ภาษามันดาอิก หรือเฉพาะเจาะจงคือ ภาษามันดาอิกคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนามันดาอี ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิก และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านอื่น ๆ ทั้งในด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ ภาษามันดาอิกคลาสสิก จัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกที่ใช้พูดในบาบิโลเนียและภาษาในเมโสโปเตเมียอื่น ๆ มีความใกล้เคียงกับภาษาซีเรียค ที่เป็นภาษาของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง

ภาษามันดาอิก
ࡋࡉࡔࡀࡍࡀ ࡃ ࡌࡀࡍࡃࡀࡉࡉ
Lishāna’d Mandāyì
ประเทศที่มีการพูดอิรักและอิหร่าน
ภูมิภาคอิรัก – แบกแดด, บัสรา อิหร่าน – ฆูเซสถาน
ชาติพันธุ์ชาวมันดาอี
จำนวนผู้พูด5,500  (2001–2006)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรมันดาอิก
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
mid – ภาษามันดาอิก
myz – ภาษามันดาอิกคลาสสิก
นักภาษาศาสตร์mid ภาษามันดาอิกใหม่
 myz ภาษามันดาอิกคลาสสิก
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลก (2010) ของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในสถานะใกล้สูญขั้นวิกฤต[2]

ภาษามันดาอิกใหม่ แก้

ภาษามันดาอิกใหม่พัฒนามาจากภาษามันดาอิก ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาแอราเมอิก ภาษาแอราเมอิกเคยใช้เป็นภาษากลางในยุคอัสซีเรียและอะคีเมนิด และเป็นภาษาสำหรับการติดต่อระหว่างชาติ หลังจากนั้น ภาษาแอราเมอิกพัฒนาออกไปเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มตะวันตกได้แก่ภาษาทัลมูดิกในปาเลสไตน์ ภาษาปาเลสไตน์ของชาวคริสต์ และภาษาซามาริทัน กับกลุ่มตะวันออก ได้แก่ ภาษาบาบิโลเนียยุคสุดท้าย ภาษาซีเรียคและภาษามันดาอิก

ภาษาที่ยังเหลืออยู่ของภาษาแอราเมอิกกลุ่มตะวันออกได้แก่ ภาษาแอราเมอิกใหม่กลาง (ภาษาตูโรโยและภาษามลาโซ) ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือ (เป็นกลุ่มใหญ่สุด ซึ่งรวมทั้งภาษาแอราเมอิกใหม่ในหมู่ชาวยิวและภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย) และภาษามันดาอิกใหม่ ส่วนภาษาที่เหลือรอดของกลุ่มตะวันตกมีภาษาเดียวคือภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกที่ใช้พูดในบางหมู่บ้านในดามัสกัส ในบรรดาภาษาที่เหลือรอดเหล่านี้ ภาษามันดาอิกใหม่จัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาแอราเมอิกโดยตรง ในทางไวยากรณ์ ภาษามันดาอิกใหม่มีลักษณะอนุรักษนิยมเมื่อเทียบกับภาษาอราเมอิใหม่กลุ่มตะวันออกอื่น ๆ โดยยังคงใช้การเชื่อมต่อปัจจัยแบบภาษาเซมิติกยุคเก่า

ภาษามันดาอิกใหม่เหลืออยู่สามสำเนียง ใช้พูดในเมืองซุซตาร์ ชาห์ วาลติ และเดซฟูล ในฆูเซสถานตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศอิหร่าน ชุมชนชาวมันดาอีในเมืองเหล่านี้อพยพออกในช่วง พ.ศ. 2523 และเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอะห์วาซและโคร์รัมชาห์ ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามอิรัก-อิหร่าน

ตัวอย่างข้อความ แก้

ข้อความข้างล่างนำมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษามันดาอิก[3]

มันดาอิก: ".ࡊࡅࡋ ࡀࡍࡀࡔࡀ ࡌࡀࡅࡃࡀࡋࡇ ࡀࡎࡐࡀࡎࡉࡅࡕࡀ ࡅࡁࡊࡅࡔࡈࡂࡉࡀࡕࡀ ࡊࡅࡉ ࡄࡃࡀࡃࡉࡀ. ࡄࡀࡁ ࡌࡅࡄࡀ ࡅࡕࡉࡓࡀࡕࡀ ࡏࡃࡋࡀ ࡏࡉࡕ ࡓࡄࡅࡌ ࡅࡆࡁࡓ ࡁࡄࡃࡀࡃࡉࡀ‎"

ปริวรรต: "kul ānāʃā māudālẖ āspāsiutā ubkuʃᵵgiātā kui hdādiā. hāb muhā utirātā ʿdlā ʿit rhum uzbr bhdādiā."

แปลไทย: "มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ"

อ้างอิง แก้

  1. ภาษามันดาอิก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ภาษามันดาอิกคลาสสิก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "Atlas of the world's languages in danger". unesdoc.unesco.org. p. 42. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
  3. "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights – Mandaic". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.

วรรณกรรม แก้

  • Theodor Nöldeke. 1862. "Ueber die Mundart der Mandäer," Abhandlungen der Historisch-Philologischen Classe der königlichen Gesellschaft der Wissenschaften zu Göttingen 10: 81–160.
  • Theodor Nöldeke. 1964. Mandäische Grammatik, Halle: Waisenhaus; reprint Darmstadt: Wissenschaftliche Buchgesellschaft with Appendix of annotated handnotes from the hand edition of Theodor Nöldeke by Anton Schall.
  • Svend Aage Pallis. 1933. Essay on Mandaean Bibliography. London: Humphrey Milford.
  • Franz Rosenthal. 1939. "Das Mandäische," in Die aramaistische Forschung seit Th. Nöldeke’s Veröffentlichungen. Leiden: Brill, pp. 224–254.
  • Ethel S. Drower and Rudolf Macuch. 1963. A Mandaic Dictionary. Oxford: Clarendon Press.
  • Rudolf Macuch. 1965. Handbook of Classical and Modern Mandaic. Berlin: De Gruyter.
  • Rudolf Macuch. 1989. Neumandäische Chrestomathie. Wiesbaden: Harrasowitz.
  • Macuch, Rudolf (1993). Neumandäische Texte im Dialekt von Ahwaz. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3447033827.
  • Joseph L. Malone. 1997. Modern and Classical Mandaic Phonology, in Phonologies of Asia and Africa, edited by Alan S. Kaye. Winona Lake: Eisenbrauns.
  • Rainer M. Voigt. 2007."Mandaic," in Morphologies of Asia and Africa, in Phonologies of Asia and Africa, edited by Alan S. Kaye. Winona Lake: Eisenbrauns.
  • Kim, Ronald (2008). "Stammbaum or Continuum? The Subgrouping of Modern Aramaic Dialects Reconsidered". Journal of the American Oriental Society. 128 (3): 505–510.
  • Müller-Kessler, Christa (2009). "Mandaeans v. Mandaic Language". Encyclopaedia Iranica.
  • Charles G. Häberl. 2009. The Neo-Mandaic Dialect of Khorramshahr. Wiesbaden: Harrassowitz.
  • Häberl, Charles G. (2012). "Neo-Mandaic". The Semitic Languages: An International Handbook. Berlin-Boston: Walter de Gruyter. pp. 725–737. ISBN 9783110251586.
  • Burtea, Bogdan (2012). "Mandaic". The Semitic Languages: An International Handbook. Berlin-Boston: Walter de Gruyter. pp. 670–685. ISBN 9783110251586.
  • Al-Mubaraki, Brayan Majid (2001). A Mandaean Language Teaching Book. Sydney. ISBN 0-9585705-9-0.
  • Al-Mubaraki, Brayan Majid; Mubaraki, Brayan; Al-Mubaraki, Majid Fandi (2006). A Mandaic Dictionary. Sydney: Mandaic Aramaic. ISBN 1-876888-10-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้