ภาษาบราฮุย (บราฮุย: براہوئی) เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนที่พูดโดยชาวบราฮุยบางส่วน โดยหลักมีผู้พุดในบริเวณตอนกลางของแคว้นบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน และมีชุมชนขนาดเล็กกระจายทั่วพื้นที่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และเติร์กเมนิสถาน[3] และโดยชาวบราฮุยที่อยู่ต่างประเทศในอิรัก, กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[4] ภาษานี้เป็นภาษาที่อยู่ห่างจากประชากรที่พูดภาษาตระกูลดราวิเดียนที่ใกล้ที่สุดในอินเดียใต้ด้วยระยะทางมากกว่า 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์)[2]

ภาษาบราฮุย
براہوئی
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-to
ประเทศที่มีการพูดปากีสถาน, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และเติร์กเมนิสถาน
ภูมิภาคแคว้นบาโลชิสถาน
ชาติพันธุ์ชาวบราฮุยและชาวบาโลจ
จำนวนผู้พูด2,640,000 คนในปากีสถาน (รวมผู้พูดทุกประเทศ 2,864,400 คน)  (2017 Census)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ (แนสแทอ์ลีฆ), อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3brh
บราฮุย (บนซ้ายไกล) ตั้งอยู่ห่างจากภาษาตระกูลดราวิเดียนอื่น ๆ ทั้งหมด[2]
แผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาบราฮุยอยู่ในภาษาเสี่ยงต่อการสูญหาย

เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านมาก เช่นจากภาษาบาโลจ เชื่อว่าเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เคยแพร่กระจายในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่ชาวอารยันจะอพยพเข้ามา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ชาวบราฮุยเป็นลุกหลานของกลุ่มชนที่เจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ขณะที่สมมติฐานอื่นเชื่อว่าภาษานี้เกิดจากการกลมกลืนกันของภาษากลุ่มดราวิเดียนและอินโด-อารยันในยุคก่อนพระเวท

อักขรวิธี แก้

อัหษรเปอร์เซีย-อาหรับ แก้

ภาษาบราฮุยเป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนภาษาเดียวที่ไม่ได้เขียนด้วยอักษรฐานพราหมี แต่ใช้อักษรอาหรับตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20:[5]

อักษร เทียบอักษรละติน สัทอักษรสากล
ا á, a, i, u /aː/, /ə/, /ɪ/, /ʊ/
ب b /b/
پ p /p/
ت t /t/
ٹ ŧ /ʈ/
ث (s) /s/
ج j /d͡ʒ/
چ c /t͡ʃ/
ح (h) /h/
خ x /x/
د d /d/
ڈ đ /ɖ/
ذ (z) /z/
ر r /ɾ/
ڑ ŕ /ɽ/
ز z /z/
ژ ź /ʒ/
س s /s/
ش ş /ʃ/
ص (s) /s/
ض (z) /z/
ط (t) /t/
ظ (z) /z/
ع ', (a), (i), (u) /ʔ/, /ə/, /ɪ/, /ʊ/
غ ģ /ɣ/
ف f /f/
ق (k) /k/
ک k /k/
گ g /g/
ل l /l/
ڷ ļ /ɬ/
م m /m/
ن n /n/
ں ń /ɳ/
و v /w~ʋ/
ہ h /h/
ھ (h) /h/
ی y, í /j/, /iː/
ے e /eː/

อักษรละติน แก้

เมื่อไม่นานมานี้ มีการประดิษฐ์อักษรวิธีฐานละตินชื่อว่า Brolikva (ชื่อย่อของ Brahui Roman Likvar) โดยคณะกรรมการภาษาบราฮุยประจำมหาวิทยาลัยบาโลชิสถานที่เควตตาและใช้งานในหนังสือพิมพ์ Talár

ข้างล่างนี้คืออักขรวิธี Bráhuí Báşágal Brolikva แบบใหม่:[6]

b á p í s y ş v x e z ź ģ f ú m n l g c t ŧ r ŕ d o đ h j k a i u ń ļ

ตัวอย่าง แก้

ไทย แก้

มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

อักษรอาหรับ แก้

مُچَّا اِنسَاںک آجو او اِزَّت نَا رِد اَٹ بَرےبَر وَدِى مَسُّنو. اوفتے پُهِى او دَلِىل رَسےںگَانے. اَندَادے وفتے اَسِ اےلو تون اِىلُمِى اے وَدِّفوئِى اے.

อักษรละติน แก้

Muccá insáńk ájo o izzat ná rid aŧ barebar vadí massuno. Ofte puhí o dalíl raseńgáne. andáde ofte asi elo ton ílumí e vaddifoí e.

อ้างอิง แก้

  1. "Brahui".
  2. 2.0 2.1 Parkin 1989, p. 37.
  3. "A slice of south India in Balochistan". 2017-02-18.
  4. "International Journal of Dravidian Linguistics, Volumes 36-37" department of linguistics, University of Kerala[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  5. "Бесписьменный язык Б." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
  6. Bráhuí Báşágal, Quetta: Brahui Language Board, University of Balochistan, April 2009, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07, สืบค้นเมื่อ 2010-06-29

ข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้