านลักษณะและสำเนียงที่ชัดเจนจากสำเนียงอื่นๆที่พบทางอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออก

ภาษาเปอร์เซียกลางหรือบางครั้งเรียกภาษาปะห์ลาวี มีการพัฒนาโดยตรงมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ และใช้ในการเขียนอย่างเป็นทางการของประเทศ การเปรียบเทียบพัฒนาการในแต่ละขั้นตอนของภาษาแสดงคงามเหมือนกันทางด้านไวยากรณ์และประโยค

อักษร แก้

ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนจากซ้ายไปขวาโดยใช้อักษรรูปลิ่มแทนพยางค์ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 36 ตัว แสดงสระและพยัญชนะ มีโลโกแกรม 8 ตัว และมีเครื่องหมาย 3 ตัว