ภาษาอาหรับยิวแบกแดด

ภาษาอาหรับยิวแบกแดด (อังกฤษ: Baghdad Jewish Arabic; อาหรับ: عربية يهودية بغدادية, עַרָבִּיָּה יְהוּדִיַּה בַּגדָאדִיַּה‎) เป็นสำเนียงของภาษาอาหรับที่พูดโดยชาวยิวในแบกแดดและเมืองอื่นๆทางภาคใต้ของอิรัก ต่างจากสำเนียงของชาวยิวที่อยู่ทางภาคเหนือของอิรัก เช่น โมซูลและอานา สำเนียงแบกแดดและสำเนียงอิรักเหนือจัดเป็นสำเนียงย่อยของภาษาอาหรับอิรักของชาวยิว

ภาษาอาหรับยิวแบกแดด
ประเทศที่มีการพูดอิสราเอล, อิรัก
จำนวนผู้พูด(no estimate available)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ
อักษรฮีบรู
รหัสภาษา
ISO 639-3
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

การจัดจำแนก แก้

ภาษาอาหรับยิวแบกแดดคล้ายกับสำเนียงอิรักเหนือและสำเนียงในซีเรียแต่ต่างจากภาษาอาหรับแบกแดดที่พูดโดยชาวมุสลิม คาดกันว่าภาษาอาหรับยิวแบกแดดและภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือเป็นสำเนียงดั้งเดิมในเมโสโปเตเมีย ส่วนสำเนียงของชาวมุสลิมนั้นมาจากสำเนียงของชาวเบดูอิน ภาษาอาหรับยิวแบกแดดมีส่วนที่มาจากภาษาอราเมอิกเช่นเดียวกับภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือและภาษาอาหรับซีเรีย

ประวัติ แก้

ชาวยิวแบกแดดอพยพมาจากภาคเหนือของอิรักในช่วงที่ชาวมองโกลเข้ามาปกครองเมื่อราว พ.ศ. 1801 ส่วนใหญ่มาจากโมซูลและอเลบโป ชาวยิวแบกแดดจะพูดสำเนียงแบกแดดในหมู่ของตนและพูดสำเนียงของชาวมุสลิมเมื่อติดต่อกับชาวมุสลิม ภาษานี้ยังใช้ในหมู่ชาวยิวแบกแดดที่ไปตั้งรกรากที่อื่นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-25 ที่บอมเบย์ กัลกัตตา สิงคโปร์ฮ่องกง แมนเชสเตอร์ และอื่นๆ เมื่อมีการอพยพชาวยิวในอิรักไปอิสราเอล อิสราเอลจึงกลายเป็นศูนย์กลางของผู้พูดภาษาอาหรับยิวแบกแดด

อักขรวิธี แก้

ชาวยิวในแบกแดดเขียนภาษาอาหรับ-ยิวที่มีความแตกต่างจากภาษาพูดและใช้อักษรฮีบรู[1] โดยมีึัมภีร์ทางศาสนาจำนวนหนึ่งที่เขียนด้วยภาษานี้ เช่น คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปล กับ กอนูนุนนิซาอ์ (قانون النساء ของฮาคัม โยเซฟ ฮัยยิม

ตารางข้างล่างแสดงวิธีการอธิบายตัวอักษรของครูในแบกแดดจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้:[2]

อักษร รายละเอียด
א 'ábu 'áġbaʿ ġūs 'alēf
มีสี่หัว
ב ġazūna
เป็นช่อง
ג 'ábu jənḥ gimāl
มีปีก
ד nájaġ dāl
ขวานเล็ก
ה ġə́jla məqṭūʿa
อักษรขาขาด
ו 'ə́bġi wāw
เข็ม
ז dəmbūs zān
หมุด
ח 'əmm ġəjeltēn ṣāġ ḥēṯ
มีสองขาสมบูรณ์
ט ġə́jla b-báṭna ṭēṯ
ขาอักษรอยู่ในท้อง
י 'ə́xtak lə-zġayyġi yōd
น้องสาวของคุณ
כ ġazūna mdáwwġa kāf
ช่องกลม
ל l-jámal lamād
อูฐ
מ ġāsa zbibāyi mīm
หัวเป็นลูกเกด
נ čəngāl nūn
ตะขอ
ס mdáwwaġ səmmāx
วงกลม
ע 'ábu ġasēn ʿān
มีสองหัว
פ b-ṯə́mma zbibāyi
มีลูกเกดในปาก
צ ġasēn w-mə́ḥni ṣād
สองหัวและงอ
ק ġə́jlu ṭwīli qōf
อักษรขายาว
ר məčrūx rōš
โค้ง
ש 'ábu tláṯ-ġūs šīn
มีสามหัว
ת ġə́jla məʿġūja
อักษรขางอ
sálām 'alēf-lamād
สลาม (ศันติ)

สัทวิทยา แก้

ภาษาอาหรับยิวแบกแดดยังคงรักษาหน่วยเสียงของภาษาอาหรับคลาสสิกไว้ได้ เช่น /q/ ในภาษาอาหรับคลาสสิกยังคงเป็น /q/ ในภาษาอาหรับยิวแบกแดด และภาษาอาหรับแบกแดดของชาวคริสต์ แต่จะกลายเป็น /g/ ในสำเนียงของชาวมุสลิม

พยัญชนะ แก้

พยัญชนะภาษาอาหรับยิวแบกแดด[3]
ริมฝีปาก ฟัน หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ผนังคอ เส้นเสียง
เรียบ velarized เรียบ velarized
นาสิก m () n ()
ระเบิด ไม่ก้อง p t k q ʔ
ก้อง b () d ɡ
กักเสียดแทรก ไม่ก้อง t͡ʃ
ก้อง d͡ʒ
เสียดแทรก ไม่ก้อง f θ x ħ h
ก้อง (v) ð ðˠ ɣ ʕ
เปิด w j
ข้างลิ้น l ()
รัว r

สระ แก้

สระภาษาอาหรับยิวแบกแดด[4]
หน้า หลัง
iː i u uː
ə
eː e o oː
a aː

อ้างอิง แก้

  1. Mansour 1991, p. 15.
  2. Mansour 1991, pp. 190-191.
  3. Mansour 1991, p. 53.
  4. Mansour 1991, p. 70.

ข้อมูล แก้

  • Blanc, Haim. Communal Dialects in Baghdad: Harvard 1964.
  • Kees Versteegh, et al. Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics: Brill 2006.
  • Mansour, Jacob. The Jewish Baghdadi Dialect: Studies and Texts in the Judaeo-Arabic Dialect of Baghdad: The Babylonian Jewry Heritage Centre 1991.
  • Abū-Haidar, Farīda (1991). Christian Arabic of Baghdad. Otto Harrassowitz Verlag. ISBN 9783447032094.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้