ภาษาลิมบู (ลิมบู: ᤕᤠᤰᤌᤢᤱ ᤐᤠᤴ, yakthuṅ pan) เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ใช้พูดในเนปาล สิกขิม และตำบลดาร์จีลิงในรัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย โดยชาวลิมบู ซึ่งส่วนใหญ่จะพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาที่สอง ชื่อภาษา “ลิมบู” เป็นคำจากภาษาอื่นและไม่รู้ที่มา ชาวลิมบูเรียกตนเองว่า “ยักทุมบา” และเรียกภาษาของตนว่า “ยักทุงปัน” มีสำเนียงสำคัญสี่สำเนียงคือ ปันแทร์ เพดาเป ชัตแทร์ และทัมบาร์ โคเล สำเนียงปันแทร์เป็นสำเนียงมาตรฐาน ในขณะที่สำเนียงเพดาเปเป็นสำเนียงที่เข้าใจได้ทั่วไป สิ่งตีพิมพ์ในภาษาลิมบูมักพิมพ์ควบคู่ไปกับภาษาเนปาล ภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้ด้วย

ภาษาลิมบู
Yakthuṅ pan
ᤕᤠᤰᤌᤢᤱ ᤐᤠᤴ
yakthuṅ pan ในอักษรลิมบู
ประเทศที่มีการพูดรัฐสิกขิมและเนปาลตะวันออก
ภูมิภาคเนปาล; ชุมชนในภูฏาน; รัฐสิกขิมและตำบลดาร์จีลิงของอินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวลิมบู
จำนวนผู้พูด380,000  (2011 census)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Phedape, Chhathare, Tambarkhole, Miwakhole, Maiwakhole, Tamrange & Panthare
ระบบการเขียนอักษรลิมบู
อักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
รหัสภาษา
ISO 639-3lif

ศิริโยงะ แก้

 
อักษรลิมบู

ภาษาลิมบู ภาษาเลปชา และภาษาเนวารีเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต ที่ใช้พูดในแถบเทือกเขาหิมาลัยตอนกลางและมีตัวอักษรเป็นของตนเอง อักษรกีรันตีหรืออักษรลิมบูน่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าไปในสิกขิมเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23 อักษรลิมบูน่าจะประดิษฐ์ขึ้นในสมัยเดียวกับอักษรเลปชา โดยอักษรเลปชาประดิษฐ์ขึ้นโดยกษัตริย์องค์ที่ 3 ของสิกขิม พยักโด นัม-กยัล ส่วนอักษรลิมบูประดิษฐ์โดยวีรบุรุษของชาวลิมบู เต-องซี ศิริยูงะ หรือศิริโยงะ ผู้นับถือศาสนาพุทธแบบสิกขิมที่ถูกลอบสังหารโดยพระตซงตามคำสั่งของกษัตริย์สิกขิม ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ศิมะห์ ประทับ ชาห์เป็นกษัตริย์ของเนปาล อักษรทั้งสองชนิดแพร่หลายไปเพราะการเผยแพร่พุทธศาสนาในบริเวณนี้

อักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้ ได้รับอิทธิพลจากอักษรทิเบตและอักษรเทวนาครีแต่ไม่มีสระลอย การใช้ภาษาและวรรณคดีของภาษาลิมบูถูกควบคุมโดยรัฐบาลเนปาลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การใช้อักษรลิมบูกลายเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกฎหมาย ชาวลิมบูส่วนใหญ่จึงอ่านภาษาเนปาลีมากกว่าภาษาลิมบู

การตีพิมพ์ แก้

มีการตีพิมพ์เอกสารด้วยภาษาลิมบูจำนวนมาก Tanchoppa (ดวงดาวยามเช้า) เป็นวารสาร/หนังลือพิมพ์รายเดือนที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เอกสารที่เขียนด้วยภาษาลิมบูที่เก่าที่สุด เขียนเมื่อ พ.ศ. 2393 ต้นฉบับถูกเก็บรักษาที่ประเทศอังกฤษ

การสอน แก้

ในเนปาล การสอนภาษาลิมบูดำเนินการโดยเอกชน รัฐบาลเนปาลได้ตีพิมพ์หนังสือเรียนภาษาลิมบูสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา ส่วนในสิกขิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ได้มีการสอนอักษรลิมบูในโรงเรียนที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในบริเวณที่มีชาวลิมบูอยู่มาก มีนักเรียนมากกว่า 4,000 คนที่เรียนภาษาลิมบูประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวันทุกวัน มีหนังสือเรียนภาษาลิมบูถึงระดับมัธยมศึกษา

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาลิมบู ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

อ่านเพิ่ม แก้

  • Driem, George van (1987). A grammar of Limbu. (Mouton grammar library; 4). Berlin: Mouton de Gruyter. ISBN 3-11-011282-5
  • Limbu, Marohang (2017). Politics in Rhetoric and Writing in Paracolonial Context: A Glimpse of Limbu Language, Writing, and Literacy in Yakthung Laje. Journal of Global Literacies, Technologies, and Emerging Pedagogies, 4(1), 550-591.
  • Limbu, Marohang (2016). Politics of Rhetoric and Writing in the Non-Western World: Delinking, Relinking, and Linking Yakthung Epistemologies. Mikphulla Laje Inghang,10(10) 36-41.
  • Tumbahang, Govinda Bahadur (2007). A Descriptive Grammar Of Chhatthare Limbu. Kathmandu: Central Department of English Kirtipur. hdl:123456789/3017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้