ภาษาบอนัน (Bonan language; ออกเสียง [p⁼aoˈnaŋ], Baonang; ภาษาจีน 保安语 Bǎoān) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลของชาวบอนันในประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2528 มีผู้พูดประมาณ 8,000 คน นอกจากชาวบอนันยังมีชาวมองเกอร์ในกานซูและชิงไห่ที่พูดภาษานี้ มีหลายสำเนียง ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนและภาษาทิเบต ที่รู้จักดีที่สุดคือสำเนียงตอนเกรน ไม่มีระบบการเขียน[1]

ภาษาบอนัน
ประเทศที่มีการพูดจีน
ภูมิภาคกานซู, ชิงไห่
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3peh
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

สัทวิทยา แก้

สัทวิทยาของภาษาบอนันได้รับอิทธิพลจากภาษาทิเบต มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำมาก เช่น [mp, nt, nt͡ɕ, ntʂ, ŋk, tʰχ, χt͡ɕ, rt͡ɕ, lt͡ɕ, ft, fk, ʂp, ʂk]

สัณฐานวิทยา แก้

ภาษาบอนันเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับภาษาอื่นในกลุ่มภาษามองโกล มี 5 การก โครงสร้างของคำกริยาซับซ้อน มีการกำหนดรูปชี้เฉพาะและไม่ชี้เฉพาะโดยใช้ปัจจัยเฉพาะหรือกริยาช่วย ภาษาบอนันเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา แต่การใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยกรรมจะพบได้เช่นกัน

ภาษาวูตัน แก้

ภาษาบอนันจัดเป็นแหล่งของไวยากรณ์และรากศัพท์จำนวนหนึ่งสำหรับภาษาวูตันซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาจีน ภาษาทิเบตและภาษาบอนัน ซึ่งเป็นภาษาที่พูดในมณฑลชิงไห่[2]

หมายเหตุ แก้

  1. Shoujiang Mi, Jia You (2004). Islam in China. 五洲传播出版社. p. 57. ISBN 7-5085-0533-6. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  2. Lee-Smith, Mei W.; Wurm, Stephen A. (1996), "The Wutun language", ใน Wurm, Stephen A.; Mühlhäusler, Peter; Tyron, Darrell T. (บ.ก.), Atlas of languages of intercultural communication in the Pacific, Asia, and the Americas, Volume 2, Part 1. (Volume 13 of Trends in Linguistics, Documentation Series)., Walter de Gruyter, p. 883, ISBN 3-11-013417-9

อ้างอิง แก้

  • Üjiyediin Chuluu (Chaolu Wu) (1994). Introduction, Grammar, and Sample Sentences for Baoan (PDF). Sino-Platonic Papers, 58.
  • Bu, He 布和; Liu, Zhaoxiong 刘照雄, บ.ก. (1982). Bǎo'ānyǔ jiǎnzhì 保安语简志 [A Brief Description of Baonan] (ภาษาจีน). Beijing: Renmin chubanshe.
  • Chen, Naixiong 陈乃雄, บ.ก. (1985). Bǎo'ānyǔ cíhuì 保安语词汇 [Baoan Vocabulary] (ภาษาจีน). Huhehaote: Neimenggu renmin chubanshe.
  • ———, บ.ก. (1986). Bǎo'ānyǔ huàyǔ cáiliào 保安语话语材料 [Baoan Language Materials] (ภาษาจีน). Huhehaote: Neimenggu renmin chubanshe.
  • Chen, Naixiong 陈乃雄; Cinggaltai 清格尔泰 (1986). Bǎo'ānyǔ hé Ménggǔyǔ 保安语和蒙古语 [Baoan and Mongolian Languages] (ภาษาจีน). Huhehaote: Neimenggu renmin chubanshe.
  • Fried, Robert Wayne (2010). A Grammar of Bao'an Tu: A Mongolic Language of Northwest China (วิทยานิพนธ์ Ph.D.) (ภาษาอังกฤษ). State University of New York at Buffalo. ProQuest 578487588 – โดยทาง ProQuest.